ดูเป็นบุญตา!!!กล้องตัวแรกในหลวงร.9ตั้งแต่พระชนมายุ 8 พรรษา และจุดเริ่มต้นการถ่ายภาพ จนทรงพระปรีชาสามารถ

ดูเป็นบุญตา!!!กล้องตัวแรกในหลวงร.9ตั้งแต่พระชนมายุ 8 พรรษา และจุดเริ่มต้นการถ่ายภาพ จนทรงพระปรีชาสามารถ

ในเพจเฟสบุค  เรารักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช-ในหลวงร.9 โพสต์เรื่องราวของกล้องคู่พระหัตถ์ตัวแรกเมื่อพระชนมายุ 8 พระชันษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ

ทรงถ่ายภาพทั้งในยามเสด็จพระราชดำเนินไปในที่ต่างๆในการประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อนำมาศึกษาในการช่วยเหลือราษฎร เมื่อยามว่างก็ทรงถ่ายภาพเพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่างๆอีกทั้งยังศึกษาวิธีการล้าง อัด ด้วยพระองค์เองได้อย่างดีเยี่ยม

 

ทรงใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และทรงศึกษาจนชำนาญ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯมีพระปรีชาสามารถในศิลปะแขนงต่างๆเป็นอย่างยิ่ง  ทั้งศิลปะด้านมัณฑนศิลป์  จิตรกรรม  ประติมากรรม  สถาปัตยกรรม  วรรณศิลป์  การดนตรีฯลฯ  แต่งานที่ทรงเชี่ยวชาญและพอพระราชหฤทัยเป็นพิเศษคือ  ศิลปะด้านการถ่ายภาพ  โดยมีพระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะกรรมการบริหารสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย  ว่า
 
"การถ่ายภาพเป็นงานศิลปะ เป็นของดีมีประโยชน์ขออย่าได้ถ่ายภาพกันเพื่อความสนุกสนาน  หรือความสวยงามเท่านั้น  จงใช้ภาพให้เกิดคุณค่าแก่สังคม ให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม  งานศิลปะจะได้ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อีกแรงหนึ่ง"

 

 

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯทรงสนพระราชหฤทัยในการถ่ายภาพมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ดังที่ประชาชนมักจะได้เห็นภาพพระองค์ ทรงคล้องกล้องไว้ที่พระศออยู่เสมอ พระองค์ทรงมีกล้องถ่ายภาพเล็กส่วนพระองค์ตัวแรกคู่พระหัตถ์
ตั้งแต่พระชนมมายุเพียง8พระชันษา(ราวปี พ.ศ 2479) ซึ่งนับตั้งแต่ครั้งทรงเยาว์พระชันษา  จนกระทั่งตราบทุกวันนี้ ได้ทรงใช้งานอดิเรกด้านนี้ในพระราชกรณียกิจต่างๆเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาตินานัปการ  สำหรับกล้องตัวแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯคือ Coronet Midget

 

โดยสมเด็จพระบรมราชชนนี ได้พระราชทานซื้อให้แก่พระองค์  ซึ่ง โคโรเน็ต มิดเจ็ต เป็นกล้องถ่ายรูปสีเขียวปะดำ ผลิตขึ้นที่เมือง เบอร์มิงแฮม ประเทศ อังกฤษ ซึ่งกล้องตัวนี้มีขนาดเล็กมาก มีคำโฆษณาว่าเล็กที่สุดในโลก ราคาเพียง2ฟรังค์สวิส  และใช้ฟิล์มราคา25เซนต์ เป็นฟิล์มขนาด 16mm.ถ่ายได้6ภาพต่อ1ม้วน

