"ลำไย ผลไม้ที่มีคุณค่า" มากกว่าเเค่ความหวาน สรรพคุณเพียบ!! (รายละเอียด)

"ลำไย ผลไม้ที่มีคุณค่า" มากกว่าเเค่ความหวาน สรรพคุณเพียบ!! (รายละเอียด)

ลำไยเป็นไม้ผลที่นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีมูลค่าการส่งออกสูงปีละหลายพันล้านบาท นอก จากรับประทานผลสดหรือนำมาปรุงเป็นขนมหวาน เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าได้ด้วย เช่น ลำไยกระป๋อง ลำไยแช่แข็ง ลำไยอบแห้ง น้ำลำไย และไวน์ลำไย สำหรับคุณค่าทางโภชนาการ พบว่าในเนื้อผลของลำไยประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินบีสอง ไนอาซิน วิตามินซี กรดอะมิโน และน้ำตาลซึ่งทำให้ลำไยมีรสหวาน ได้แก่ กลูโคส ซูโครส และฟรุกโตส

 

"ลำไย ผลไม้ที่มีคุณค่า" มากกว่าเเค่ความหวาน สรรพคุณเพียบ!! (รายละเอียด)

ลำไยเป็นไม้ผลที่นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีมูลค่าการส่งออกสูงปีละหลายพันล้านบาท นอก จากรับประทานผลสดหรือนำมาปรุงเป็นขนมหวาน เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าได้ด้วย เช่น ลำไยกระป๋อง ลำไยแช่แข็ง ลำไยอบแห้ง น้ำลำไย และไวน์ลำไย สำหรับคุณค่าทางโภชนาการ พบว่าในเนื้อผลของลำไยประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินบีสอง ไนอาซิน วิตามินซี กรดอะมิโน และน้ำตาลซึ่งทำให้ลำไยมีรสหวาน ได้แก่ กลูโคส ซูโครส และฟรุกโตส

 

"ลำไย ผลไม้ที่มีคุณค่า" มากกว่าเเค่ความหวาน สรรพคุณเพียบ!! (รายละเอียด)

 

สารโพลีแซคคาไรด์จากเมล็ด มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งปอด A549 และต้านเนื้องอกในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดเนื้องอก ส่วนสารโพลีแซคคาไรด์จากเนื้อผล มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งรังไข่ SKOV3 และ HO8910 และเซลล์มะเร็งหลังโพรงจมูก HONE1 และยังมีฤทธิ์ต้านเนื้องอกในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดเนื้องอก สารโพลีฟีนอลในเมล็ดสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ Colo 320DM, SW480 และ HT-29 สารสกัดจากเปลือกผลซึ่งมีสารสำคัญ ได้แก่ gallic acid, ellagic acid และ corilagin สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร SGC-7901 และเซลล์มะเร็งปอด A-549 ได้ แต่ไม่มีผลกับเซลล์มะเร็งตับ HepG2

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ของสารสกัดจากลำไยซึ่งมีการบอกกล่าวสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบของข้อเข่า เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ ออกวางจำหน่าย เมื่อศึกษาจากงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากดอก เมล็ด กิ่ง เนื้อผล และเปลือกผล มีฤทธิ์ลดการอักเสบได้ทั้งในเซลล์เพาะเลี้ยงและสัตว์ทดลอง สารสกัดจากเมล็ดมีฤทธิ์ยับยั้งสารกระตุ้นการอักเสบ IL-1? ซึ่งทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์กระดูกข้อเข่า แสดงว่าสารสกัดจากเมล็ดลำไยมีฤทธิ์ต้านการเสื่อมสลายของเซลล์กระดูกอ่อน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการที่จะนำมาพัฒนาใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อมได้ สารสกัดจากดอก สาร proanthocyanidin A2 และ acetonylgeraniin A ที่แยกได้จากดอก สารสกัดจากเมล็ดลำไย สาร gallic acid, corilagin และ ellagic acid ที่แยกได้จากเมล็ด มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ xanthine oxidase ลดระดับของกรดยูริกในเซลล์ตับ (clone-9 cells) และลดระดับของกรดยูริกในเลือดของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูงได้ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนผลของการใช้ลำไยในการรักษาโรคเก๊าท์ นอกจากนี้สารสกัดน้ำจากผลยังมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างกระดูกซึ่งอาจช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้

นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ลำไยยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อยีสต์ ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ฤทธิ์เพิ่มความจำ ต้านการเป็นพิษต่อตับ ลดความวิตกกังวล ปกป้องเซลล์ประสาท ปกป้องสมอง ต้านการก่อกลายพันธุ์ ต้านความเหนื่อยล้า ต้านเชื้อไวรัสตับอักเสบซี และปรับระบบภูมิคุ้มกัน

จะเห็นได้ว่าลำไย เป็นผลไม้ที่นอกเหนือจากคุณค่าในด้านเศรษฐกิจและอาหารแล้ว ยังมีคุณประโยชน์ในทางยาด้วย จากคุณสมบัติเด่นในการต้านอนุมูลอิสระ ลำไยจึงมีศักยภาพที่จะนำไปพัฒนาเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ และประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง และยาได้ โดยเฉพาะสารสกัดจากเมล็ดและเปลือกลำไยที่พบว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและสารสำคัญหลายชนิดที่น่าสนใจ ซึ่งควรจะนำมาศึกษาเพิ่มเติมโดยเฉพาะการศึกษาในคน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นการเพิ่มมูลค่าของวัสดุที่เหลือทิ้งจากการบริโภคอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การบริโภคสิ่งหนึ่งสิ่งใด มากเกินไปย่อมไม่ใช่เรื่องที่ดี โดยคนที่บริโภคลำไยมากเกินไป อาจจะเกินโทษดังนี้... 

          ตามหลักโภชนาการแล้ว เราควรกินผลไม้ 4-5 ส่วนต่อวัน และผลไม้ที่เรากินก็ควรมีความหลากหลาย ดังนั้นเราจึงควรกินลำไยในปริมาณที่พอเหมาะและควบคู่ไปกับผลไม้อื่นด้วย คือควรทานลำไยไม่เกิน 1 ส่วนต่อวัน ซึ่งหากเป็นลำไยสดก็ประมาณ 6-10 ผล แต่หากเป็นลำไยแห้ง ควรทานเพียง 2-3 เม็ด เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอและไม่มากจนเกินไป
        
            นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเสีย เป็นหวัด และเจ็บคอ ควรหลีกเลี่ยงการทานลำไยด้วย เพราะถึงลำไยจะมีประโยชน์มากแค่ไหน แต่ก็จัดเป็นผลไม้รสหวานจัด เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง และจัดเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ร้อน หากกินมากไปอาจส่งผลไม่ดีต่ออาการป่วยที่เป็นอยู่ ทำให้เจ็บคอหรือเป็นร้อนในได้
 

 

 

 

ขอบพระคุณ

http://www.chiangmainews.co.th

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล