“คลายขัดแย้งในติมอร์ฯ – ผลักดันกฏบัตรอาเซียน” ย้อนอดีตโบว์แดงสุรินทร์ “คนดีแห่งอาเซียน”

“คลายขัดแย้งในติมอร์ฯ – ผลักดันกฏบัตรอาเซียน” ย้อนอดีตโบว์แดงสุรินทร์ “คนดีแห่งอาเซียน”

เพจเฟซบุ้ค..... “โบราณนานมา”  ได้นำข้อมูลรำลึกคุณงามความดีของดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน คนที่ 12 อดีตรมว.ต่างประเทศของไทยในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย  ที่ได้เสียชีวิตลงอย่างกะทันหันด้วยอายุ 68 ปีบ่ายวานนี้  ท่ามกลางความโศกเศร้าของครอบครัว ญาติมิตร และคนไทย  โดยได้นำข้อมูลผลงาน “โบว์แดง” ของดร.สุรินทร์มาถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้ฟังว่า 

 

“คลายขัดแย้งในติมอร์ฯ – ผลักดันกฏบัตรอาเซียน” ย้อนอดีตโบว์แดงสุรินทร์ “คนดีแห่งอาเซียน”

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ บุคคลที่ทรงคุณค่า..... “คลายความขัดแย้งในพื้นที่ติมอร์ตะวันออก – กฏบัตรอาเซียน”    เมื่อช่วงเกิด “วิกฤติต้มยำกุ้ง” หายนะทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย และนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎรได้เลือก ชวน หลีกภัย ให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ ซึ่งเป็นสมัยที่ ๒ ในครั้งนี้ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณได้รับการแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จนถึงปี ๒๕๔๔ ที่มีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ 

ในช่วงเวลาเดียวกัน ดร.สุรินทร์ ยังได้ผลักดันให้ประเทศไทยได้แสดง “บทบาทนำ” ในวิกฤติครั้งสำคัญหนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) นั่นคือ “ความขัดแย้งในพื้นที่ติมอร์ตะวันออก” ที่คนพื้นเมืองต้องการแยกตัวออกจากอินโดนีเซีย มีเหตุรุนแรงและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก   ดร.สุรินทร์ได้เจรจากับญี่ปุ่นเพื่อขอทุนสนับสนุน “กองกำลังรักษาสันติภาพ” โดยได้งบประมาณมาราว ๑๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนจะส่งกองกำลังผสมนำโดยทหารจากไทย และ ฟิลิปปินส์ จำนวน ๓,๔๐๐ นาย เข้าไปในพื้นที่ กระทั่งสถานการณ์คลี่คลายลง และพื้นที่ติมอร์ตะวันออกเกิดเป็นประเทศ “ติมอร์-เลสเต” (Timor-Leste) ในที่สุด

และในปี ๒๕๕๐ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้เข้ารับตำแหน่ง เลขาธิการอาเซียนในวันที่ ๑ ม.ค. ๒๕๕๑ ซึ่งในระหว่างดำรงตำแหน่งได้เป็นผู้ผลักดันให้เกิด กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) และยังประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนใน ๑๐ ชาติสมาชิก ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประชาคมอาเซียนด้วย  กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้

“คลายขัดแย้งในติมอร์ฯ – ผลักดันกฏบัตรอาเซียน” ย้อนอดีตโบว์แดงสุรินทร์ “คนดีแห่งอาเซียน”

“คลายขัดแย้งในติมอร์ฯ – ผลักดันกฏบัตรอาเซียน” ย้อนอดีตโบว์แดงสุรินทร์ “คนดีแห่งอาเซียน”

อินนาลิลลาฮ์ วะอินนาอิลัยฮิรอญีอูน : แท้จริงเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ และแท้จริงเราจะต้องกลับคืนสู่พระองค์  ขอดร.สุรินทร์ได้กลับไปสู่ออมกอดของพระองค์

“คลายขัดแย้งในติมอร์ฯ – ผลักดันกฏบัตรอาเซียน” ย้อนอดีตโบว์แดงสุรินทร์ “คนดีแห่งอาเซียน”