สนช.ตัวแปรสำคัญของการเลือกตั้ง

สนช.ตัวแปรสำคัญของการเลือกตั้ง

ตามโรดแมป การกำหนดวันเลือกตั้ง อยู่ภายในกรอบ 150 วันนับจากวันที่ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งจำนวน 4 ฉบับ มีผลบังคับใช้


ซึ่งขณะนี้ ร่างกฎหมาย กกต.และพรรคการเมือง ประกาศใช้เรียบร้อยไปแล้ว เหลืออยู่เพียง 2 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส.และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว.
 

 

 

เพื่อป้องกันข้อครหา ว่า “ยื้อ” ทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)ได้วางกรอบเวลา ไว้ว่าในวันที่ 21 พ.ย.จะส่งร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว.ไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้ สนช.ประชุมนัดแรกเพื่อรับหลักการในวาระที่ 1 วันที่ 23 พ.ย. ส่วนร่าง.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว.จะถึง สนช.วันที่ 28 พ.ย. และ สนช.จะนัดประชุมรับหลักการในวาระที่ 1 วันที่ 30 พ.ย.ก่อนที่การทำหน้าที่ของ กรธ.ในการเขียนร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญของ กรธ.จะครบกำหนด240 วัน ในวันที่ 1 ธ.ค.
 

เมื่อมีความชัดเจน เช่นนี้ เผือกร้อนทั้ง จึงตกอยู่ในมือของ สนช. ทันที เพราะรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กำหนดให้ สนช.มีเวลาพิจารณาร่างกฎหมายลูกที่รับมาจาก กรธ.ให้เสร็จภายใน 60 วัน จากนั้นต้องส่งให้องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องและและ กรธ.เพื่อให้ทำความคิดเห็นมาว่าร่างกฎหมายที่ สนช.แก้ไขนั้นสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่

สนช.ตัวแปรสำคัญของการเลือกตั้ง

 

สนช.ตัวแปรสำคัญของการเลือกตั้ง

 

ในขั้นตอนนี้หากทุกองค์กรเห็นว่าไม่มีปัญหา สนช.ก็สามารถส่งร่างกฎหมายไปให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย ต่อไป แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น จำเป็นต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อดูบทบัญญัติบางมาตราที่เป็นปัญหาและส่งมาให้ สนช.ลงมติอีกครั้ง

สนช.จึงกลายเป็นตัวแปรที่สำคัญ เกี่ยวกับการเลือกตั้งไปโดยปริยาย