โดยมีความเร็วชัตเตอร์ความเร็วเดียวที่1/30 และค่ารูรับแสงที่f/10 ส่วนการปรับความชัดของภาพนั้น ใช้การเคลื่อนกล้องเข้า-ออกจากวัตถุ  โดยระยะที่สามารถถ่ายได้คือ5ฟุตถึงระยะอนันต์ ซึ่งปัจจุบันกล้องรุ่นนี้เป็นกล้องหายาก และเป็นกล้องสะสมในหมู่นักสะสมกล้องโบราณ  กล้องตัวนี้เป็นกล้องที่ต้องวัดแสงและจัดองค์ประกอบต่างๆด้วยพระองค์เอง  โดยมีบันทึกคำบอกเล่าของสมเด็จพระบรมราชชนนี  ที่ชวนให้ขบขันไว้ว่า

ในครั้งแรกที่ถ่ายภาพ ฟิล์มหนึ่งม้วนสามารถถ่ายได้ 6ภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ถ่ายเสียไป5 ภาพ และดี1 ภาพ ซึ่งภาพที่ดีนั้นคนอื่นเป็นผู้ถ่าย ในระยะเเรกแม้จะทรงไม่ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพมากนัก  แต่ก็ทรงมุ่งมั่นและไม่ทรงย่อท้อในการฝึกฝน

จนพระองค์มีความเชี่ยวชาญและกลายเป็นนักถ่ายภาพที่มีพระปรีชาสามารถยิ่งในเวลาต่อมา  ด้วยในสมัยก่อนเป็นที่ทราบกันดีว่า  อุปกรณ์การถ่ายภาพต่างๆยังไม่มีความทันสมัยอย่างในปัจจุบันนี้  ไม่มีกล้องอัตโนมัติ เวลาจะถ่ายภาพแต่ละครั้ง ต้องทำการปรับหน้ากล้องตั้งความเร็วของชัตเตอร์ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก

แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ก็ทรงศึกษาและฝึกฝนด้วยตัวพระองค์เอง เริ่มทรงกล้องถ่ายภาพคู่พระหัตถ์ และทรงใช้ฟิล์มขนาดต่างๆกล้องที่ทรงใช้ในระยะแรกเป็นกล้องที่ไม่มีเครื่องวัดแสงภายในตัว  จึงต้องทรงใช้พระราชวิจารณญาณอย่างรอบคอบละเอียดถี่ถ้วนแม้ในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพ   จะมีการพัฒนาอุปกรณ์มีการวิวัฒนาการทำให้การถ่ายรูปง่าย และสะดวกมากขึ้นกว่าสมัยก่อน  แต่พระองค์ก็มิทรงใช้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ยังทรงใช้กล้องคู่พระหัตถ์แบบมาตราฐาน  อย่างที่นักเล่นกล้องมืออาชีพทั้งหลายใช้กัน ซึ่งภาพที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ

 

ทรงถ่ายไว้นั้น  นับว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศและพสกนิกรไทยเป็นอย่างยิ่งดังเช่นทุกครั้งที่พระองค์เสด็จฯไปในสถานที่ต่างๆทั่วทุกแห่งในประเทศเพื่อลงพื้นที่ในพระราชกรณียกิจพระองค์เสด็จฯไปในสถานที่ต่างๆทั่วทุกแห่งในประเทศเพื่อลงพื้นที่ในพระราชกรณียกิจพระองค์จะทรงนำภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ มาใช้ประกอบการทำงานของพระองค์อยู่เสมอ  ตามที่พวกเราชาวไทยทราบกันดี  ซึ่งนอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้ว  เรื่องราวต่างๆผ่านเลนส์ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ยังเป็นบันทึกที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และความงดงามของภาพทุกภาพ ยังทรงคุณค่าทางศิลปะเป็นอย่างยิ่ง

 

ดูเป็นบุญตา!!!กล้องตัวแรกในหลวงร.9ตั้งแต่พระชนมายุ 8 พรรษา และจุดเริ่มต้นการถ่ายภาพ จนทรงพระปรีชาสามารถ

 

 

ขอบคุณ:ภาพ และ ข้อมูล จากเพจเฟสบุค    เรารักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช-ในหลวงร.9. และ หนังสือราชันย์ผู้สร้างสรรค์ ดนตรี กีฬา ศิลปะ ของพระเจ้าแผ่นดิน