เรียกมาเองก็ต้องทน!! "กบ ไมโคร" โพสต์แนะ เมื่อนกหวีดชนเริ่มยี้รัฐบาล ก็ต้องจำเป็นบทเรียน วันหน้าอย่ากวักมือเรียกรัฐประหาร!!?? (รายละเอียด)

เรียกมาเองก็ต้องทน!! "กบ ไมโคร" โพสต์แนะ เมื่อนกหวีดชนเริ่มยี้รัฐบาล ก็ต้องจำเป็นบทเรียน วันหน้าอย่ากวักมือเรียกรัฐประหาร!!?? (รายละเอียด)

ถือได้ว่าในช่วงเวลานี้ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ถูกโจมตีอย่างหนักและถือเป็นช่วงขาลงอย่างถึงที่สุด ไม่ว่าจะเเสียงโจมตีจากฝั่งต่างๆ หรือแม้จะเป็นฝ่ายที่สนับสนุนก็ออกมาโจมตีเช่นกัน จากเหตุดังกล่าวนั้น ร็อคเกอร์ในตำนานอย่าง "กบ ไมโคร" ก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวโดยระบุว่า 

ผมเคยคัดค้านการกวักมือเรียกรัฐประหารที่จะนำมาซึ่งรัฐบาลทหารในที่สุด ตอนนั้นมีคนมากมายบอก(และด่าด้วย)ว่าผมสมงสมองไปหมดละ 
ไอ้กบ
เฮ่ย.....
ผมแก่แล้ว ชีวิตนี้ผ่านช่วงเวลารัฐบาลนอกสารบบมาหลายครั้ง ถ้าไม่ไร้เดียงสาทางการเมืองย่อมรู้ได้ว่า "กำจัดนายกพรรคการเมืองง่ายกว่าไล่นายกนายพล"
แต่เมื่อมาถึงวันนี้ที่ชาวนกหวีดชนเริ่มยี้นายกรปห. 
เชื่อมั๊ยว่าผมงี้ลีดส์เลย 
เรียกมากันเองก็ทนกันต่อไปนะครับ ผมไม่เกี่ยว
และถ้าคราวนี้ขืนไปไล่รับรองว่าแรงกว่าทุกครั้ง!!!
ไอ้ผมนะทนพูดให้โดนด่ามาเยอะแล้ว คราวนี้เจอกับตัวเองแล้วจำเอาไว้ให้มั่น วันไหนผ่านจุดนี้ไปได้ก็อย่าพาสังคมไทยวนกลับมาอีก
เราไม่ใช่ปลาทองความจำสั้น ที่ว่ายวนในอ่างเดิมแล้วทำหน้าอินโนเซนส์ตลอดว่าที่นี่ที่ไหน
ดีดกีตาร์ร้องเพลงต่อดีกว่า อ๊บๆๆ...อึ๊บๆๆ
ทนกันต่อปายยยย
พี่ตูนสู้ๆ

โดยหากเราย้อนไปเมื่อครั้ง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16:30 น. โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ โค่นรัฐบาลรักษาการนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล นับเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย รัฐประหารดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม 2556 เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ และอิทธิพลของดร.ทักษิณ ชินวัตร ในการเมืองไทย

ก่อนหน้านั้นสองวัน คือ วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่เวลา 3.00 น. กองทัพบกตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) และให้ยกเลิกศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ตั้งขึ้น กอ.รส. ใช้วิธีการปิดควบคุมสื่อ ตรวจพิจารณาเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต และจัดประชุมเพื่อหาทางออกวิกฤตการณ์การเมืองของประเทศ แต่การประชุมไม่เป็นผล จึงเป็นข้ออ้างรัฐประหารครั้งนี้

หลังรัฐประหาร มีประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลงยกเว้นหมวด 2 คณะรัฐมนตรีรักษาการหมดอำนาจ ตลอดจนให้ยุบวุฒิสภา จนเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภาฯ มีมติเลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี

หลายประเทศประณามรัฐประหารครั้งนี้ รวมทั้งมีการกดดันต่าง ๆ เช่น ลดกิจกรรมทางทหารและลดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บางประเทศวางตัวเป็นกลาง แต่คนไทยจำนวนหนึ่งแสดงความยินดี โดยมองว่าเป็นทางออกของวิกฤตการณ์การเมือง แต่ก็มีคนไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่เป็นไปตามวิถีประชาธิปไตย

 

ต่อมาเมื่อ วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เวลา 03:30 น. กำลังทหารพร้อมอาวุธ เข้าควบคุมสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ทั้งภาคพื้นดินและผ่านดาวเทียมหลายช่อง ตามคำสั่งประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ขอให้เชื่อมสัญญาณออกอากาศจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ต่อมา เวลา 06:30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ออกประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ กอ.รส. และออกคำสั่ง 12 ฉบับ (ยกเลิก 1 ฉบับ) 

