วิกฤติ 7 เขื่อนยักษ์ใหญ่ระดับน้ำเกินควบคุม!

ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติออกประกาศ สรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำประเทศไทย วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2561 เผย 7 เขื่อนใหญ่ที่มีระดับน้ำเกินควบคุม

ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติออกประกาศ สรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำประเทศไทย วันพฤหัสบดีที่ 20กันยายน2561 (07.00 น.)

 

วิกฤติ 7 เขื่อนยักษ์ใหญ่ระดับน้ำเกินควบคุม!

 

สถานการณ์ฝน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (06.00 น.)  มีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคเหนือ (อุตรดิตถ์ 83.5 มม. แม่ฮ่องสอน 78.5 มม. เชียงใหม่ 69.5 มม. แพร่ 65.5 มมม. สุโขทัย 63.0 มม. ตาก 59.0 มม. ลำปาง 53.8 มม. พะเยา 43.0 มม. ลำพูน 39.2 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุดรธานี 80.6 มม. ร้อยเอ็ด 51.4 มม. หนองคาย 39.8 มม. สุรินทร์ 39.4 มม.)ภาคกลาง (กำแพงเพชร 72.2 มม. กรุงเทพมหานคร59.0 มม. นครสวรรค์ 53.0 มม.) ส่วนภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

อ่างฯขนาดใหญ่ที่มีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม (Upper Rule Curve) และปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มี 7 แห่ง ดังนี้


1. เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ(06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 530ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 533) คิดเป็น 102% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ2.59ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน3.39) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ5.18ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 5.62) สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งบริเวณบ้านนาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม การบริหารจัดการน้ำ ปรับแผนการระบายน้ำตามสภาพน้ำท่าที่ไหลเข้าอ่างฯ โดยให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ท้ายน้ำน้อยที่สุดและต้องติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่

2. เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ(06.00 น./ชป.)ปริมาณน้ำ690ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน692)คิดเป็น 97% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ6.92ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 7.11)มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ8.75 ล้าน ลบ.ม.(เมื่อวาน 8.75)
สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง การบริหารจัดการน้ำปรับแผนการระบายน้ำตามสภาพน้ำท่าที่ไหลเข้าอ่างฯ โดยให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ท้ายน้ำน้อยที่สุด และต้องติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่

3. เขื่อนนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ275 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 276)คิดเป็น 93% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 6.15ล้าน ลบ.ม.(เมื่อวาน6.90) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 6.55ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน6.24) การบริหารจัดการน้ำ เร่งพร่องน้ำตามการคาดการณ์ฝนที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่เพื่อปรับแผนการระบายน้ำ แจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนทราบถึงแผนการระบายน้ำ

4. เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ(24.00 น./19 ก.ย. 61/กฟผ.) มีปริมาณน้ำ 8,206 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 8,228) คิดเป็น 93% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 30.88ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 22.36) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 52.31ล้าน ลบ.ม.(เมื่อวาน 55.05) สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง การบริหารจัดการน้ำ แผนการระบายน้ำไม่ให้เกินความจุของลำน้ำแควน้อย โดยให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ท้ายน้ำน้อยที่สุด การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ แจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตามลำน้ำแควน้อยให้ทราบถึงแผนการระบายน้ำ

 

วิกฤติ 7 เขื่อนยักษ์ใหญ่ระดับน้ำเกินควบคุม!

 

5. เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ199 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 195) คิดเป็น 89% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ5.18ล้าน ลบ.ม.(เมื่อวาน 3.09) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 1.34 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 1.71) น้ำไหลผ่านทางระบายน้ำล้นสูง 2.04 ม. (เมื่อวาน1.23) การบริหารจัดการน้ำ ปรับแผนการระบายน้ำตามสถาพน้ำท่าที่ไหลเข้าอ่างฯ โดยให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ท้ายน้ำน้อยที่สุด และต้องติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่
 
6. เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ(06.00น./ชป.) มีปริมาณน้ำ 260 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 258) คิดเป็น 83% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 1.61ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 1.64) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 0.17 ล้าน ลบ.ม.(เท่าเดิม) สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง การบริหารจัดการน้ำ ปรับแผนการระบายน้ำตามสถาพน้ำท่าที่ไหลเข้าอ่างฯ และต้องติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่

7. เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงทรา สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ340 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 328) คิดเป็น 81% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ12.11ล้าน ลบ.ม.(เมื่อวาน 3.11) ไม่มีปริมาณน้ำไหลออก การบริหารจัดการน้ำ ปรับแผนการระบายน้ำตามสถาพน้ำท่าที่ไหลเข้าอ่างฯ โดยให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ท้ายน้ำน้อยที่สุด และต้องติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่

จากการคาดการณ์ฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาและ สสนก. ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีปริมาณฝนลดลง ให้วางแผนปรับลดการระบายน้ำในอ่างฯ ทุกขนาด ตามการคาดการณ์ ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 60% ของความจุ ต้องวางแผนเก็บกักน้ำและเติมน้ำโดยประสานกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตรภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ให้ติดตามการพยากรณ์อากาศเพื่อวางแผนการระบายน้ำในแม่น้ำสายหลัก ส่วนภาคตะวันตก ใน 3เขื่อนขนาดใหญ่  (ศรีนครินทร์วชิราลงกรณ และแก่งกระจาน) ยังคงต้องเร่งพร่องน้ำ ตามการคาดการณ์ฝนที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำน้อยที่สุด

 

วิกฤติ 7 เขื่อนยักษ์ใหญ่ระดับน้ำเกินควบคุม!

 

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำ/ลำน้ำที่สำคัญ

ภาคเหนือ มีระดับน้ำปานกลางถึงน้ำมากมีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งในลุ่มน้ำยม อ.หนองม่วง จ.แพร่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีระดับน้ำปานกลางถึงน้ำมากมีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งในแม่น้ำสงครามจ.สกลนคร แนวโน้มทรงตัวห้วยหลวง จ.อุดรธานี แนวโน้มทรงตัว ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีระดับน้ำน้อยถึงปานกลาง ไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง
ภาคตะวันตก มีระดับปานกลางถึงน้ำมากไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง
ภาคตะวันออก มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งในแม่น้ำนครนายก บริเวณ อ.องครักษ์ จ.นครนายก แนวโน้มทรงตัวแม่น้ำบางปะกง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา แนวโน้มลดลงและคลองพระปรง อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ให้เฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำภาคตะวันออกเนื่องจากยังมีฝนตกต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำนครนายก
ภาคกลาง มีระดับปานกลางถึงน้ำมากมีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำในแม่น้ำป่าสัก บริเวณ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรีแนวโน้มลดลง
ภาคใต้ มีระดับปานกลางถึงน้ำมากมีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งในคลองละงู บริเวณ ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล แนวโน้มลดลง และคลองอิปัน ต.ไทรขึง อ.พระแสง จ.สุราษฏร์ธานีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งนี้ให้เฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำภาคใต้เนื่องจากยังมีฝนตกต่อเนื่อง

การเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำ

อ่างฯ ขนาดใหญ่+ กลาง : ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มี 55,254ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 78ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มี 3,413ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 66 รับน้ำได้อีก 17,416 ล้าน ลบ. ม.

อ่างฯที่ความจุเกิน 100% ขนาดใหญ่ 1 แห่ง เขื่อนน้ำอูน (102% เท่าเดิม) ขนาดกลาง 33 แห่ง (เพิ่มขึ้น7 แห่ง) ซึ่งอยู่ใน ภาคเหนือ 2 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 21 แห่ง (เพิ่มขึ้น 5 แห่ง)ภาคตะวันออก 9 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง) ภาคกลาง (ลดลง 1 แห่ง)และภาคใต้ (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง)

