จากกรณีมีการโพสต์เรื่องราวของผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่ไม่พอใจต่อข้อความในใบรับรองแพทย์ ซึ่งระบุว่า

ลูกจ้าง - นายจ้างรู้ไว้ !! ป่วยไม่เกิน 3 วัน ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ นายจ้างไม่มีสิทธิ์ขอ (รายละเอียด)

จากกรณีมีการโพสต์เรื่องราวของผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่ไม่พอใจต่อข้อความในใบรับรองแพทย์ ซึ่งระบุว่า ผู้ป่วยเป็นบุคคลวัย 27 ปีใช้ประกันสุขภาพด้วยเรื่องไข้สูงกลางคืน สมควรให้พักผ่อน 1 วัน แต่ในบันทึกความคิดเห็นของแพทย์กลับมีข้อความว่า "การกรรโชกใบรับรองแพทย์กรณีหยุดงานไม่เกิน 3 วันผิดกฎหมายแรงงาน เลว และเห็นแก่ตัว ทำให้เกิดปัญหาคนไข้ล้นโรงพยาบาลลิดรอนสิทธิคนไข้ คนไข้มีสิทธิหยุด 3 วันโดยไม่มีใบรับรองแพทย์" ทำให้เรื่องดังกล่าวกลายเป็นประเด็นสังคมในโลกออนไลน์ขึ้นมาทันที ซึ่งเรื่องดังกล่าว




ลูกจ้าง - นายจ้างรู้ไว้ !! ป่วยไม่เกิน 3 วัน ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ นายจ้างไม่มีสิทธิ์ขอ (รายละเอียด)

ลูกจ้าง - นายจ้างรู้ไว้ !! ป่วยไม่เกิน 3 วัน ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ นายจ้างไม่มีสิทธิ์ขอ (รายละเอียด)



โดยเรื่องดังกล่าวทางด้าน เคยมีสำนักงานกฎหมายทนายประชาธรรม ได้อธิบายไว้ดังนี้

กฎหมายแรงงาน "การลาป่วย กับใบรับรองแพทย์"

คำถามยอดฮิตสำหรับนายจ้างและลูกจ้าง (ปัญหาโลกแตก)

การลาป่วยต้องมีใบรับรองแพทย์ หรือไม่ ?

การลาป่วยกี่วัน ถึงจะต้องเอาใบรับรองแพทย์มาแสดง ?

ลูกจ้างลาป่วยแล้วไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงนายจ้างมีสิทธิหักค่าจ้าง หรือไม่ ?

นายจ้างต่างชาติต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานไทย หรือไม่ ?

ลูกจ้างปลอมแปลงใบรับรองแพทย์ มีความผิดหรือไม่ เลิกจ้างได้หรือไม่ ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ?

ลูกจ้างลาป่วยต้องแจ้งทันทีในวันที่หยุดงาน หรือไม่ ?

กฎหมายบอกว่า...

ก่อนอื่นสิ่งที่ต้องย้อนกลับไปพิจารณาดู คือ สภาพการจ้าง ระเบียบข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง ในเรื่องการลาป่วยว่ากำหนดไว้อย่างไร ? ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?

ข้อบังคับในการทำงานเป็นสภาพการจ้าง อย่างหนึ่ง การจะเปลี่ยนสภาพการจ้างที่ลดประโยชน์แก่ลูกจ้างควรต้องหารือร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และมีหลักฐาน แจ้งไปยังสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน

ระเบียบข้อบังคับการทำงานถือเป็นสภาพการจ้างที่ลูกจ้างต้องปฏิบัติ แต่ระเบียบข้อบังคับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายลูกจ้างก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ระบุไว้ว่า

“การลาป่วย ตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ

ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างลาป่วย แต่ปีหนึ่งไม่จำต้องเกิน ๓๐ วัน"

กฎหมายมิได้บังคับให้การลาป่วยต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดง แม้แต่การลาป่วยตั้งแต่ ๓ วันทำงานขึ้นไป

กฎหมายให้สิทธินายจ้างที่จะเรียกให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ได้ แต่ก็มิได้บังคับว่าลูกจ้างต้องนำใบรับรองแพทย์มาแสดงเสมอไป กรณีลูกจ้างไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดง กฎหมายยังให้โอกาสลูกจ้างแก้ตัวได้ โดยชี้แจงให้นายจ้างทราบเท่านั้น

การที่นายจ้างนำเรื่องใบรับรองแพทย์มาเป็นเงื่อนไขการไม่จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยให้ลูกจ้าง จึงขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ระเบียบของนายจ้างในส่วนนี้จึงเป็นโมฆะไม่อาจบังคับใช้ได้

แม้ลูกจ้างลาป่วยโดยไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดง นายจ้างก็ไม่มีสิทธิหักค่าจ้างไม่ว่าจะเป็นกี่แรงก็ตาม นอกจากไม่มีสิทธิหักค่าจ้างแล้ว นายจ้างยังมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยให้ลูกจ้างอีกต่างหาก

ทั้งนี้หากลูกจ้างลาป่วยอันเกิดจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน นายจ้างจะเอาไปนับรวมกับวันลาป่วยตามมาตรา ๓๒ ไม่ได้

ในส่วนขององค์กรต่างชาติไม่ว่าชาติใดก็ตามที่เข้ามาตั้งสถานประกอบการในประเทศไทย ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานของประเทศไทย องค์กรต่างชาติใดฝ่าฝืนก็เป็นการฝ่าฝืนหรือขัดกับกฎหมายแรงงานของประเทศไทย

