สรุปแล้ว!!ผลสอบตลาดรอบ "บ้านป้าทุบรถ"ผิดกฎหมายทั้งหมด พบข้าราชการเอี่ยวรับผลประโยชน์

สรุปแล้ว!!ผลสอบตลาดรอบ "บ้านป้าทุบรถ"ผิดกฎหมายทั้งหมด พบข้าราชการเอี่ยวรับผลประโยชน์

5 มี.ค.61 ความคืบหน้าการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการประกอบกิจการตลาดบริเวณปากซอยศรีนครินทร์ 55 เขตประเวศ ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่าง นางสาวรัตนฉัตร แสงหยกตระการ อายุ 61 ปี และเจ้าของตลาด เป็นเหตุให้เกิดกรณีการทุบรถที่มาจอดขวางประตูหน้าบ้านนางสาวรัตนฉัตร

นายนิรันดร์ ประดิษฐกุล ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามความคืบหน้าและลงพื้นที่ตรวจสอบ คณะกรรมการฯ เห็นพ้องกันว่าตลาดทั้ง 5 แห่ง ประกอบด้วย ตลาดสวนหลวง ตลาดเปิ้ลมาร์เก็ต ตลาดรุ่งวาณิชย์ ตลาดยิ่งนรา และตลาดร่มเหลือง ดำเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากไม่มีการขออนุญาตจัดตั้งตลาด มีเพียงการขออนุญาตก่อสร้างอาคารเท่านั้น

อย่างไรก็ตามในการก่อสร้างอาคารนั้น ตลาด 4 แห่งดำเนินการถูกต้อง ยกเว้นตลาดนัดร่มเหลืองเท่านั้น ซึ่งเดิมประเด็นที่ถกเถียงกันและขึ้นศาลปกครอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ 4 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ผังเมือง, พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร, พ.ร.บ.สาธารณสุข และ พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน เพราะตามพ.ร.บ. ผังเมือง พื้นที่นี้สามารถก่อสร้างตลาดและอาคารพาณิชย์ได้ แต่นางสาวรัตนฉัตร ผู้ร้อง ได้ยกพ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน ขึ้นมาโต้แย้งว่าเป็นที่ดินจัดสรรเพื่อที่อยู่อาศัย ทางศาลปกครองสูงสุดจึงตีกลับมาให้พิจารณาใหม่

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าที่ดินที่ก่อตั้งตลาดทั้งหมดนี้ เดิมเป็นสถานที่ออกกำลังกาย ต่อมามีผู้มาตั้งแผงขายของ ในปี 2551 เริ่มจากตลาดสวนหลวง ร.9 ตลาดเปิ้ลมาร์เก็ต และตลาดอื่นๆ สุดท้ายคือตลาดร่มเหลือง โดยตลาดทั้งหมดไม่ได้มีสภาพของตลาด
 

โดยวันนี้คณะกรรมการฯ ได้ส่งผลการตรวจสอบให้กับ พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามกฎหมายต่อไปแล้ว โดยข้อมูลบางส่วนยังไม่เรียบร้อย ทั้งจากศาลปกครองและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จากการตรวจสอบ พบว่ามีข้าราชการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเรียกรับผลประโยชน์ด้วย แต่ไม่ได้ลงไปเรียกรับผลประโยชน์โดยตรง ซึ่งทางคณะกรรมการฯ ไม่มีอำนาจที่จะไปตรวจสอบประเด็นนี้


สำหรับข้าราชการที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว แบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน  คือ สำนักการโยธา ดูแลเรื่องอาคาร การก่อสร้างอาคาร และทางสำนักงานเขต ดูแลเรื่องการขออนุญาตจัดตั้งตลาด ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือ ผู้อำนวยการสำนักการโยธา คือ นายจุมพล สำเภาพล ดำรงตำแหน่งปี 2552-2554 และนายวินัย ลิ่มสกุล ดำรงตำแหน่งปี 2554-2556 และผู้อำนวยการสำนักงานเขต ที่เกี่ยวข้อง 4 คน ตามที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย นายสมชาย ฉัตรสกุลเพ็ญ, นางอัจฉรา ห่อสมบัติ, นายณรงค์ จงแจ่มฟ้า และคนปัจจุบัน คือ นายธนะสิทธิ์ เมธพันธ์เมือง

นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ ของเขตในช่วงเวลาที่เกิดเหตุขณะนั้นอีกหลายคน และจากการตรวจสอบทราบว่าที่ผ่านมา มีบางช่วงที่มีการเก็บค่าปรับ บางคดีปรับสูงสุดหลายแสนบาท บางช่วงก็ปล่อยปละละเลยไม่ได้เก็บค่าปรับ โดยมีรายละเอียดทั้งหมดว่าใครดำเนินการปรับกี่ครั้ง หนักเบาเท่าใดบ้าง

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการลงโทษนั้น ต้องรอการตัดสินจากทางศาลปกครอง ซึ่งจะมีบทลงโทษทั้งทางอาญา ทางวินัย และทางแพ่ง โดยโทษทางอาญาต้องรอให้ทาง ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด ส่วนโทษทางวินัยจะดำเนินการกับข้าราชการโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ผิดวินัยร้ายแรง และผิดวินัยไม่ร้ายแรง ซึ่งจะต้องตรวจสอบในแต่ละรายไป

สำหรับข้าราชการที่พ้นตำแหน่งไปแล้ว ตามขั้นตอนการตรวจสอบของข้าราชการ สามารถดำเนินการย้อนหลังได้ทั้งหมด ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

 

สรุปแล้ว!!ผลสอบตลาดรอบ "บ้านป้าทุบรถ"ผิดกฎหมายทั้งหมด พบข้าราชการเอี่ยวรับผลประโยชน์

 

สรุปแล้ว!!ผลสอบตลาดรอบ "บ้านป้าทุบรถ"ผิดกฎหมายทั้งหมด พบข้าราชการเอี่ยวรับผลประโยชน์

 

สรุปแล้ว!!ผลสอบตลาดรอบ "บ้านป้าทุบรถ"ผิดกฎหมายทั้งหมด พบข้าราชการเอี่ยวรับผลประโยชน์

 

สรุปแล้ว!!ผลสอบตลาดรอบ "บ้านป้าทุบรถ"ผิดกฎหมายทั้งหมด พบข้าราชการเอี่ยวรับผลประโยชน์

 

สรุปแล้ว!!ผลสอบตลาดรอบ "บ้านป้าทุบรถ"ผิดกฎหมายทั้งหมด พบข้าราชการเอี่ยวรับผลประโยชน์

 

สรุปแล้ว!!ผลสอบตลาดรอบ "บ้านป้าทุบรถ"ผิดกฎหมายทั้งหมด พบข้าราชการเอี่ยวรับผลประโยชน์

 

สรุปแล้ว!!ผลสอบตลาดรอบ "บ้านป้าทุบรถ"ผิดกฎหมายทั้งหมด พบข้าราชการเอี่ยวรับผลประโยชน์