อธิบดีกรมชลประทานยืนยัน สถานการณ์น้ำในภาพรวม ยังสามารถรับมือได้

     จากสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่จ.กำแพงเพชร ทำให้มีปริมาณน้ำท่าไหลหลากลงสู่แม่น้ำปิง ก่อนจะไหลลงไปสมทบแม่น้ำเจ้าพระยาที่จ.นครสวรรค์ ส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาตอนบนเพิ่มสูงขึ้น

 

ยังไหว??!! "กรมชลฯ" ยันรับมือสถานการณ์น้ำท่วมได้ ...."4เขื่อนหลัก"ลุ่มเจ้าพระยา รับน้ำได้อีกกว่า5,159ล้านลบ.ม. !!(รายละเอียด)

ยังไหว??!! "กรมชลฯ" ยันรับมือสถานการณ์น้ำท่วมได้ ...."4เขื่อนหลัก"ลุ่มเจ้าพระยา รับน้ำได้อีกกว่า5,159ล้านลบ.ม. !!(รายละเอียด)

ยังไหว??!! "กรมชลฯ" ยันรับมือสถานการณ์น้ำท่วมได้ ...."4เขื่อนหลัก"ลุ่มเจ้าพระยา รับน้ำได้อีกกว่า5,159ล้านลบ.ม. !!(รายละเอียด)

.

 

 

 

 

 

    นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในภาพรวมขณะนี้ ว่า พื้นที่ที่มีฝนตกหนักมาก ได้แก่ บริเวณฝั่งตะวันตกของภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดตาก สุโขทัย กำแพงเพชร ซึ่งน้ำจะไหลลงสู่ลุ่มแม่น้ำปิง ส่วนแม่น้ำน่านกับแม่น้ำยม ระดับน้ำยังทรงตัว โดยมีจุดเฝ้าระวังมากสุด ที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีแนวโน้มน้ำจะสูงขึ้นกว่าเดิมจากน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง ซึ่งกรมชลประทาน ได้เข้าไปบริหารจัดการ โดยใช้เขื่อนเจ้าพระยาทดน้ำสูงมากขึ้นจากเดิม ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมือง จะออกหนังสือแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อแจ้งให้ประชาชนให้ทราบ อาจจะมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น 10-20 ซม. ภายใน 1-2 วัน จากน้ำเหนือที่ไหลลงมา ขณะเดียวกัน พื้นที่ตอนล่างจังหวัดสุพรรณบุรี มีฝนตกน้อยลง จะส่งน้ำไปในระบบมากขึ้นเพื่อจะรับน้ำเหนือที่เข้ามา นอกจากนี้ทางกรมโยธายังเสริมคันกั้นน้ำในจุดที่มีความเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ

 

ยังไหว??!! "กรมชลฯ" ยันรับมือสถานการณ์น้ำท่วมได้ ...."4เขื่อนหลัก"ลุ่มเจ้าพระยา รับน้ำได้อีกกว่า5,159ล้านลบ.ม. !!(รายละเอียด)

 


   อธิบดีกรมชลประทาน ยังกล่าวเพิ่มเติม ถึงพี่น้องประชาชน จังหวัดนครสวรรค์ว่า มวลน้ำจะไม่ได้เข้าตัวเมือง จุดที่ได้รับผลกระทบ เหนือเขื่อนเจ้าพระยาลงไป พื้นที่ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำ อาจจะได้รับผลกระทบของน้ำท่วม ถ้าไม่มีฝนตกเพิ่มเติม น้ำจะระบายลดลงภายใน 1 สัปดาห์

 

ยังไหว??!! "กรมชลฯ" ยันรับมือสถานการณ์น้ำท่วมได้ ...."4เขื่อนหลัก"ลุ่มเจ้าพระยา รับน้ำได้อีกกว่า5,159ล้านลบ.ม. !!(รายละเอียด)


 

       อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวต่อไปว่า ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ(SWOC) กรมชลประทาน ได้ติดตามสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา พบว่าที่สถานี C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,854 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 1.38 เมตร ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่จ.กำแพงเพชร ทำให้แม่น้ำปิงมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่จ.นครสวรรค์ ส่งผลให้ปริมาณน้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งปริมาณน้ำจะไหลไปรวมกับแม่น้ำสะแกกรังและไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยาตามลำดับ ในขณะที่การระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยายังควบคุมการระบายอยู่ที่ไม่เกิน 2,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดว่าจะทำให้ระดับน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 20 เซนติเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาในเขตอ.เมือง อ.วัดสิงห์ และอ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท รวมไปถึงพื้นที่ในเขตอ.เมือง จ.อุทัยธานี และอ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ กรมชลประทาน ได้ส่งหนังสือแจ้งจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งฝ่ายปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ดังกล่าว ให้แจ้งเตือนประชาชนให้เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำเอ่อล้นตลิ่งต่อไปแล้ว

ยังไหว??!! "กรมชลฯ" ยันรับมือสถานการณ์น้ำท่วมได้ ...."4เขื่อนหลัก"ลุ่มเจ้าพระยา รับน้ำได้อีกกว่า5,159ล้านลบ.ม. !!(รายละเอียด)


    ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำเขื่อนเจ้าพระยาในระยะนี้ ด้วยการควบคุมการระบายท้ายเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในอัตราไม่เกิน 2,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(วันนี้ระบาย 2,598 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) พร้อมกับเพิ่มการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ให้สูงสุดตามศักยภาพที่รับได้ เพื่อช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่พื้นที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา และจนถึงขณะนี้เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ยังคงปิดการระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเก็บกักน้ำในช่วงปลายฤดูฝนให้ได้มากที่สุด สำหรับสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งหน้าที่กำลังจะมาถึง


   สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ปัจจุบัน(19 ต.ค. 60)มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 58,038 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 82 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด เป็นน้ำใช้การได้ 34,512 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 73 สามารถรองรับน้ำได้อีก 13,285 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลักมีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 19,728 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 79 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำใช้การได้ 13,032 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 72 สามารถรองรับปริมาณน้ำได้รวมกันอีกกว่า 5,159 ล้าน ลบ.ม.

ยังไหว??!! "กรมชลฯ" ยันรับมือสถานการณ์น้ำท่วมได้ ...."4เขื่อนหลัก"ลุ่มเจ้าพระยา รับน้ำได้อีกกว่า5,159ล้านลบ.ม. !!(รายละเอียด)

 

    ทั้งนี้  กรมชลประทาน ได้กำชับให้โครงการชลประทานทุกโครงการในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ นำถุงยังชีพและน้ำดื่ม เข้าไปช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยอย่างต่อเนื่องแล้ว

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณ

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7

เรารักชลประทาน

 

 

 

.