วิธีกำจัดง่ายสุดๆ !!  หากเราเจอ "หนอนตัวเเบนนิวกินี" ที่กำลังระบาดในไทย..จะต้องรับมืออย่างไร?? เรามีความรู้ดีๆมาบอก??!! (รายละเอียด)

กำลังเป็นที่ฮือฮาในประเทศไทย กับการพบเจอ หนอนตัวเเบนนิวกินี

    กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยประเทศไทยยังไม่มีรายงานว่าพบผู้ป่วยติดโรคพยาธิมาจากหนอนตัวแบนนิวกินี  แม้จะมีรายงานพบพยาธิที่สามารถก่อโรคในคนได้  ซึ่งที่มีรายงานคือติดจากการกินหอยสุกๆ ดิบๆ และไม่มีการติดต่อจากคนสู่คน  ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก แต่ให้ระมัดระวังในเรื่องการรับประทานอาหาร ขอให้ถูกสุขอนามัยโดยเน้น “สุก ร้อน สะอาด”

 

วิธีกำจัดง่ายสุดๆ !!  หากเราเจอ "หนอนตัวเเบนนิวกินี" ที่กำลังระบาดในไทย..จะต้องรับมืออย่างไร?? เรามีความรู้ดีๆมาบอก??!! (รายละเอียด)


Pedigree Adult Liver and Vegetable คลิ๊ก
SAKURA Extra Gold คลิ๊ก

สำหรับทางเพจ...ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว.... ได้เผยความรู้ เเละคลายข้อสงสัยต่างๆเกี่บวกับ หนอนตัวแบนนิวกีนี  รวมไปถึงวิธีกำจัด ไว้อย่างน่าสนใจ ดังต่อไปนี้ ...


หนอนตัวแบนนิวกีนี

เนื่องจากมีคนสงสัยกันพอสมควร ว่าเอาไงกับมันดี ต้องฆ่าทำลายทิ้งหรืออันตรายมากไหม เลยสรุปสั้นๆ

1. หนอนตัวแบนนิวกีนี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Platydemus manokwari กินหอย หอยทาก ไส้เดือน ตัวกะปิ

2. เดิมทีอยู่ที่นิวกีนีที่เดียว จากนั้นพอมีหอยทากยักษ์แอฟริกันระบาด ก็มีความพยายามเอาไปควบคุมหอย ซึ่งปรากฎว่ามันฆ่าหอยพื้นเมืองอื่นๆตายเรียบ

3. คนก็เลยกลัวและเริ่มทยอยสั่งห้ามและเฝ้าระวัง แม้แต่ในไทยที่ลองค้นดู ก็ไม่เคยปรากฎว่ามีใครอุตริแนะนำให้ใช้เจ้าตัวนี้

4. แต่ปรากฎว่า มันน่าจะติดไปกับดินที่ใส่ต้นไม้ คือพวกนี้มันมีความสามารถวางไข่ได้ (ไม่เชิงไข่ แต่เป็นการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศ)

5. มีรายงานว่าไปหลายที่ทั่วโลกแล้ว เพียงแต่ถ้าไม่สังเกตคงไม่ค่อยเห็น

6. พิษ : ไม่มีพิษ จะมีบางเว็บโดยเฉพาะพวกClick Bait พยายามเขียนว่าโดนผิวหนังแล้วจะเกิดอาการไหม้ ซึ่งไม่เป็นความจริง

7. การนำโรค : ในทางทฤษฎี นำโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิแองจิโอสตรองจิลัส แคนตัสเนนซิส ได้ แต่ไม่เคยมีรายงานว่ามีคนป่วยจริง (ใครเจอบอกด้วย)
การจะนำโรคได้ หนอนนี่ต้องไปกินหอยที่มีพยาธิในตัวแล้วคนต้องไปกินหนอนตัวแบนนี่อีกที

8. ในไทย โรคนี้มีชื่อท้องถิ่นว่าโรค ปวดหัวหอย
เพราะในไทยพบโรคนี้จากการกินหอยน้ำจืดแบบไม่สุก สมัยก่อนพบจากหอยโข่ง ในปัจจุบันพบจากการกินหอบเชอรี่ดิบ
ดังนั้นถ้าจะกลัว กลัวหอยดีกว่า