โดย พันเอก วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะ โฆษก กอ.รส. ชี้แจงขั้นตอนการประกาศกฎอัยการศึกว่าเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

วันที่ 21 พฤษภาคม 2557 กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งสองยังชุมนุมต่อไป กอ.รส. ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายงานต่อ กอ.รส. เพื่อควบคุมเนื้อหาออนไลน์[21] ในช่วงบ่ายวันนั้น มีประกาศ กอ.รส. ฉบับที่ 6/2557 เพื่อเรียกตัวแทนจาก 7 ฝ่ายเข้าร่วมประชุมที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต

โดยการประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียดตั้งแต่เวลา 13.30 น. จน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจให้มาประชุมกันใหม่ในวันรุ่งขึ้น (22 พฤษภาคม 2557) เวลา 14.00 น. เพื่อหาทางออกของประเทศร่วมกัน ภายหลังรัฐมนตรีรักษาการได้ออกมาเผยว่าท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ในที่ประชุมดูแปลกไป แต่ตนเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธคงไม่คิดรัฐประหารแน่นอน

ในเวลาต่อมาเมื่อ วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ในประชุมร่วม 7 ฝ่าย เพื่อหาทางออกของประเทศครั้งที่ 2 ตามประกาศกอ.รส. ฉบับที่ 8/2557 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในที่ประชุม ระหว่างการประชุม พลเอก ประยุทธ์ เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้เสนอแนวทางที่เห็นว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของประเทศ หลังจากเวลาผ่านไปสองชั่วโมงก็ไม่มีข้อยุติ ต่อมา สุเทพ เทือกสุบรรณ กับ จตุพร พรหมพันธุ์ แยกไปหารือเป็นการส่วนตัว ขณะเดียวกัน พลเอก ประยุทธ์ก็ได้หารือกับผู้บัญชาการเหล่าทัพไปพร้อม ๆ กัน เมื่อกลับมาหารือกันต่อ ประยุทธ์ได้สอบถาม ชัยเกษม นิติสิริ ในฐานะหัวหน้าตัวแทนฝ่ายรัฐบาล ว่ารัฐบาลยืนยันไม่ลาออก ทั้งรายบุคคลและทั้งคณะใช่หรือไม่ ซึ่งชัยเกษม ระบุว่า นาทีนี้ไม่ลาออก และต้องการดำเนินการต่อจนกว่าจะครบวาระตามกฎหมาย ประยุทธ์จึงตอบกลับว่าจะยึดอำนาจการปกครองด้วยประโยคที่ว่า "หากเป็นแบบนี้ ผมขอโทษด้วยนะที่ต้องยึดอำนาจ" และสั่งจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรี ตลอดจนแกนนำ กปปส., นปช. และพรรคการเมืองที่เข้าร่วมเจรจา ทั้งหมดถูกนำไปกักขัง ที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์] ต่อมา เวลา 16:30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศตั้ง "คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" (คสช.) ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการทันที รวมถึงให้กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) หมดอำนาจ แต่คำสั่งต่าง ๆ ยังมีผลต่อเนื่องอยู่

คสช. ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ,ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ,ห้ามประชาชนออกจากเคหสถาน ตั้งแต่เวลา 22.00 น. - 5.00 น. ทั่วราชอาณาจักร เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ และ บังคับให้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ และโทรทัศน์ดาวเทียมทุกสถานี งดออกอากาศรายการตามปกติ และให้ใช้สัญญาณของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกออกอากาศไปจนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลง

คสช. ออกคำสั่ง เรียกตัวอดีตรัฐมนตรี 18 คน และ บุคคลสำคัญต่างๆเข้าพบ คสช. ที่หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ 

วันที่ 24-25 พฤษภาคม 2557 ทหารจับ พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก ในวันที่ 24 และสมศักดิ์ ภักดีเดช บรรณาธิการเว็บไซต์ไทยอีนิวส์ ในวันที่ 25

วันที่ 26 พฤษภาคม 2557 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันที่ 27 พฤษภาคม 2557 คสช. ได้ปรับเวลา ห้ามประชาชนออกจากเคหสถาน เป็น 0:00 - 4:00 น. ต่อมา วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557 คสช. ประกาศยกเลิกห้ามประชาชนออกจากเคหสถานทั่วราชอาณาจักร
วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มีผลใช้บังคับ

วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 มีการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดแรก และมีพิธีเปิดในวันที่ 7 สิงหาคม

วันที่ 25 สิงหาคม 2557 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี

วันที่ 6 ตุลาคม 2557 มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

วันที่ 13 ตุลาคม 2558 มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

ขอบคุณภาพจาก ไกรภพ จันทร์ดี