"อธิบดีกรมชลฯ"ยันไร้ข่มขู่แกนนำต้านโครงการอ่างเก็บน้ำวังหีบ แจงชาวบ้านต้องการให้สร้าง70%

"อธิบดีกรมชลฯ"ยันไร้ข่มขู่แกนนำต้านโครงการอ่างเก็บน้ำวังหีบ แจงชาวบ้านต้องการให้สร้าง70%

จากกรณีที่กลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองวังหีบ ค้านการโครงการก่อสร้างเขื่อนวังหีบ จ.นครศรีธรรมราช ออกมาร้องเรียนว่าถูกเจ้าหน้าที่รัฐบางหน่วยงานข่มขู่  โดยระบุว่า "หากกระแสข่าวเงียบไปแล้ว แกนนำที่ร่วมกันคัดค้านอาจจะโดนอุ้ม" ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 อธิบดีกรมชลประทาน ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า 

ประเด็นข่าวแกนนำต้านเขื่อนวังหีบถูกขู่อุ้ม เหตุกลุ่มอิทธิพลหวั่นเสียผลประโยชน์ ตามที่มีข้อกล่าวหาจากกลุ่มคัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนวังหีบ จ.นครศรีธรรมราช โดยนางนงลักษณ์ ผาสุก และนายวุฒิชัย แก้วลำหัด สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองวังหีบ ซึ่งคัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนวังหีบ จ.นครศรีธรรมราช โดยอธิบดีกรมชลประทานได้ชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้   

ครงการวังหีบอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  เป็นโครงการชลประทานขนาดกลางในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2553 ลักษณะโครงการประกอบด้วย เขื่อนหินถมแกนดินเหนียว ความยาว 360.50 เมตร สูง 71.00 เมตร สันเขื่อนกว้าง 10.00 เมตร ความจุอ่างเก็บน้ำ 20.10 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้พื้นที่รับประโยชน์ด้านเกษตรกรรม 13,014 ไร่  ซึ่งกรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ก่อนก่อสร้างโครงการ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ผ่านการเห็นชอบต่อรายงาน EIA แล้ว และเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการและนำเสนอขออนุมัติเปิดโครงการต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
   

       1. ในขั้นตอนการดำเนินโครงการ กรมชลประทานร่วมกับจังหวัดนครศรีธรรมราช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ดำเนินการประชุมชี้แจงเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ และรับฟังความคิดเห็นราษฎรในพื้นที่ แบบมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมา ขอยืนยันว่ามิได้มีการข่มขู่ใด ๆ ตามที่ข่าวกล่าวอ้างแต่อย่างใด
 

       2. จังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาการพัฒนาแหล่งน้ำ “โครงการวังหีบอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ร.9) จังหวัดนครศรีธรรมราช” เพื่อดำเนินการแก้ไขการพัฒนาแหล่งน้ำ และประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรอง ผอ.กอ.รมน.จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นคณะทำงานฯ ดังกล่าวด้วย และมีมติที่ประชุมครั้งสำคัญ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 เห็นชอบในการดำเนินการโครงการวังหีบฯ โดยให้มีการประชาสัมพันธ์ ชี้แจงข้อมูล เหตุผลและความจำเป็น และสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่ ตลอดจนกลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาเหมน – วังหีบ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งให้เร่งสำรวจผู้ได้รับผลกระทบ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย พันธุ์พืชของราษฎร และคณะกรรมการพิจารณาราคาที่ดิน โดยให้เร่งดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาราษฎรที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว ถูกต้อง และโปร่งใส
       

       3. ในประเด็นการสร้างเขื่อนจะส่งผลกระทบต่อที่ดินทำกิน ทรัพยากรป่าไม้ที่สมบูรณ์ รวมถึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมใน อ.ทุ่งสงได้ เพราะคลองวังหีบไม่ผ่านกลางเมืองทุ่งสง นั้น จากผลการศึกษารายงาน EIA ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบตามมติ กก.วล. ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 ได้มีการศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณพื้นที่โครงการวังหีบฯ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 596 ไร่ แยกเป็น พื้นที่เขื่อนหัวงานประมาณ 70 ไร่ และพื้นที่อ่างเก็บน้ำ ประมาณ 526 ไร่ สรุปดังนี้  3.1 พื้นที่การเกษตร (ปาล์ม ยางพารา) 378 ไร่ (64 %) 3.2 พื้นที่ที่อยู่อาศัย  88 ไร่ (15 %) 3.3 พื้นที่รกร้างว่างเปล่า 89 ไร่(15 %) 3.4 พื้นที่ป่าไม้ 20 ไร่ (3 %) และ3.5 พื้นที่ลำน้ำคลองวังหีบ 20 ไร่ (3 %) โดยพื้นที่จำนวนดังกล่าว มีราษฎรอาศัยอยู่ 19 หลัง และมีราษฎรเข้าครอบครองทำประโยชน์ 73 ราย และกรมชลประทานได้มีการประมาณการค่าทดแทนทรัพย์สิน (ค่ารื้อย้าย (ค่าที่ดิน) สิ่งปลูกสร้าง และต้นไม้ต่าง ๆ) ประมาณ 210 ล้านบาท รวมอยู่ในแผนงานงบประมาณของโครงการวังหีบฯ เรียบร้อยแล้ว
         

