เปิดใจ “ชัชชาติ” ปฏิเสธ ไม่รับตำแหน่ง “กรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ” ด้วยเหตุผลที่ว่า “สิ่งที่เรารู้ว่าจะทำได้ไม่ดี ก็ควรเลือกที่จะไม่ทำ"

เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านต่างๆ โดยมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านต่างๆ รวม 6 คณะ ดังนี้

เปิดใจ “ชัชชาติ” ปฏิเสธ ไม่รับตำแหน่ง “กรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ” ด้วยเหตุผลที่ว่า “สิ่งที่เรารู้ว่าจะทำได้ไม่ดี ก็ควรเลือกที่จะไม่ทำ"

เมื่อวันที่ 28 กันยายน มีประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านต่างๆ โดยมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านต่างๆ รวม 6 คณะ ดังนี้

1. คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ขอบเขต สถาบันพระมหากษัตริย์ การทหาร อธิปไตย การต่างประเทศ ภัยพิบัติ อาชญากรรม การเข้าเมืองผิดกฎหมาย การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด การค้ามนุษย์และภัยอื่นๆ ที่คุกคามความมั่นคงแห่งชาติ

2. ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ขอบเขต การค้า การลงทุน การผลิต การบริการ ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาพื้นที่พิเศษ โครงสร้างพื้นฐาน ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ การอํานวยความสะดวกในทางธุรกิจ

3. ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ขอบเขต คุณธรรม จริยธรรม การศึกษา สุขภาวะ การพัฒนาสถาบันครอบครัว คุณภาพชีวิต การกีฬา นันทนาการ

4. ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ขอบเขต ผู้สูงวัย ความยากจน คนด้อยโอกาส บริการสาธารณสุข ประชารัฐ ตลาดชาวบ้าน เศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจพอเพียง ความเข้มแข็งของชุมชน

5. ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขอบเขต ทรัพยากรน้ำ พลังงาน โลกร้อน การปลูกป่า ขยะมูลฝอย การกัดเซาะชายฝั่ง ทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหามลภาวะ ระบบนิเวศ ผัง

6. ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ขอบเขต โครงสร้างหน่วยงานภาครัฐ การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ การปฏิรูปกฎหมาย ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ การพัฒนากระบวนการยุติธรรม (ตํารวจอัยการ ศาล ทนายความ ราชทัณฑ์) การอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน

สำหรับคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ มีวาระการดํารงตําแหน่ง 5 ปี โดยให้ได้รับ ค่าตอบแทนค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด



แต่ที่เป็นที่ฮือฮาที่สุดก็คงเป็นการที่มีชื่อของ รศ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม ยุคสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ทำงานติดตามนายทักษิณ ชินวัตร มาตลอด ติดโผคณะกรรมการด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ขอบเขต การค้า การลงทุน การผลิต การบริการ ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาพื้นที่พิเศษ โครงสร้างพื้นฐาน ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ การอํานวยความสะดวกในทางธุรกิจ ทั้งนี้รศ. ชัชชาติยังเคยอยู่ในห้องประชุมกองทัพบกในวันที่วันพล.อ.ประยุทธ์ทำรัฐประหารเมื่อ 22 พ.ค.57 ซึ่งได้รับฉายาว่า เป็นรัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี


  • สิทธิพันธุ์ เป็นบุตรของพลตำรวจเอกเสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กับจิตต์จรุง (สกุลเดิม: กุลละวณิชย์) มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา สองคนคือ
    1. ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ - อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    2. รศ. นายแพทย์ ฉันชาย สิทธิพันธุ์ - รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ทัวร์-พี่ฝาแฝด)
    สำเร็จการศึกษาระดับมัธยม จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2530
    เคยทำงานเป็นวิศวกรโครงสร้างในบริษัทเอกชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายจัดการทรัพย์สิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 นอกจากนั้นยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจหลายแหล่ง อาทิ บริษัทขนส่ง จำกัด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

    ในฐานะนักวิชาการ ได้มีโอกาสเข้ามาช่วยงานและให้คำปรึกษาแก่กระทรวงคมนาคมในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 และรัฐบาลสมัคร โดยที่ไม่ได้มีตำแหน่งใด ๆ จนกระทั่ง พ.ศ. 2555 เขาได้รับการทาบทามทางโทรศัพท์ จากอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แม้ทางมารดาจะไม่เห็นด้วย แต่เขาก็ตกลงเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 จากการที่เขาเข้ามารับงานทางการเมืองเป็นครั้งแรก ทำให้ในช่วงแรกในตำแหน่งรัฐมนตรี เขากลายเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จักมากที่สุด และจากการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งต่อมา เขาก็ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555

