ประชาชนจะพึ่งใครได้? "ทนายรณรงค์" เปิดข้อกฏหมาย โทษหนักที่รพ.ต้องผิดชอบ กรณีสาวถูกสาดน้ำกรดเสียชีวิต

ประชาชนจะพึ่งใครได้? "ทนายรณรงค์" เปิดข้อกฏหมาย โทษหนักที่รพ.ต้องผิดชอบ กรณีสาวถูกสาดน้ำกรดเสียชีวิต

จากเหตุการณ์ ที่น.ส.ช่อลัดดา ซึ่งเชื่อว่าถูกนายคำตัน สามีเอาน้ำกรดสาดที่ใบหน้าเพราะความหึงหวง แล้วได้หลบหนีไป นส.ช่อลัดดา ต้องกัดฟันทนพิษบาดแผลประคองตัวเองให้น้องเต ลูกสาว วัยเพียง 12 ปี พามา ร.พ.บางมด แต่แท็กซี่เห็นว่าอาการหนักจึงปรารถนาดีนำส่ง ร.พ.พระราม 2 ที่ใกล้ที่สุดแต่กลับถูก ร.พ.พระราม 2 ปฏิเสธการรักษา โดยผลักไสผู้ป่วยให้ขึ้นแท็กซี่ไปรักษาตัวที่ ร.พ.อื่นทั้งๆที่ผู้ป่วยยังไม่ได้อยู่ในอาการที่ปลอดภัย พ้นขีดอันตราย และผลสุดท้ายคือ น.ส.ช่อลัดดาทนพิษบาดแผลไม่ไหว เสียชีวิตในระหว่างทาง

โดยในเวลาต่อมานั้น ฝั่งตัวแทนของโรงพยาบาลพระรามสอง นั้น ก็ได้มีการออกมาเผยสาเหตุว่าทำไมถึงไม่รักษาสาวที่ถูกสาดน้ำกรด โดยทางโรงพยาบาลนั้นยืนยันว่าสาวคนดังกล่าวนั้น ไม่ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลของตนแต่ไปเสียชีวิตที่อีกโรงพยาบาลหนึ่ง 

 

โดยแพทย์ระบุว่า น.ส.ช่อลัดดา บอกกับแพทย์ว่าถูกน้ำร้อนราดขณะนอนหลับ แพทย์ประเมินแล้วบาดแผลไม่รุนแรง แต่อยากให้นอนดูอาการ แต่เมื่อตรวจสอบสิทธิประกันสังคมพบว่าอยู่ที่โรงพยาบาลบางมด ผู้ป่วยจึงแจ้งประสงค์อยากไปใช้สิทธิที่โรงพยาบาลบางมด โดยขณะนั้นผู้ป่วยเดิน พูดคุยได้ปกติ ไม่ได้มีอาการทรุดแต่อย่างใด ทั้งนี้ขอแสดงความเสียใจ โดยทางโรงพยาบาลก็ไม่มีเหตุุผลที่จะปฏิเสธการรักษาคนไข้ จึงอยากขอความเป็นธรรม

 

ประชาชนจะพึ่งใครได้? "ทนายรณรงค์" เปิดข้อกฏหมาย โทษหนักที่รพ.ต้องผิดชอบ กรณีสาวถูกสาดน้ำกรดเสียชีวิต

ประชาชนจะพึ่งใครได้? "ทนายรณรงค์" เปิดข้อกฏหมาย โทษหนักที่รพ.ต้องผิดชอบ กรณีสาวถูกสาดน้ำกรดเสียชีวิต


สืบเนื่องจากกรณีดังกล่าวนั้น ทนายชื่อดังอย่าง ทนายรณรงค์ แก้วเพ็ชร ได้ออกมาโพสต์ข้อความโทษที่โรงพยาบาลต้องรับผิดชอบโดยระบุว่า  จากกรณีสาวโดนสาดน้ำกรดแล้วไปโรงพยาบาล แต่กลับถูกปฏิเสธการรักษาจากโรงพยาบาล จนทำให้สาวรายนั้นทนบาลแผลไม่ไหวเสียชีวิตในทันที

ซึ่งตาม พรบ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 36 แล้วสถานพยาบาลจะต้องให้กาช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย 
ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจําเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้น ๆ

และถ้าฝ่าฝืนต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตามมาตรา 66

ดังนั้นสถานพยาบาลอาจจะต้องรับผิดในเหตุละเมิด ในเรื่องค่าเสียหายด้วยตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11332/2555

จำเลยเป็นผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล บุตรของโจทก์ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่นั่งซ้อนท้ายชนแผงเหล็กกั้นทางโค้งปากทางเข้าหมู่บ้านเมืองเอก และผู้ขับขี่ถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ บุตรของโจทก์มีอาการเจ็บปวด มีภาวะการบอบช้ำของสมองและโลหิตออกในสมอง จะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แม้ไม่ปรากฏบาดแผลร้ายแรงที่มองเห็นจากภายนอก แต่พยาบาลเวรซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยกลับให้ผู้ช่วยพยาบาลตรวจค้นหลักฐานในตัวบุตรของโจทก์ว่ามีบัตรประกันสังคม บัตรประกันสุขภาพ 30 บาท หรือบัตรประกันชีวิตหรือไม่ เมื่อไม่พบหลักฐานใด จึงสอบถามเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิที่เป็นผู้นำส่งว่าใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เมื่อไม่มีคำตอบ จึงปฏิเสธที่จะรับบุตรของโจทก์ไว้รักษา โดยแนะนำให้ไปรักษายังโรงพยาบาลของรัฐ การที่พยาบาลเวรลูกจ้างของจำเลยปฏิเสธไม่รับบุตรของโจทก์เข้ารับการรักษาดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงที่ทำให้บุตรของโจทก์ถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล มีหน้าที่ต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 36 แต่กลับไม่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของลูกจ้างดังกล่าว จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์

ถ้าประชาชนเกิดการเจ็บป่วยและสถานพยาบาลไม่รับการรักษา อย่างนี้ประชาชนจะพึ่งใครได้

ขอบคุณข้อมูลจาก ทนายคู่ใจ