บัวใต้น้ำ?!"นิพิฎฐ์"ฉะ"ณัฐวุฒิ"แยกไม่ออก"เผด็จการ-ประชาธิปไตย" ไล่กลับไปหาหัวหน้าพรรคให้เจอก่อนค่อยแขวะคนอื่น

บัวใต้น้ำ?!"นิพิฎฐ์"ฉะ"ณัฐวุฒิ"แยกไม่ออก"เผด็จการ-ประชาธิปไตย" ไล่กลับไปหาหัวหน้าพรรคให้เจอก่อนค่อยแขวะคนอื่น

7 มี.ค.61 นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เพซบุ๊ก ส่วนตัวแสดงความเห็นถึงกรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช.พูดถึงพรรคประชาธิปัตย์ ว่าไม่พูดให้ชัดเจนว่าจะไม่ร่วมมือกับคสช.สนับสนุนนายกฯคนนอกอุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์คือร่วมทอดอำนาจเผด็จการหรือไม่...

ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ 
ยังเป็นบัวใต้น้ำ

ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ พูดว่า พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เคยพูดชัดๆว่า จะไม่ร่วมมือกับคสช.สนับสนุนนายกฯคนนอก น่าสนใจว่า อุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์คือร่วมทอดอำนาจเผด็จการหรือไม่

-ความจริงช่วงนี้ ผมจำศีลไม่อยากพูดอะไรให้บรรยากาศมันร้อนขึ้นมานั่งดูบรรยากาศพรรคการเมืองใหม่ๆเขาไปจดทะเบียน พอครึ้มอกครึ้มใจ แต่พอณัฐวุฒิแขวะมาถึงอุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ ผมก็ต้องเลิกจำศีลชั่วคราว มาสนทนาธรรมกับณัฐวุฒิ หน่อย

ณัฐวุฒิ เข้าใจหรือว่า เผด็จการคืออะไร เผด็จการมีทั้งในสภา และ นอกสภานะครับ แน่นอนทหารที่มาจากการยึดอำนาจเป็นเผด็จการ แต่ผู้มาจากการเลือกตั้งก็เป็นเผด็จการได้เหมือนกันนะครับ ฮิตเล่อร์ นั่นปะไร มาจากการเลือกตั้งเหมือนกันแต่เป็นเผด็จการจนนำโลกเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ไม่ยอมรับฟังเสียงข้างน้อย ไม่ยอมรับการตรวจสอบ ใช้เสียงข้างมากเพื่อประโยชน์ของตนเองและครอบครัว จนติดคุกกันเป็นแถว อยู่ในเรือนจำจนกลายเป็นเสียงข้างมากในเรือนจำไปแล้ว นั่นก็เป็นเผด็จการนะครับ เขาเรียกว่าเป็นเผด็จการพลเรือน เผด็จการพลเรือนแบบนั้นอยู่ใต้ขนตาของณัฐวุฒิแท้ๆ ไม่รู้จักเลยหรือครับ อุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ประกาศเมื่อ 6 เมษายน 2489 เราต่อต้านทั้งเผด็จการในสภาและนอกสภา

เราจึงประกาศว่า หลังเลือกตั้งเราสนับสนุนหัวหน้าพรรคของเราเป็นนายกรัฐมนตรี ณัฐวุฒิอย่าห่วงพรรคประชาธิปัตย์เลย ว่าแต่ว่า ณัฐวุฒิหาหัวหน้าพรรคของตัวเองให้เจอก่อนเถอะ ค่อยมาแขวะพรรคอื่น

-จนถึงวันนี้แล้ว ยังแยกไม่ออกว่าอย่างไหนคือเผด็จการ อย่างไหนคือประชาธิปไตย แบบนี้ เปรียบเหมือนบัวใต้น้ำ ได้แต่เป็นอาหารของปลาและเต่าไปวันๆ

บัวใต้น้ำ?!"นิพิฎฐ์"ฉะ"ณัฐวุฒิ"แยกไม่ออก"เผด็จการ-ประชาธิปไตย" ไล่กลับไปหาหัวหน้าพรรคให้เจอก่อนค่อยแขวะคนอื่น

 

 

 

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก "นิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ"