“ฟ้าหญิง”ตรัสยังอยากทำงานให้พอ.สว.นานๆขอทุกคนช่วยสวดมนตร์ให้หายดีทำความรู้จัก“หมอกระเป๋าเขียว”แพทย์อาสาจากกระแสรับสั่ง“สมเด็จย่า”

วานนี้ข่าวในพระราชสำนักได้เผยแพร่พระราชดำรัสสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี  ณ โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร ต.ลำภู อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู  ในระหว่างทรงเยี่ยมการปฏิบัติงานของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี (พอ.สว.)  วันที่ 11 พฤศจิกายน 2560  ใจความสำคัญ ทรงระบุอยากทำงานให้กับพอ.สว. นานๆ  เพราะที่ผ่านมารู้สึกว่ายังทำงานให้พอ.สว.น้อยเกินไป  โดยระบุว่า  

 

“เป็นห่วง คิดถึงชาวพอ.สว.มาก ยังไม่อยากทิ้งไป ข้าพเจ้า ถ้าข้าพเจ้าทำได้ ถ้ามันอยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ไม่อยากจากพวกท่านไป ข้าพเจ้ามาทำงาน พอ.สว. นี่ก็ 8 ปีแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็ยังรู้สึกว่ามันยังน้อยไป น้อยไป ข้าพเจ้าก็ทราบว่า พี่น้องชาว พอ.สว. ทุกคนก็เมตตาต่อพี่มาก พี่น้อง พอ.สว.ช่วยกันสวดมนต์ให้ข้าพเจ้าหายดี ข้าพเจ้าคงจะดีขึ้น ก็ขอความกรุณาว่า ช่วยกันสวดมนต์ให้ข้าพเจ้าด้วย เพราะว่ายังไงๆ ข้าพเจ้าก็ยังอยากทำงานกับ พอ.สว. อยากอยู่กับมูลนิธิ พอ.สว. อีกต่อให้นานนาน” 
 

 

 

ทั้งนี้หลายคนอาจได้ยินชื่อพอ.สว.  แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าพอ.สว. คือหน่วยงานใด และใครเป็นคนดำริริ่เริ่มในการตั้งพอ.สว.ขึ้นมาในการช่วยเหลือประชาชน    สำหรับที่มาของพอ.สว.นั้นเว็บไซด์มูลนิธิพอ.สว.ให้ข้อมูลว่า   เมื่อครั้งที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ “สมเด็จย่า”ของพสกนิกรชาวไทย  ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมตำรวจตระเวณชายแดนตามจังหวัดชายแดนต่างๆ ในปี พ.ศ. 2507 พระองค์ได้ทรงพบเห็นความยากลำบากของราษฎร ในการเดินทางมารักษายังโรงพยาบาลจังหวัดเวลา ที่เจ็บป่วย อาการก็หนักเกินกว่าจะรักษา หรือโรคที่ไม่ได้รุนแรง แต่กลับเรื้อรังจนต้องพิการทุพพลภาพ จนเกิดพระราชกระแสรับสั่งของสมเด็จย่าฯ

เมื่อคืนวันที่ 22 ก.พ. 2512 ขณะทรงประทับอยู่ที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จ.ใหม่ ว่า  “ฉันได้ไปเยี่ยมตำรวจตระเวนชายแดนที่ปฏิบัติงานในป่าเขา เพื่อปกป้องและรักษาแผ่นดินเราเขาเสี่ยงอันตรายหลายอย่าง รวมทั้งโรคภัยไข้ เจ็บด้วย ชาวบ้านและชาวเขาที่อยู่ตามป่าดงเหล่านั้น ก็มีปัญหาเรื่องป่วยไข้ เช่นเดียวกัน เพราะอยู่ห่างไกล การคมนาคมไม่สะดวก หากพวกเราจะไปดูและรักษา เขาบ้าง จะเป็นเดือนละครั้ง สองเดือนครั้ง หรือแม้แต่สามเดือนครั้งก็ได้ จะ ได้ช่วยเหลือเขา เป็นประโยชน์มาก” กระแสรับสั่งดังกล่าวจึงถือเป็นจุดกำเนิดของกิจการแพทย์อาสา 

โดยเบื้องต้นแพทย์อาสาประกอบด้วย แพทย์และพยาบาล อาสา สมัครจากโรงพยาบาลแมคคอร์มิคและโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ออกปฏิบัติงานครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มี.ค. พ.ศ.2512 ที่บ้านดอยสามหมื่นกิ่ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศในปัจจุบัน โดยเชิญชวนคนในพื้นที่ให้มาเป็นอาสาสมัครของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในพระองค์ ซึ่งอาสาสมัครจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือ อาสาสมัครสายแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งประกอบ  ด้วยแพทย์ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ทันตนามัย เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เป็นต้น อีกประเภท อาสาสมัครสายสนับสนุน ซึ่งมีทั้งข้าราชการและบุคลากรในภาคเอกชนหน่วยแพทย์อาสาจะออกปฏิบัติการเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ และไปเช้าเย็นกลับในวันเดียวกัน โดยจะเคลื่อนที่เข้าไปให้การรักษาราษฎรตามท้องถิ่นต่างๆ และใช้เฮลิคอปเตอร์เป็นยานพาหนะที่

 

