ด่วน!! พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค ตกตึกห้างดัง 7ชั้น เสียชีวิตแล้ว!! (รายละเอียด)

วันนี้(25/02/2561) ภายในห้างสรรพสินค้าเซนทรัลแจ้งวัฒนะ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ที่ร้านคลิ๊ปปี้ครีม (ชั้น 1 ) ผู้สื่อข่าวได้รายงานว่า ได้เกิดเหตุ ชายพลัดตกจากที่สูง  จากนั้นเจ้าหน้าที่ห้างสรรพสินค้าได้ช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลชลประทาน โดยได้มีการตรวจสอบเอกสารของชายที่เสียชีวิต ไม่พบเอกสารยืนยันตัวบุคคล และพบกระดาษเขียนด้วยลายมือ ปรากฏข้อความลาตายลงชื่อ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค จึงได้เก็บรวบรวมไว้เป็นพยานหลักฐาน จากนั้นพนักงานสอบสวนได้เดินทางไปยัง รพ.ชลประทาน และได้ตรวจสอบรูปพรรณศพ พบว่าผู้เสียชีวิตคือ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค จึงได้แจ้งแพทย์นิติวิทยาศาสตร์ มาร่วมชันสูตรศพต่อไป

จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุ ตรวจสอบกล้องวงจรปิด และสอบปากคำพยาน พยานที่เห็นเหตุการณ์ พบว่าก่อนเกิดเหตุผู้เสียชีวิตเดินอยู่บนชั้น 7 ตามปกติ จากนั้นได้เดินไปที่กระจกทางกั้น จากนั้นได้ปีนข้ามและผลัดตกลงไป

ด่วน!! พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค ตกตึกห้างดัง 7ชั้น เสียชีวิตแล้ว!! (รายละเอียด)

ด้าน พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ได้รับรายงานในเรื่องดังกล่าวแล้ว ได้ฝากแสดงความเสียใจไปยังญาติของท่าน พล.ต.อ.สล้าง ด้วย ท่านถือเป็นบุคคลสำคัญที่สร้างคุณงามความดีไว้ให้กับสำนักงานตำรวจเเห่งชาติ และประเทศชาติอย่างมาก อย่างไรก็ตามสาเหตุของการเสียชีวิตในครั้งนี้ เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่ต้องรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวข้อง มาประกอบเป็นสำนวนคดีชันสูตรพลิกศพต่อไป

สำหรับ พลตำรวจเอก สล้าง บุนนาค เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2480 ที่ อ.เมือง จ.ราชบุรี อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ เป็นบุตรของหลวงพินิตพาหนะเวทย์ (พิง) มารดาชื่อ ทองอยู่ (สกุลเดิม ลิมปิทีป) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รับราชการในกรมตำรวจ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบัน) ตำแหน่งที่สำคัญได้แก่ ผู้บังคับการตำรวจภูธร 12 ผู้บัญชาการศึกษา ผู้ช่วยอธิบดีตำรวจ และรองอธิบดีกรมตำรวจ ฝ่ายป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ ตามลำดับ ปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก มหาวชิรมงกุฏ และเหรียญจักรพรรดิมาลา พลตำรวจเอกสล้าง มีบุตรกับภรรยาชื่อ สุพรรณวดี (สกุลเดิม ชุมดวง) 3 คน ได้แก่ วันจักร พลจักร และเหมจักร นับเป็นลำดับชั้นที่ 7

ขณะนั้น พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค เป็นรองผู้กำกับการ 2 รับคำสั่งจาก พล.ต.ต.สุวิทย์ โสตถิทัต ผู้บังคับการกองปราบปราม ของคืนวันที่ 5 ตุลาคม 2519 ให้นำกำลังตำรวจปราบจลาจล 200 นายไปรักษาความสงบที่บริเวณท้องสนามหลวง และหน้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ใน ครั้งนั้นมีการเรียกกำลังของตำรวจตระเวนชายแดนประมาณ 50-60 นาย ซึ่งมีอาวุธปืนขนาดใหญ่ ปืนครก อาวุธปืนที่ติดกล้องเล็ง และตำรวจแผนกอาวุธพิเศษ หรือหน่วย "สวาท" ทั้งแผนกอีก 45 นาย ในเช้าวันนั้นเฉพาะกำลังส่วนที่ติดอาวุธหนัก และร้ายแรงที่สุดของกรมตำรวจ 3 หน่วยนี้ที่ถูกใช้ในการโจมตีมีถึง 300 คน นอกจากนี้ยังมีตำรวจจาก สน.และหน่วยงานอื่นๆ อีกประมาณ 50 ถึง 100 หน่วยงานเข้าร่วมด้วย

ต่อมาเวลาประมาณ 8.00 น. ของวันเดียวกัน ก็ได้รับคำสั่งจากอธิบดีกรมตำรวจ ให้เข้าไปทำการตรวจค้นจับกุม และให้ใช้อาวุธปืนได้ตามสมควร แต่อย่างไรก็ตามที่ได้รับคำสั่งให้ใช้อาวุธได้ จากอธิบดีตำรวจนั้น ได้รับคำสั่งโดยมีนายตำรวจ มาบอกด้วยวาจา และมีการมาบอกกันหลายคน จนเกิดการใช้อาวุธหนักโจมตีเข้าไปใน ม.ธรรมศาสตร์ จึงมีนักศึกษา ประชาชน เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นจำนวนมาก

บทบาท พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 มีมากมาย แน่นอนว่าบทบาทของเขาในวันนั้นยังไม่หมดเท่านี้ ก่อนจะหมดวัน "ได้รับคำสั่ง" ให้ไปปฏิบัติการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง และทำให้มีชื่อเสียงที่ไม่อาจลบล้างได้จนทุกวันนี้

ในบ่ายวันดียวกัน หลังจากที่กลุ่มฝ่ายขวาเสร็จสิ้น "การฆ่าฟันนักศึกษาที่ธรรมศาสตร์" สถานีวิทยุยานเกราะ ก็ได้สั่งการต่อให้กลุ่มลูกเสือชาวบ้านเดินทางไปที่สนามบินดอนเมือง เพื่อทำร้าย ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ แต่เจ้าหน้าที่สนามบินไม่ให้เข้าไป อย่างไรก็ตามพล.ต.อ.สล้าง ได้เดินทางไปที่ดอนเมืองตามคำสั่งของสถานีวิทยุยานเกราะ โดยที่ไม่ได้รับคำสั่งจากกรมตำรวจ และ พล.ต.อ.สล้าง ได้เข้าไปด่าว่า ดร.ป๋วย ขณะที่พูดโทรศัพท์อยู่ และตบหู จนโทรศัพท์ออกจากมือของ ดร. ป๋วย หลายปีภายหลัง พล.ต.อ.สล้าง ได้พยายามแก้ตัวว่า ได้รับวิทยุสั่งการโดยตรงจาก พล.ต.ต.สงวน คล่องใจ ผู้บังคับการกองปราบฯ ให้รีบเดินทางไปที่สนามบินดอนเมือง เพื่อป้องกันช่วยเหลือ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ให้รอดพ้นจากการทำร้ายจากกลุ่มประชาชน พวกนวพล และกระทิงแดงให้ได้ จึงได้รีบเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง

แต่ในขณะที่ พล.ต.อ.สล้าง ดำรงตำแหน่ง รองอธิบดีกรมตำรวจ หนึ่งในคดีวิสามัญฆาตกรรมที่อื้อฉาว สะเทือนขวัญ และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด คงจะหนีไม่พ้น...คดีวิสามัญฆาตกรรม "โจ ด่านช้าง" และพวกอีก 5 คน