เครือข่ายภาคประชาชน 24 องค์กร ร่วมลงชื่อ เสนอร่างกฎหมายยกเลิกคำสั่ง คสช. 35 ฉบับที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชน

เครือข่ายภาคประชาชน 24 องค์กร ร่วมลงชื่อ เสนอร่างกฎหมายยกเลิกคำสั่ง คสช. 35 ฉบับที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชน

ที่ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตัวแทนภาคประชาชน 23 องค์กรร่วมกันจัดกิจกรรม เปิดตัวโครงการเข้าชื่อเสนอกฎหมายประชาชนเพื่อยกเลิกประกาศ/คำสั่ง ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ที่มีเนื้อหาขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย 

นายจอน อึ๊งภากรณ์ ที่ปรึกษาศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ กล่าวว่า คสช.ใช้อำนาจพิเศษออกประกาศ/คำสั่ง ไปแล้วกว่า 500 ฉบับ หลายฉบับมีเนื้อหาละเมิดสิทธิเสรีภาพ สิทธิทางการเมือง สิทธิชุมชน และเสรีภาพสื่อ โดยที่ประกาศ/คำสั่งเหล่านี้จะยังคงอยู่และมีสถานะเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไปตามรัฐธรรมนูญใหม่

เครือข่ายภาคประชาชน 24 องค์กร ร่วมลงชื่อ เสนอร่างกฎหมายยกเลิกคำสั่ง คสช. 35 ฉบับที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชน

อาทิ คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 3 ทับ 2558 ซึ่งกำหนดให้การชุมนุมทางการเมือง 5 คนขึ้นไป เป็นความผิด และให้ทหารมีอำนาจ /  คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 3 ทับ 2559 / คำสั่ง คสช.ที่ 13 ทับ 2559 / คำสั่ง คสช.ที่  5 ทับ 2560 ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าทีืทหารเรียกและจับบุคคลไปขังไว้ได้ 7 วัน โดยไม่ตั้งข้อกล่าวหา และเจ้าหน้าที่ได้รับยกเว้นความ

นาง แสงศิริ ตรีมรรคา เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าวว่า การร่วมลงชื่อเสนอร่สงกฎหมายยกเลิกประกาศ / คำสั่ง คสช.ดังกล่าว เป็นการใช้สิททธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 133 รวบรวมรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างน้อย 1หมื่น รายชื่อ เพื่อเสนอร่าง ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย 

โดยให้สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง พิจารณาผ่านร่างพระราชบัญญัติเพื่อยกเลิกประกาศและคำสั่งคสช.และคำสั่งหัวหน้าคสช.รวม 35 ฉบับ

สำหรับตัวแทนภาคประชาชนที่เข้าร่วมแถลงการณ์ อาทิ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน  หรือ กป.อพช. / เครือข่ายหลักประกันสุขภาพ / เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ / เครือข่ายแรงงาน / เครือข่ายแรงงานนอกระบบ / เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก / เครือข่ายผู้บริโภค / เครือข่ายประชนผู้เป็นเจ้าของแร่ /ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย หรือ พีมูฟ