หลักการออกปฎิบัติงานนั้น ในแต่ละหน่วยจะประกอบด้วย แพทย์ 2 คน ทันตแพทย์ 1 คน เภสัชกรหรือพยาบาลมีความรู้เรื่องยา 1 คน พยาบาล 3 คน และอาสาสมัครสมทบ 1 คน ซึ่งอาสาสมัคร พอ.สว.ทุกคน จะสวมเสื้อสีเทา กระเป๋าเสื้อสีเขียว มีเครื่องหมายของหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จย่าฯ  ประชาชนจะเรียกขานอาสาสมัครเหล่านี้ว่า “หมอกระเป๋าเขียว” แม้แต่ผู้ที่มีอุดมการณ์ต่างกันในบางพื้นที่ ยังยกเวันการทำร้าย  “หมอกระเป๋าเขียว”  ทั้งนี้อาสาสมัครจะทำงานโดยไม่มีรายได้ตอบแทน และจะมีภูมิลำเนาหรือรับราชการอยู่ในจังหวัดนั้นๆ 

 

ในปี 2516 สมเด็จฯย่า ได้ทรงเริ่มนำระบบสื่อสารทางวิทยุรับ-ส่งมาใช้เพื่อให้คำปรึกษาโรคกับ ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล เรียกว่า “แพทย์ทางอากาศ” หรือต่อมาเรียก แพทย์ทางวิทยุ ซึ่งดำเนินการตามแนวปฏิบัติของ The Royal Flying of Doctor Service of Australia ของออสเตรเลีย ทำให้หน่วยแพทย์อาสา พอ.สว. ถูกแบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ 1. หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ทำหน้าที่ดูแลรักษาประชาชนที่ด้อยโอกาสในท้องถิ่นทุรกันดาร โดยได้รับการสนับสนุนด้านพาหนะจากกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ หรือกรมตำรวจ ในพื้นที่นั้น  2. หน่วยแพทย์ทางวิทยุ พอ.สว.มีทั้งสิ้นใน 24 จังหวัดทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สำนักงานกลางวังสระปทุม

 

ในการดำเนินงานแพทย์อาสานั้น สมเด็จย่าทรงเป็นห่วงเรื่องงบประมาณเป็นอย่างยิ่ง เพราะงานแพทย์อาสานั้นต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการวางรากฐานให้การดำเนินงานของ พอ.สว.มีรากฐานที่มั่นคง สมเด็จย่าจึงโปรดเกล้าฯพระราชทานทุนทรัพย์เริ่มแรก 1 ล้านบาท ในการจดทะเบียนหน่วยแพทย์อาสา เป็น “ มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนคริน ทราบรมราชชนนี”  มีชื่อภาษาอังกฤษว่า  “The Princess  Mother’s  Medical  Volunteer Foundation”  เลขทะเบียนลำดับที่ 802 ในปี 2517 โดยพระองค์ทรงเป็นนายิกากิตติมศักดิ์ มีรัฐมนตรีว่าการ  กระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้นเป็นประธานกรรมการบริหาร โดยมี ศ.นพ.อุดม โปษกฤษณะ เป็นเลขาธิการมูลนิธิ

 

“ฟ้าหญิง”ตรัสยังอยากทำงานให้พอ.สว.นานๆขอทุกคนช่วยสวดมนตร์ให้หายดีทำความรู้จัก“หมอกระเป๋าเขียว”แพทย์อาสาจากกระแสรับสั่ง“สมเด็จย่า”

 

“ฟ้าหญิง”ตรัสยังอยากทำงานให้พอ.สว.นานๆขอทุกคนช่วยสวดมนตร์ให้หายดีทำความรู้จัก“หมอกระเป๋าเขียว”แพทย์อาสาจากกระแสรับสั่ง“สมเด็จย่า”

“ฟ้าหญิง”ตรัสยังอยากทำงานให้พอ.สว.นานๆขอทุกคนช่วยสวดมนตร์ให้หายดีทำความรู้จัก“หมอกระเป๋าเขียว”แพทย์อาสาจากกระแสรับสั่ง“สมเด็จย่า”

 

“ฟ้าหญิง”ตรัสยังอยากทำงานให้พอ.สว.นานๆขอทุกคนช่วยสวดมนตร์ให้หายดีทำความรู้จัก“หมอกระเป๋าเขียว”แพทย์อาสาจากกระแสรับสั่ง“สมเด็จย่า”

ปัจจุบันมีจังหวัดแพทย์อาสาทั้งสิ้น 55 จังหวัด และอาสาสมัคร พอ.สว.ประมาณห้าหมื่นกว่าคน ต่อมา เมื่อสมเด็จย่า เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 18 กรกฏาคม 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์สืบต่อมา ทั้งได้มีการปรับปรุงการบริหารภายในมูลนิธิ โดยมี นายแพทย์ประมุท จันทวิมล เป็นเลขาธิการมูลนิธิ พลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช เป็นประธานมูลนิธิรวมทั้งของบประมาณในการสนับสนุนจากรัฐบาล และได้มีการจัดสรรงบประมาณโดยกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสนับสนุนทุกปี  

 

ในปัจจุบัน หลังจากพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงสิ้น พระชนม์ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว( ร.9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระ เจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่งเป็นประธานกิตติมศักดิ์ มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จฯย่า  และพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  ในการบำบัดทุกบำรุงสุขแก่ราษฎรด้านการแพทย์และสาธารณสุขสืบต่อไป