ปัญหาราคายาง !! เรื่องที่เหนื่อย..อีกนานของรัฐบาลและเกษตรกรไทย

ปัญหาราคายาง !! เรื่องที่เหนื่อย..อีกนานของรัฐบาลและเกษตรกรไทย

หลังจากข้อการเรียกร้องให้รัฐบาลปัญหายางพาราราคาตกต่ำ ในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่มีความคืบหน้าและยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน

สุดท้าย แกนนำและเครือข่ายสวนยาง9 องค์กรทั่วประเทศ ประกาศบุกเข้ากรุงเทพฯ เพื่อกดดันรัฐบาลและยื่นข้อเรียกร้องต่อ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ที่กระทรวงเกษตรฯ เพื่อให้แก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำจันทร์ที่ 13 พย. 

โดยเห็นว่าการจัดระบบซื้อ-ขายยาง, การบริหารการตลาด และการชี้นำราคายางเป็นเรื่องที่ต้องแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ซึ่งขณะนี้ชาวสวนยางกว่า 1.6 ล้านครัวเรือน กำลังได้รับผลกระทบปัญหาราคาตกต่ำเหลือเพียงกิโลกรัมละ 40-43 บาท จากราคาต้นทุนกิโลกรัมละ 63-65 บาท ซึ่งราคาที่พอรับได้ อยู่ในช่วงราคากิโลกรัมละ 60 บาท
 

 

 

และเมื่อเห็นว่า ปัญหาดังกล่าว กำลังจะบานปลาย ทางรัฐบาลและคสช."ดักทาง"ใช้มาตรการสกัดม๊อบ ให้ทหารคุมตัวแกนนำชาวสวนยาง จ.พัทลุง-ตรัง เข้าค่ายทหารปรับทัศนคติกลางดึกเมื่อกลางดึกวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา พร้อมขอร้องไม่ให้มาชุมนุมที่กรุงเทพ  ก่อนจะยอมปล่อยตัวแกนนำ

แต่ก็ไม่สำเร็จ ..เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนยืนยันที่จะชุมนุมตามกำหนดการเดิม เพราะได้เดินทางมารอที่กรุงเทพฯแล้ว โดยมีกลุ่มทางภาคเหนืออิสาน มาร่วมสมทบ

ขณะที่พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ผู้เป็นอยู่ในข่ายการปรับครม.ครั้งนี้ บอกว่า เป็นหน้าที่ของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดยรมว.เกษตรฯตาม พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย มีหน้าที่เพียงกำกับนโยบายเท่านั้น

ซึ่ง ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)" ธีธัช สุขสะอาด" ชี้แจงสถานการณ์ยางพาราขณะนี้ ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคมของทุกปี เป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ทั้งตลาดในประเทศไทย และตลาดต่างประเทศ โดยกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางรายใหม่ เช่น กัมพูชาผลผลิตเพิ่มขึ้น 33.1%, อินเดีย เพิ่ม 21.0% และเวียดนามเพิ่มขึ้น 11.3% ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงมาจากปริมาณผลผลิตและความต้องการใช้ยางไม่สมดุลกัน จึงทำให้ราคาขายในกลุ่มประเทศผู้ผลิตหลักทั้งไทย, อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ราคาลดลง

โดยยืนยันว่าราคายางในประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับสูงกว่าประเทศอื่น ๆ และเกิดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ราคายางในตลาดล่วงหน้ามีความผันผวนอย่างรุนแรง 

..ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมา ยางพารา ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทยมหาศาล  จนทำให้เกษตรกรหันมาปลูกยางพารา และขยายการปลูกยางทั่วประเทศ มากถึง 55.1 ล้านไร่

นั่นจึงที่มาสถานการณ์ยางล้นตลาด ที่มีปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ โดยหลายประเทศหันมาผลิตเอง ทำให้อยู่ในภาวะราคายางพาราตกลงไปเรื่อยๆ 

ขณะที่มาเลเซีย จากเดิมที่ติดอันดับต้นๆของประเทศปลูกยาง ปัจจุบันได้เลิกปลูกยางมา 20 ปี แล้วหันนำเข้าจากไทยและไปปลูกปาล์มแทน

 

 

สิ่งที่รัฐบาลทำได้ขณะนี้ มีลดนโยบายการส่งออก และส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศ เป้าหมาย 30 เปอร์เซ็นต์ และในระยะยาว จะทำอย่างไรให้พื้นที่ปลูกยางพาราลดลง พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้ชาวสวนยาง ในการเปลี่ยนวิธีคิดและทำการเกษตรด้านอื่นแทน


ไม่เช่นนั้น ..เหนือยใจแทนทั้งรัฐบาลและคนปลูกยางเพราะแนวโน้มราคาตกต่ำแบบนี้ไปอีกนาน