อ่างเฝ้าระวัง (80-100%)ขนาดใหญ่ 11 แห่ง เขื่อนแก่งกระจาน(97%เท่าเดิม) เขื่อนวชิราลงกรณ (93% เท่าเดิม)เขื่อนนฤบดินทรจินดา (93% เมื่อวาน 94%)เขื่อนศรีนครินทร์ (92% เท่าเดิม)เขื่อนขุนด่านปราการชล (89%เมื่อวาน87% )เขื่อนรัชชประภา (85% เมื่อวาน 84%)เขื่อนกิ่วคอหมา (85% เมื่อวาน 84%) เขื่อนสิริกิติ์ (83% เมื่อวาน 82%) เขื่อนลำตะคอง (83% เมื่อวาน 82%) เขื่อนประแสร์ (82% เท่าเดิม)เขื่อนคลองสียัด (81% เมื่อวาน 78%)ขนาดกลาง 81แห่ง(เท่าเดิม)แยกเป็น ภาคเหนือ10 แห่ง (เท่าเดิม) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 49 แห่ง (ลดลง 1 แห่ง) ภาคตะวันออก11 แห่ง (ลดลง 1 แห่ง) ภาคกลาง 6 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง) ภาคตะวันตก 1 แห่ง (เท่าเดิม) และภาคใต้ 4 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง)

อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้อยกว่า 60% ในบริเวณภาคเหนือตอนบน ขนาดใหญ่ 2 แห่ง (ลดลง 1 แห่ง) เขื่อนกิ่วลม (50% เมื่อวาน 47%) เขื่อนแม่กวงอุดมธารา (41% เท่าเดิม) ขนาดกลาง 18 แห่ง (เท่าเดิม)ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขนาดใหญ่ 1 แห่ง เขื่อนห้วยหลวง (46% เมื่อวาน 45%) ขนาดกลาง 10 แห่ง (เท่าเดิม) 

อ่างเฝ้าติดตาม (น้อยกว่า 30%) ขนาดใหญ่ 2 แห่งเขื่อนแม่มอก (26% เท่าเดิม)เขื่อนทับเสลา (26% เท่าเดิม)ขนาดกลาง 35 แห่ง(เท่าเดิม) ภาคเหนือ 4 แห่ง (เท่าเดิม)  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22 แห่ง (เท่าเดิม)  ภาคตะวันออก 3 แห่ง (เท่าเดิม)ภาคกลาง 1 แห่ง (เท่าเดิม)  ภาคใต้ 5 แห่ง (เท่าเดิม)

พื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วม: แม่น้ำยม จ.แพร่ แม่น้ำน่าน จ.น่าน ลำน้ำสงคราม ลำน้ำอูนแม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรีแม่น้ำนครนายก จ.นครนายกและแม่น้ำบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 

สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ปราจีนบุรี-บางปะกง: ให้เร่งระบายน้ำในระบบชลประทานในแม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำนครนายก ตามการคาดการณ์ปริมาณฝนที่จะตกต่อเนื่องในพื้นที่ ทั้งนี้พื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกต้องปรับแผนการระบายน้ำเพื่อแบ่งรับน้ำจากแม่น้ำในและแม่น้ำนครนายก โดยให้กระทบต่อพื้นที่น้อยที่สุดรวมไปถึงการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่งรับน้ำ

ประกาศศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ รวม 9 ฉบับ ล่าสุด ฉบับที่ 9/2561 (1 ก.ย. 61) เรื่องสถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง

 

ด้านพยากรณ์อากาศช่วง7วันข้างหน้าตั้งแต่วันที่ 20-26 ก.ย. 2561 กรมอุตุนิยมวิทยาระบุ ในช่วงวันที่ 21-26 ก.ย. 61 ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตรข้อควรระวัง   ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่มไว้ด้วย ตลอดช่วง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา      ในช่วงวันที่ 21-26 ก.ย. 61 ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านบริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังอ่อนลง ส่งผลทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่งในบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้

ภาคเหนือ    มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง    มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก    มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 21-26 ก.ย. 61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)    มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 21-26 ก.ย. 61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)    มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 21-26 ก.ย. 61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-33 องศาเซลเซียส

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล    มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

 

ขอบคุณ ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ และ กรมอุตุนิยมวิทยา