ประกาศเตือน!!! ใครพบ "หนอน" ลักษณะนี้ต้องระวัง ติดอันดับ 1 ใน 100 สัตว์รุกรานที่น่ากลัวของโลก มีพาหะสามารถแพร่เชื้อสู่คนได้

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้มีการเผยแพร่รายงานการพบ "หนอนตัวแบนนิวกินี" ซึ่งเป็น 1 ใน 100 สัตว์รุกรานต่างถิ่นที่น่ากลัวที่สุดของโลก ในประเทศไทย โดยรายงานนี้ ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม (siamensis.org) และผู้เชื่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำ ได้ระบุว่า หนอนตัวแบนนิวกินี เป็นหนอนที่มีถิ่นกำเนิดในนิวกินี เมื่อโตเต็มที่แล้วมีลำตัวยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ปลายแหลมทั้งสองด้านแต่ด้านที่เป็นหัวจะแหลมเล็กกว่า สีด้านหลังเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายสีน้ำตาลอ่อนพาดกลางลำตัวตามแนวยาว ด้านท้องสีขาวและมีจุดสีขาวเล็กๆค่อนไปทางด้านหางซึ่งเป็นส่วนปาก หนอนชนิดนี้กินหอยทากเป็นอาหารหลักและถ้าไม่สามารถหาหอยทากกินได้ ยังมีรายงานกินทากเปลือยและไส้เดือนด้วย ในการล่านั้นหนอนตัวแบนจะเลื้อยออกหากินในเวลากลางคืนและตามล่าหอยทากด้วยการตามกลิ่นเมือกไป โดยการกินหอยทากนั้นหนอนจะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยเนื้อหอยทากก่อนที่จะดูดกินเข้าไป

 

ประกาศเตือน!!! ใครพบ "หนอน" ลักษณะนี้ต้องระวัง ติดอันดับ 1 ใน 100 สัตว์รุกรานที่น่ากลัวของโลก มีพาหะสามารถแพร่เชื้อสู่คนได้

 

หนอนตัวแบนชนิดนี้มีรายงานถูกปล่อยและหลุดออกสู่ธรรมชาตินอกถิ่นอาศัยตามธรรมชาติหลายแห่งและมีรายงานรุกรานกินหอยทากท้องถิ่นจนสูญพันธุ์ ทำให้สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) จัดให้หนอนตัวแบนนิวกินีเป็น หนึ่งในร้อยสัตว์รุกรานต่างถิ่นที่น่ากลัวที่สุดของโลก (100 of the World's Worst Invasive Alien Species) ทั้งนี้นอกจากประเทศในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิคแล้วหนอนตัวแบนนิวกินียังมีรายงานรุกรานในประเทศฝรั่งเศส รัฐฟลอริด้าของประเทศสหรัฐอเมริกา และที่ใกล้ประเทศไทยที่สุดคือประเทศสิงคโปร์ 

โดยรายงานในประเทศไทยนั้นถือเป็นรายงานแรกในผืนทวีปหลักของเอเชีย (Mainland Asia) โดยปัญหาที่เอเลี่ยนชนิดนี้ก่อขึ้นในประเทศแถบหมู่เกาะแปซิฟิคที่ตั้งใจปล่อยเพื่อไปกำจัดหอยทากยักษ์แอฟริกา(สัตว์ต่างถิ่น)ที่เป็นศัตรูพืช พบว่าหนอนตัวแบนนิวกินีไม่ได้ล่าแต่หอยทากยักษ์แต่กลับไล่ล่าหอยทากเฉพาะถิ่นจนสูญพันธุ์ไปเป็นจำนวนมากโดย หนอนตัวแบนนิวกินีนั้นเมื่ออยู่นอกถิ่นอาศัยก็ขาดการควบคุมจำนวนประชากรเนื่องจากไม่มีผู้ล่าตามธรรมชาติจนเพิ่มจำนวนขึ้นมากมาย ทั้งนี้หนอนชนิดนี้มีสองเพศในตัวเดียว แต่การสืบพันธุ์ต้องมีหนอนสองตัวจึงจะวางไข่ได้ นอกจากนั้นถ้าหนอนตัวขาดก็จะสามารถเติบโตแยกร่างได้

 

ประกาศเตือน!!! ใครพบ "หนอน" ลักษณะนี้ต้องระวัง ติดอันดับ 1 ใน 100 สัตว์รุกรานที่น่ากลัวของโลก มีพาหะสามารถแพร่เชื้อสู่คนได้

 

สำหรับรายงานการพบในประเทศไทยนั้น เริ่มจากคุณมงคล อันทะชัย ได้แปะภาพหนอนตัวแบนนิวกินีกำลังกินหอยทากในบริเวณบ้านแถบอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2560 ในกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (siamensis.org) เพื่อสอบถามว่าเป็นสัตว์ชนิดใด ซึ่งอาจารย์ยิ่งยศ ลาภวงศ์ ได้ระบุชนิดว่าเป็นหนอนตัวแบนนิวกินี ต่อมาทางกลุ่มสยามเอ็นสิส โดยดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์และนายจิรวัฒน์ ผลเพิ่มพูล ได้ตามไปเก็บตัวอย่างที่บ้านคุณมงคลเพื่อยืนยัน จนมั่นใจว่าเป็นชนิดดังกล่าวจริงๆ

หนอนตัวแบนนิวกินีนี้นอกจากจะเป็นภัยต่อหอยทากท้องถิ่นของประเทศไทย ยังเป็นพาหะแพร่เชื้อ Angiostrongylus cantonensis หรือพญาธิปอดหนู/พญาธิหอยโข่ง ซึ่งติดต่อสู่คนได้ โดยพยาธิดังกล่าวนี้มีหนูเป็นพาหะหลักจึงไม่สามารถเจริญเติบโตจนครบวงจรในร่างกายมนุษย์ได้ แต่ตัวอ่อนจะไปอาศัยอยู่ในระบบประสาทส่วนกลางของผู้ติดเชื้อและตายลง ทำให้เกิดการอักเสบในเยื่อหุ้มสมอง โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อพยาธิจะมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง เป็นไข้ อาเจียนพุ่ง คอแข็ง ตาพร่ามัว ท้องเสีย และปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น แต่ถ้ามีการติดเชื้ออย่างรุนแรงสามารถนำไปสู่อาการเรื้อรังของโรคจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับการกำจัดหนอนตัวแบนนิวกินีนั้นสามารถทำได้สองวิธีคือใช้น้ำร้อนลวกหรือหยอดด้วยเกลือป่น ห้ามใช้การสับหรือหั่นเพราะแต่ละชิ้นจะเติบโตเป็นตัวใหม่ได้และจะกลายเป็นยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นไปอีก 

 

ประกาศเตือน!!! ใครพบ "หนอน" ลักษณะนี้ต้องระวัง ติดอันดับ 1 ใน 100 สัตว์รุกรานที่น่ากลัวของโลก มีพาหะสามารถแพร่เชื้อสู่คนได้

 

ประกาศเตือน!!! ใครพบ "หนอน" ลักษณะนี้ต้องระวัง ติดอันดับ 1 ใน 100 สัตว์รุกรานที่น่ากลัวของโลก มีพาหะสามารถแพร่เชื้อสู่คนได้

 

ประกาศเตือน!!! ใครพบ "หนอน" ลักษณะนี้ต้องระวัง ติดอันดับ 1 ใน 100 สัตว์รุกรานที่น่ากลัวของโลก มีพาหะสามารถแพร่เชื้อสู่คนได้

 

ขอบคุณข้อมูล FB : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร , siamensis.org