จับสัญญานเลื่อนเลือกตั้ง !!! ที่อาจลากยาวออกไป ไม่จบแค่ 90 วัน

จับสัญญานเลื่อนเลือกตั้ง !!! ที่อาจลากยาวออกไป ไม่จบแค่ 90 วัน

ถึงแม้ จะเบาใจกับการสนช.ผ่านความเห็นชอบร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวการกับเลือกตั้ง 2 ฉบับ ทั้งการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 

ขณะนี้ จึง อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และ กกต. ว่าจะตั้งกรรมาธิการร่วมเพื่อปรับแก้ไขร่างกฎหมายอีกครั้งหรือไม่ ซึ่งถ้ามีการตั้งกรรมาธิการร่วม อาจส่งผลให้การเลือกตั้งเลื่อนออกไปมากกว่า90 วันได้ใน3 แนวทาง
 

1. หากมีการตั้งกรรมาธิการร่วมแล้วจะต้องปรับแก้ให้เสร็จภายในวันที่ 20 ก.พ.61 จากนั้นส่งให้ สนช. ลงมติ ถ้า สนช. มีมติไม่เห็นชอบร่างกฎหมายฉบับนั้นต้องตกไป กรณีนี้รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ว่าต้องทำอย่างไรต่อไป ซึ่งนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญยืนยันว่าจะต้องกลับไปใช้กระบวนการเดิมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญดำเนินการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน หรือ ประมาณ 8เดือน ซึ่งถ้าใช้เวลาตามนี้การเลือกตั้งก็จะเลื่อนออกไปสูงสุดถึง เดือนสิงหาคม ปี 2562 แต่นายมีชัย ยืนยันว่าหากต้องร่างใหม่จริงกรธ.จะใช้เวลาโดยเร็วไม่ถึง 240 วัน 

2. อีกรูปแบบหากมีการตั้งกรรมาธิการร่วมปรับแก้แล้ว สนช. ส่วนใหญ่เห็นชอบ แต่สนช.บางส่วน หรือนายกรัฐมนตรี ไม่เห็นด้วย สามารถขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ขั้นตอนนี้ศาลจะใช้เวลาเท่าไหร่ก็ได้ หากศาลวินิจฉัยขัดรัฐธรรมนูญ สนช. จะต้องแก้ใหม่ การเลือกตั้งเลื่อนได้มากสุดถึง ปลายปี62

3. คสช. ไม่ปลดล็อคทางการเมือง ตามขั้นตอน หลังสนช.ให้ความเห็นชอบเมื่อ 26ม.ค. นำไปสู่ปรับแก้ในชั้นกรรมาธิการร่วม  ภายใน 20 ก.พ. ต่อจากนั้น ภายใน 13 มี.ค. นายกฯ ทูลเกล้าฯ(กรณีไม่ส่งศาลตีความ) โดยประกาศใช้กฎหมายเลือกตั้ง ภายใน 9 ก.ย.ซึ่งเมื่อคสช. ไม่ปลดล็อค ทางรัฐบาลอาจจะต้องปรับแก้ระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้งเพื่อขยายเวลาออกไป เมื่อกฎหมายเลือกตั้งประกาศใช้แล้ว

จับสัญญานเลื่อนเลือกตั้ง !!! ที่อาจลากยาวออกไป ไม่จบแค่ 90 วัน

จับสัญญานเลื่อนเลือกตั้ง !!! ที่อาจลากยาวออกไป ไม่จบแค่ 90 วัน

แต่สิ่งที่จะลืมไม่ได้คือ สัญญานที่ส่งออกมาจากรองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ที่ยอมทรับว่า มีความเป็นไปได้ที่จะขยายเวลาการเลือกตั้งออกไปมากกว่า 90 วัน โดยเฉพาะช่องทางพิเศษ จากคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 ที่เปิดช่อง ให้ครม.แจ้งไปยังคสช.เพื่อพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายหรือประกาศหรือคำสั่งคสช.ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการของพรรคการเมือง
 
และร่วมกันจัดทำแผนและขั้นตอนการดำเนินการทางการเมือง เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยให้หารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และจะเชิญผู้แทนพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองต่างๆ เข้าหารือด้วยก็ได้
 
แน่นอนว่าพรรคการเมืองใหญ่ย่อมไม่เห็นด้วย และเมื่อตกลงกันไม่ได้ก็อาจต้องตัดสินด้วยการลงมติชี้ขาด ถ้าช่องนี้มีความเป็นไปได้ที่พรรคการเมืองใหญ่ที่พร้อมเลือกตั้งจะแพ้โหวตกลางที่ประชุม และทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปในที่สุด
 
และนั่น อาจนำไปสู่การเลื่อนเลือกตั้งออกไปแบบไม่มีกำหนด ซึ่งอาจเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของผู้มีอำนาจใน คสช. ก็เป็นได้