การปลอมแปลงใบรับรองแพทย์ของลูกจ้าง เช่น

ลูกจ้างป่วย แพทย์ตรวจแล้วออกใบรับรองเห็นควรให้หยุดงาน ๑ วัน ลูกจ้าง เห็นว่าน้อยไปเลยแก้ให้หยุดงานเพิ่มเป็น ๒ วัน แล้วนำไปยื่นกับฝ่ายบุคคลประกอบการลาป่วย

การแก้ไขใบรับรองแพทย์แล้วนำมายื่นเช่นนี้อาจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย กรณีเช่นนี้

"ถือเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง ฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม มีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือ ปรับไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ"

#นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ส่วนเรื่องการแจ้งการลาป่วยของลูกจ้าง นั้น นายจ้างส่วนใหญ่มักกำหนดระเบียบการทำงานให้ลูกจ้างที่ป่วยไม่สามารถไปทำงานได้และประสงค์จะหยุดงานต้องแจ้งเหตุป่วยต่อผู้บังคับบัญชาหรือฝ่ายบุคคลในวันหยุดงาน โดยแจ้งทางโทรศัพท์หรือทางอื่นใดก็ได้
เมื่อหายป่วย และกลับเข้าทำงานแล้ว ต้องยื่นใบลาป่วย โดยอาจต้องยื่นใบรับรองแพทย์ประกอบด้วย

ระเบียบลักษณะนี้มีวัตถุประสงค์การใช้ในกรณีลูกจ้างป่วยขณะอยู่ที่พักไม่อาจลาป่วยล่วงหน้าได้ จึงได้กำหนดให้ลูกจ้างหยุดงานได้ทันที ขอเพียงแต่แจ้งให้นายจ้างทราบเพื่อจัดหาคนทำงานแทนเท่านั้น ส่วนการยื่นใบลาป่วยค่อยยื่นเมื่อกลับเข้าทำงานก็ได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง

อาการป่วยนั้น บางครั้งอาจรู้ตัวล่วงหน้า เช่น การไปรักษาตัวตามแพทย์นัด กรณีอย่างนี้ลูกจ้างต้องยื่นใบลาป่วยก่อนที่จะหยุดงาน หากฝ่าฝืนอาจเป็นความผิดทางวินัย
ในทางปฏิบัติ แม้ลูกจ้างจะมิได้ยื่นใบลาป่วยล่วงหน้า ขอเพียงแจ้งลาป่วยให้ทราบในวันที่ไม่มาทำงานก็แล้วกัน กลับมาทำงานเมื่อใดค่อยยื่นใบลาป่วย

ส่วนตัวก็พอเข้าใจว่า การที่นายจ้างกำหนดระเบียบให้การลาป่วยต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดงนั้น ก็เพื่อป้องกันลูกจ้างป่วยการเมือง แต่การกำหนดเช่นว่านั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้
สิ่งที่นายจ้างจะทำเพื่อป้องกันปัญหาการลาป่วยการเมืองได้ ก็คือ หากลูกจ้างลาป่วยบ่อย ๆ ก็จะให้มีผลต่อโบนัสประจำปี และการปรับขึ้นเงินเดือน ตอนประเมินผลงานประจำปีนั่นเอง

ในความเป็นจริงแล้ว ลูกจ้างบางคนป่วยแค่ ๑ - ๒ วัน หายาทานเองก็หายป่วยได้ ไม่อยากหาเรื่องเสียเงินไปหาหมอแพง ๆ จะไปหาด้วยสิทธิประกันสังคมบางทีก็ไม่ได้ยาดีเท่าที่ควร บริษัทก็คงจะบังคับไม่ได้

ขอแนะนำเพิ่มเติมว่า การลาที่ดีควรมีการสื่อสารที่ทันกาลและปฏิบัติตามข้อบังคับในการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กร

นายจ้างที่ดีก็ควร ปฏิบัติตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ฯ ปกครอง กำกับดูแลกิจการด้วยความสุจริต ยุติธรรม มีคุณธรรม

ฝ่ายบุคคล หัวหน้างาน ก็ควรดูแลพนักงาน ไม่ให้พนักงานอึดอัด พนักงานเองถ้ามีอะไรอึดอัด ก็ควรหารือ หัวหน้างาน/ HR เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันด้วยความสมานฉันท์

การทำงานเดี๋ยวนี้ ต้องพึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อให้องค์กรอยู่รอด และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ ครับ

#ข้อกฎหมาย

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

มาตรา ๓๒

ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ

ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ
ในกรณีที่นายจ้างจัดแพทย์ไว้ ให้แพทย์นั้นเป็นผู้ออกใบรับรอง เว้นแต่ลูกจ้างไม่สามารถให้แพทย์นั้นตรวจได้

วันที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน และวันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรา ๔๑ มิให้ถือเป็นวันลาป่วยตามมาตรานี้

มาตรา ๕๗

ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยตามมาตรา ๓๒ เท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันทำงาน

มาตรา ๗๖

ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ
(๑) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
(๒) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน
(๓) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง
(๔) เป็นเงินประกันตามมาตรา ๑๐ หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
(๕) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม

การหักตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบ และจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา ๗๐ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

มาตรา ๑๑๙

นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(๑) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(๒) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(๓) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(๔) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(๕) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(๖) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ในกรณี (๖) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้