    ในฐานะรัฐมนตรีคมนาคม(ขณะนั้น)ถือเป็นบุคคลระดับหัวกะทิของรัฐบาลในด้านการวางยุทธศาสตร์ของประเทศ เขาได้รับการกล่าวถึงในฐานะรัฐมนตรี "ดูโอเศรษฐกิจ" ของรัฐบาลคู่กับกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และ "ดูโอระบบราง" คู่กับประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟฯ (ขณะนั้น) ที่นโยบายของ รศ.ชัชชาติ ให้ความสำคัญกับการขนส่งระบบรางเป็นพิเศษ ซึ่งโครงการในระบบรางสำคัญที่เดินหน้าอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาการเป็นรัฐมนตรีของเขา อาทิ รถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)
    วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ 2557 เป็นหนึ่งในตัวแทนฝ่ายรัฐบาลที่เข้าร่วมประชุมกับบรรดาแกนนำและตัวแทนฝ่ายต่าง ๆ เพื่อหาทางออกประเทศ ที่จัดขึ้นโดยกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.)

ด้านความนิยม
รศ.ชัชชาติ ทำตัวเป็นรัฐมนตรีติดดิน อาทิ ซ้อนจักรยานยนต์รับจ้างโหนรถเมล์ นั่งรถสองแถว โดยสารรถไฟ ออกตรวจตราราชการในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงการลงพื้นที่เพื่อตรวจปัญหาด้วยตนเอง หลายครั้งที่เขาไปตรวจงานตามองค์กรของรัฐโดยที่ไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
สำหรับในโลกออนไลน์ ความนิยมได้เริ่มขึ้นมาจากรูปภาพหนึ่งที่ รศ.ชัชชาติ เข้าไปทำบุญใส่บาตรภายในวัดแห่งหนึ่งที่จังหวัดสุรินทร์ โดยมีลักษณะสวมเสื้อแขนกุด หิ้วถุงอาหาร และเดินด้วยเท้าเปล่า หลังจากภาพนี้ เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต มีผู้คนตัดต่อภาพล้อเลียน รวมถึงเลียนแบบท่าทางในรูปดังกล่าวเป็นจำนวนมาก และได้รับการกล่าวขนานนามว่าเป็น"รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี" จนกระทั่งมีแอปพลิเคชันในโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับ รศ.ชัชชาติ โดยเฉพาะ

เปิดใจ “ชัชชาติ” ปฏิเสธ ไม่รับตำแหน่ง “กรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ” ด้วยเหตุผลที่ว่า “สิ่งที่เรารู้ว่าจะทำได้ไม่ดี ก็ควรเลือกที่จะไม่ทำ"

ล่าสุดรศ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม ยุคสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ส่วนตัวชื่อ "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ดังนี้...

ตามที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ผมเป็นกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันเมื่อวันที่ 28 กันยายนนั้น ไม่ได้มีการพูดคุยกันมาก่อนครับ ผมทราบเรื่องเมื่อตอนบ่ายวันที่ 27 แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ขอเวลาดูรายละเอียดก่อน ช่วงกลางคืนก็มีรายชื่อในสื่อแล้ว แต่ผมเชื่อว่าทุกท่านมีเจตนาดี คงเป็นเรื่องเวลาที่กระชั้น และเท่าที่ทราบ กรรมการบางท่านก็เป็นแบบนี้

การจัดทำยุทธศาสตร์ชาตินั้น เป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากมีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน มีระยะเวลายาวไม่น้อยกว่า 20 ปี และ หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยมีหน้าที่ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ นอกจากนี้ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติยังมีหน้าที่ตามมาตรา 10 ในการจัดทำแผนแม่บทให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด และ มาตรา 26 ในการพิจารณาว่าการดำเนินการของหน่วยงานใดไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งมีหน้าที่ในการติดตามแก้ไขปรับปรุงด้วย ซึ่งเป็นภาระงานสำคัญที่ต้องใช้เวลาและความทุ่มเทอย่างมาก

ตัวผมเอง ไม่ได้มีความเข้าใจในแนวคิดและหลักการของยุทธศาสตร์ชาติอย่างถ่องแท้ นอกจากนี้ยังติดภาระงานประจำที่เป็นพนักงานเต็มเวลาของบริษัทมหาชนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาระด้านครอบครัว จึงไม่สามารถที่จะทำหน้าที่กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างเต็มกำลัง ผมจึงขอไม่รับตำแหน่งกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ โดยจะไปยื่นหนังสือในวันจันทร์ ตอนแรกจะไปตั้งแต่วันศุกร์แต่ทำเอกสารไม่ทันครับ

Michael Porter กูรูด้านกลยุทธ์พูดไว้ว่า "The essence of strategy is choosing what not to do." "แก่นแท้ของกลยุทธ์ คือ การเลือกว่าอะไรไม่ควรทำ"

สิ่งที่เรารู้ว่าจะทำได้ไม่ดี ก็ควรเลือกที่จะไม่ทำเพื่อไม่ให้เสียเวลาทั้งของคนอื่นและตัวเราครับ

เครดิตภาพ: http://www.azquotes.com/quote/234635