พลาดสองครั้งติด “เนติบริกร” เสียที “ชัชชาติ – พงศ์พร” เข้าสำนวน “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง”

พลาดสองครั้งติด “เนติบริกร” เสียที “ชัชชาติ – พงศ์พร” เข้าสำนวน “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง”

มือกฎหมายระดับปรมาจารย์ ฉายาเนติบริกร ที่ “ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และคนในรัฐบาล คสช. ให้ความไว้วางใจที่สุดคือ ศ.เกียรติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เพราะนอกจากจะมีความรู้ ความสามารถในการเนรมิตกฎหมายได้ดั่งใจสั่งแล้ว  ดร.วิษณุ ยังคลุกคลีกับผู้คนมากมายหลายวงการ ชนิดที่ว่าสายสัมพันธ์แน่นปึก

ที่ผ่านมา ดร.วิษณุ ทำหน้าที่ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง สมฉายา “เนติบริกร” สมกับที่ “บิ๊กตู่” ทาบทามด้วยตัวเองเมื่อครั้งที่มีการรัฐประหารเมื่อ 3 ปีที่แล้ว หน้าที่ของเขาคือการเขียนกฎหมายตามใบสั่ง ไม่ว่าจะเป็นการร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่างประกาศคำสั่งหัวหน้า คสช. รวมถึงการกลั่นกรองการใช้อำนาจพิเศษอย่างมาตรา 44 ฯลฯ

 

 

ด้วยความที่ทำงานได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องเช่นนี้ คนในรัฐบาลจึงให้ความเคารพ ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.ประยุทธ์ รวมถึง “พี่ใหญ่ คสช.” อย่าง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต่างให้เคารพปรมาจารย์นักกฎหมายผู้นี้ 

อย่างไรก็ตาม แม้จะเก่งกาจเพียงใด ก็คงหนีสำนวนไทย “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” ไม่ได้ เพราะจะเห็นว่า ในช่วงหลังๆมานี้ ดร.วิษณุ พลาดบ่อยขึ้น อย่างล่าสุดนี้ที่ออกมาคอนเฟิร์ม พร้อมบรรจุชื่อนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการรกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าเป็นหนึ่งในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ แต่ยังไม่ทันข้ามคืนเจ้าตัวก็ออกมาปฏิเสธ

การไม่รับตำแหน่งของนายชัชชาติ จะหนีความรับผิดชอบของ ดร.วิษณุ ไม่ได้ เพราะแน่นอนว่าเขาจะต้องมีส่วนสำคัญในการคัดกรองรายชื่อก่อนเสนอนายกรัฐมนตรีเซ็นแต่งตั้ง แต่เมื่อนายชัชชาติ ออกตัวปฏิเสธ จึงทำให้รัฐบาลต้องเสียหน้าไม่มากก็น้อย

เช่นเดียวกับนายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ออกมาปฏิเสธตั้งแต่เริ่มต้นว่าไม่รับ จนสุดท้ายต้องถอดชื่อออกไป

ทั้งนี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาตินั้น มีความสำคัญในการกำหนดอนาคตของประเทศชาติต่อไปอีก 20 ปี คำถามคือ การสรรหาบุคลากรเข้ามาทำงานด้านนี้ ไม่มีการเจรจาหารือกันก่อนหรืออย่างไร ปัญหาที่ปรากฏทำให้ดูเสมือนว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้เท่าที่ควร  เพราะล่าสุด ดร.วิษณุ ก็เปิดเผยว่า นอกจากนี้ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศที่แต่งตั้งไปแล้วก่อนหน้านี้ ได้มีการลาออกไปแล้วบ้างส่วน 

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ไม่นาน จะพบว่า ดร.วิษณุ เคยพลาดครั้งใหญ่มาแล้ว คือการเสนอโยกย้าย พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือ พศ. ที่กำลังตรวจสอบอย่างเข้มงวดต่อกรณีโกงงบประมาณในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม โดยย้ายเข้ากรุ ให้นั่งในตำแหน่งผู้ตรวจราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง 

 

พลาดสองครั้งติด “เนติบริกร” เสียที “ชัชชาติ – พงศ์พร” เข้าสำนวน “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง”

พลาดสองครั้งติด “เนติบริกร” เสียที “ชัชชาติ – พงศ์พร” เข้าสำนวน “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง”

พลาดสองครั้งติด “เนติบริกร” เสียที “ชัชชาติ – พงศ์พร” เข้าสำนวน “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง”

 

แต่ไม่ถึงเดือนต่อมา ปรากฏว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน เห็นชอบให้ยกเลิกมติ ครม.ดังกล่าว โดยให้ พ.ต.ท.พงศ์พร กลับไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักพุทธฯเช่นเดิม แล้วเปลี่ยนตัวผู้กำกับดูแลจาก ดร.วิษณุ และนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้อยู่ในการกำกับดูแลของ “บิ๊กเจี๊ยบ” พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี 

รวมข้อผิดพลาดสองครั้งเข้าด้วยกัน จะเห็นว่า ดร.วิษณุ เสียทีทั้ง “นายชัชชาติ” และ “พ.ต.ท.พงศ์พร” เพราะสำนวนโบราณที่ว่า "สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง" หมายถึง แม้จะปราดเปรื่อง เก่งกาจ มีความสามารถเพียงใด ก็ใช่ว่าจะไม่ผิดพลาดเลย สุภาษิตนี้ เอาไว้เตือนสติคนที่มีความทะเยอทะยาน มั่นใจในตัวเองสูง