9. มีคนทดลองกินหนอนตัวแบนนิวกีนีแล้ว พบว่าไม่อร่อย รสชาติเหี้ยมเกรียมมาก

10. มีคนทดลองปล่อยหนอนแล้วปล่อยไก่แจ้ออกไปกิน ปรากฎว่าไก่แจ้วิ่งไปจิก จากนั้นคายทิ้งอย่างทรมาน ... สรุป รสชาติแย่แบบไก่ยังไม่กิน

11. ศัตรูตามธรรมชาติ ไม่มีแบบชัดๆ เพราะว่ารสชาติแย่ เลยมีคนทดลองเอา พลานาเรียบก หรือหนอนตัวแบนบกชนิดอื่นๆมา ก็พบว่ากินกันเองได้
นอกจากนี้ มีหอยทากบกบางชนิด ที่กินหนอนตัวแบนนิวกีนีได้เหมือนกัน
ส่วนมด ไม่เห็นรายงาน หาไม่เจอ

12. วิธีกำจัด

1. ความเย็น พบว่าถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศา จะทำให้พวกมันตายไปได้บางส่วน ซึ่งในเมืองไทยคงได้แต่ฝัน ... ผ่าน
2. ความร้อน พบว่าถ้าแช่ในน้ำร้อน 50องศา นาน 5 นาที มันจะตาย เป็นวิธีที่ใช้ในวงการต้นไม้
3. ความแห้ง ถ้ามันไปอยู่บนที่แห้งๆ มันจะตาย (ดังนั้นกระทืบทิ้งบนพื้นคอนกรีตตากแดดก็ตายนะ)
4. เกลือ เปิดกาชาปอง แล้วเอาเกลือโรย ก็ตาย

13. ดูดีๆก่อนกำจัด
เพราะเมืองไทยมีหนอนตัวแบนที่รูปร่างใกล้ๆกับมันชนิดนึง(หนอนหัวขวาน) / มีnemateraที่รูปร่างเหมือนๆกันอีกชนิดนึง

ดูดีๆก่อนว่าไม่ใช่หนอนหัวขวาน งูดิน ปลิง แม่เพรียง หนอน ไส้เดือน หนอนริบบ้อน ไม่ใช่เอะอะราดน้ำร้อนโรยกาชากันหมด

 

   สำหรับพาหะแพร่เชื้อโรคไข้ปวดหัวหอยหรือพยาธิปอดหนูหรือพยาธิหอยโข่งในธรรมชาติ ได้แก่ หอยต่างๆ เช่น หอยบก หอยน้ำจืด (หอยโข่ง หอยเชอรี่ หอยขม) และทาก เป็นต้น  เมื่อคนกินหอยดิบ ก็สามารถมีตัวอ่อนระยะติดต่อได้ รวมถึงในผักและพืชผักต่างๆ ที่หอยทากคลานผ่านก็มีโอกาสปนเปื้อนตัวอ่อนและเป็นแหล่งแพร่โรคได้เช่นกัน  ทั้งนี้ โรคไข้ปวดหัวหอยหรือพยาธิปอดหนูหรือพยาธิหอยโข่ง ไม่มีการติดต่อจากคนสู่คน คนติดโรคพยาธินี้ได้โดยรับตัวอ่อนระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะติดต่อ จากการกินหอยดิบ  ในประเทศไทยส่วนมากเกิดจากการกินหอยโข่งดิบ หอยเชอรี่ดิบ และหอยทาก โดยนำเนื้อหอยเหล่านี้ไปปรุงเป็นลาบดิบ หรือปนเปื้อนในดินติดไปกับผัก เช่น ผักกาดสด คนกินกับอาหารประเภทยำ ลาบ เป็นต้น  เนื่องจากพยาธิปอดหนู เป็นพยาธิของหนู คนติดโรคโดยบังเอิญ จากการกินตัวอ่อนพยาธิชนิดนี้เข้าไป และไม่สามารถเจริญเติบโตจนครบวงจรเป็นตัวเต็มวัยในร่างกายมนุษย์ได้ แต่ตัวอ่อนพยาธิจะไปอาศัยอยู่ในระบบประสาทส่วนกลางของผู้ติดโรค ทำให้เกิดการอักเสบในเยื่อหุ้มสมอง  ซึ่งผู้ป่วยที่ติดโรคจะปวดหัวอย่างรุนแรง เป็นไข้  อาเจียน คอแข็ง ตาพร่ามัว ท้องเสีย และปวดกล้ามเนื้อ  แต่ถ้ามีการติดโรคอย่างรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้  หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณ

ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว

js100

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.