        สำหรับประเด็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมตัวเมืองทุ่งสง ขอชี้แจงว่า เมื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำวังหีบเสร็จแล้ว จะสามารถตัดยอดน้ำและควบคุมปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่คลองวังหีบ ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลหลากในคลองวังหีบลดลง ซึ่งลำน้ำคลองวังหีบไหลอ้อมเมืองทุ่งสง  แต่จากแผนงานพัฒนาเพื่อการบรรเทาปัญหาอุทกภัยเมืองทุ่งสง จะมีการผันน้ำออกจากคลองท่าโหลน ซึ่งเป็นลำน้ำสายหนึ่งที่ไหลเข้าผ่านตัวเมืองทุ่งสง ซึ่งลำน้ำในช่วงที่ผ่านตัวเมืองได้ถูกบุกรุกและอัตราการระบายน้ำลดลงอย่างมาก ดังนั้น เพื่อให้สามารถแก้ไขและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมตัวเมืองทุ่งสงได้จึงมีความจำเป็นจะต้องจัดสร้างทางผันน้ำจากคลองท่าโหลนลงมาสู่คลองวังหีบ ทำให้สามารถลดปริมาณน้ำไหลหลากเข้าท่วมตัวเมืองทุ่งสงได้ พร้อมกับมีการปรับปรุงและพัฒนาคลองสายต่าง ๆ และอาคารบังคับน้ำ ดังนั้น การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำวังหีบ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วมตัวเมืองทุ่งสงได้

 

"อธิบดีกรมชลฯ"ยันไร้ข่มขู่แกนนำต้านโครงการอ่างเก็บน้ำวังหีบ แจงชาวบ้านต้องการให้สร้าง70%

        4. วงเงินงบประมาณโครงการ 2,377.644 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) ราคาเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ 918.85 ล้านบาท (2) ราคาระบบส่งน้ำ 320 ล้านบาท (3) ค่าที่ดิน 210 ล้านบาท (4) ค่าแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม 100.351 ล้านบาท และ(5) อื่นๆ(ค่าเตรียมความพร้อม ค่าก่อสร้างส่วนประกอบอื่น ค่าบูรณะสิ่งก่อสร้าง)  828.443 ล้านบาท ซึ่งเป็นการประมาณการราคาวงเงินงบประมาณของโครงการวังหีบฯ ณ ปีปัจจุบัน

        5.กรณีเขื่อนวังหีบผ่านกระบวนการทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว แต่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบไม่ได้เข้าร่วมกระบวนการดังกล่าว นั้น กรมชลประทานได้ดำเนินการโครงการแบบมีส่วนร่วมของประชาชน มีการประชุมชี้แจงเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่ และรับฟังความคิดเห็นราษฎรผู้ได้รับผลกระทบ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ขั้นการศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ปี พ.ศ. 2550 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ได้มีมติเห็นชอบต่อรายงาน EIA โครงการวังหีบฯ แล้ว

         โดยได้มีการเชิญราษฎรผู้ได้รับผลกระทบ ผู้ได้รับประโยชน์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง มีการจัดประชุมชี้แจงรวม 55 ครั้ง (ระดับจังหวัด 14 ครั้ง ระดับอำเภอ 5 ครั้ง ระดับท้องถิ่น 36 ครั้ง และเข้าร่วมประชุมชี้แจงองค์กรอิสระ (คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) รวม 3 ครั้งโดยสรุปผลการความคิดเห็นที่มีต่อโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน พบว่า มีราษฎรผู้ต้องการให้ก่อสร้าง ร้อยละ 70 ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ก่อสร้างโครงการเนื่องจากไม่ต้องการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานที่อยู่อาศัยแห่งใหม่

 

"อธิบดีกรมชลฯ"ยันไร้ข่มขู่แกนนำต้านโครงการอ่างเก็บน้ำวังหีบ แจงชาวบ้านต้องการให้สร้าง70%

"อธิบดีกรมชลฯ"ยันไร้ข่มขู่แกนนำต้านโครงการอ่างเก็บน้ำวังหีบ แจงชาวบ้านต้องการให้สร้าง70%

 

 

 

       ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่และพบปะราษฎรในพื้นที่โครงการวังหีบฯ ณ บ้านสระแก้ว หมู่ที่ 1 ตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้ขอให้ราษฎรแต่งตั้งผู้แทนเพื่อเข้าร่วมตรวจสอบแนวเขตของโครงการวังหีบฯ ร่วมกับกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาดำเนินโครงการต่อไป โดยมีราษฎรยกมือคัดค้านในการตรวจสอบแนวเขตเพียงรายเดียว      

 

"อธิบดีกรมชลฯ"ยันไร้ข่มขู่แกนนำต้านโครงการอ่างเก็บน้ำวังหีบ แจงชาวบ้านต้องการให้สร้าง70% "อธิบดีกรมชลฯ"ยันไร้ข่มขู่แกนนำต้านโครงการอ่างเก็บน้ำวังหีบ แจงชาวบ้านต้องการให้สร้าง70%

 

 

 

ขอบคุณภาพ "สำนักข่าวชายขอบ"