อย่าได้มาเทียบกัน !??! ฟังข้อมูลกันไปเลย "คสช. กับ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 35" ...เทียบไม่ติด "วรเจตน์"ว่าไง ดูเอาไว้ซะก่อนจะพูดอะไร (มีคลิป)

ในรายการทีนิวส์ สด ลึก จริง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561 หลักจากที่นักวิชาการอย่างนายปิยบุตร  แสงกนกกุล ได้ออกมาเปิดตัวว่าจะกระโดดเข้าสู้สนามการเมืองร่วมกับนายนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ในการก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ 
แน่นอนวันนี้ชื่อของ ปิยบุตร ก็กลายเป็นชื่อที่ฮิตติดปากของคนรุ่นใหม่ขึ้นมา จากพื้นฐานของปิยบุตรที่มาจากนักวิชาการ สายนิติราษฎร์ ตอนนี้ด็อกเตอร์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำตัวหลักของนิติราษฎร์ก็ได้ออกมากล่าวชื่นชมปิยะบุตร โดยระบุว่า (มีคลิป)

หากย้อนกลับไป เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมือง ที่มีพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก (พลเอกสุจินดาแถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 40 คน บาดเจ็บ 600 คน)  และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

เหตุการณ์ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมีหัวหน้าคณะคือ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ภายหลังการรัฐประหารได้เลือกนายอานันท์ ปันยารชุนรักษาการและได้ร่างรัฐธรรมนูญ จนมีการเลือกตั้งผลปรากฏว่านายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมได้คะแนนมากที่สุด แต่สุดท้ายไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เนื่องจากถูกรัฐบาลสหรัฐขึ้นบัญชีดำจากความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด ทำให้ พล.อ.สุจินดา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน 

แต่หากย้อนกลับไป คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.รัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ตั้งแต่เวลา 16:30 น. หลังเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร พร้อมทั้งจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ได้สองวัน และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ อย่างไรก็ตามโครงสร้างของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จนถึง ปัจจุบัน

เนื้อหาเหตุผลที่ คสช. ยึดอำนาจว่า  มีความขัดแย้งทางความคิดการเมืองอย่างรุนแรง หยั่งลึกจากระดับประเทศไปถึงระดับครอบครัวคนไทย  ,การใช้อำนาจการปกครองที่กระทำอยู่เดิม ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ความแตกแยก และการกระทำผิดของกลุ่มต่าง ๆ ได้อีกต่อไป , แนวทางการเลือกตั้งในรูปแบบเดิมมีการต่อต้านอย่างกว้างขวาง ถ้าเลือกตั้งต่อไปในสถานการณ์เช่นนี้ อาจเกิดปัญหาความวุ่นวายไม่จบสิ้น ,  การชุมนุมทางการเมืองที่มีต่อเนื่องมาถึง 6 เดือน ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางความคิด และการแก่งแย่งผลประโยชน์ทางการเมือง ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา (วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 และ พ.ศ. 2556–2557) ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนทุกหมู่เหล่า ทำให้ประชาชนแตกความสามัคคี จนไม่อาจปรองดองกันได้ , ปัญหาทุจริต มีคดีความจำนวนมากอยู่ในชั้นศาล และยังรอกระบวนการยุติธรรมตัดสิน ,  การบังคับใช้กฎหมายปกติต่อปัญหาข้างต้น บังคับใช้ไม่ได้ทุกกลุ่ม ทำให้เกิดความหวาดระแวง เกลียดชังกันในหมู่ประชาชนเป็นวงกว้าง ความเคลื่อนไหวของทุกฝ่าย โดยเฉพาะแกนนำที่มีความผิด ตามกระบวนการยุติธรรม นำไปสู่การยุยงปลุกปั่นแนวร่วมของฝ่ายตน ให้พร้อมที่จะกระทำการใด ๆ ต่อฝ่ายตรงข้ามด้วยความรุนแรง,  การบริหารราชการแผ่นดินในห้วงที่ผ่านมาไม่สามารถกระทำได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชาติ และก่อปัญหาความเดือดร้อนต่อประชาชนทุกระดับจนถึงรากหญ้า, มีการล่วงละเมิดสถาบันกษัตริย์ตามมาตรา 112 ทั้งทางลับและเปิดเผย สร้างความไม่พอใจและเกลียดชังของประชาชนโดยรวม ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ ,การปลุกระดมมวลชนที่มุ่งเอาชนะฝ่ายตรงข้ามโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ทวีความรุนแรงและเป็นไปอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ,ปรากฏชัดว่ามีการจัดตั้งและใช้กองกำลังติดอาวุธรวมถึงการตระเวนอาวุธสงครามจำนวนมาก เพื่อปฏิบัติการอย่างรุนแรงต่อฝ่ายตรงข้ามของตน โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งกองทัพจะยอมให้เกิดขึ้นในประเทศชาติไม่ได้โดยเด็ดขาด