รถฉุกเฉินเเท้ๆ "รถดับเพลิง" ออกปฏิบัติหน้าที่ โดนใบสั่งใช้ความเร็วเกินกำหนด!!

เเบบนี้ก็มีด้วย รถดับเพลิง เร่งรีบไปปฏิบัติหน้าที่ กับโดนใบสั่งความเร็วเกินกำหนด

  มีให้เห็นอีกเเล้ว สำหรับ รถฉุกเฉิน ที่ได้รับการยกเว้นเรื่องอัตราความเร็ว กลับโดนใบสั่งเรื่องความเร็ว  ต้องเสียค่าปรับ 500บาท ทั้งๆที่กฏหมาย เเละ พรบ.จราจรทางบกก็ระบุไว้เเล้วว่า ให้ยกเว้นกรณีของ รถฉุกเฉิน  โดยกรณีที่จะกล่างถึงนี้ คือรถดับเพลิง ที่ต้องเร่งรีบไปปฏิบัติหน้าที่ หากไปไม่ทันเวลา ก็อาจจะเกิดความสูญเสียต่างๆตามมา ซึ่งก็ไม่ควรต้องได้รับใบสั่งเรื่องความเร็วเกินกำหนด

 

รถฉุกเฉินเเท้ๆ "รถดับเพลิง" ออกปฏิบัติหน้าที่ โดนใบสั่งใช้ความเร็วเกินกำหนด!!


    โดยเรื่องราวใบสั่งดังกล่าว  เผยผ่านทางผู้ใช้เฟซบุ๊ค ...เชษฐดา เตือนจิตร... ดังนี้!!
.
 รถดับเพลิงออกปฎิบัติหน้าที่ ใช้ความเร็วไม่ได้เหรอครับดาบ ตายล่ะทำไงล่ะทีนี้ ใช้อะไรคิดครับไร้วิจารณญาณ ไร้จริยธรรม ไร้คุณธรรมสิ้นดี

.

รถฉุกเฉินเเท้ๆ "รถดับเพลิง" ออกปฏิบัติหน้าที่ โดนใบสั่งใช้ความเร็วเกินกำหนด!!

.

รถฉุกเฉินเเท้ๆ "รถดับเพลิง" ออกปฏิบัติหน้าที่ โดนใบสั่งใช้ความเร็วเกินกำหนด!!

 


     ทั้งนี้ ขั้นตอนกระบวนการ การออกใบสั่ง เข้าใจว่า ใบสั่งออกมาจากการประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจไม่สามารถแยกรถได้ แต่เจ้าพนักงานฯก่อนออกไปสั่งส่งมาให้ น่าจะต้องมีกระบวนการตรวจสอบก่อน  โดย  พรบ.จราจรทางบก มาตรา ๗๕ (๓) นั้น  รถฉุกเฉินมีสิทธิ์ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้ได้  ซึ่ง"รถฉุกเฉิน" ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔ (๑๙) ให้นิยามคำว่า "รถฉุกเฉิน" หมายความว่า รถดับเพลิง และรถพยาบาลของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี(หรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ)ให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกำหนดให้ ในเมื่อได้กระทำการขณะปฎิบัติหน้าที่ จึงไม่มีความผิด

 

 

รถฉุกเฉินเเท้ๆ "รถดับเพลิง" ออกปฏิบัติหน้าที่ โดนใบสั่งใช้ความเร็วเกินกำหนด!!

 

      ทั้งนี้ รถดับเพลิง ถือเป็นรถฉุกเฉิน ตามพระราชบัญญัติจราจร พ.ศ.๒๕๒๒  อยู่ระหว่างปฎิบัติหน้าที่ ใช้ความเร็ว 85 กม./ชม. (กฎหมายกำหนดให้รถบรรทุกใช้ความเร็ว60กม./ชม.)

ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒

"มาตรา ๔ (๑๙) ให้นิยามคำว่า "รถฉุกเฉิน" หมายความว่า รถดับเพลิง และรถพยาบาลของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี(หรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ)ให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกำหนดให้"

รถฉุกเฉินจะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือก่อน

"มาตรา ๑๓ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถทุกชนิดในทางเดินรถใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีดเสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียง เสียงดังเกินสมควร หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

รถฉุกเฉินเเท้ๆ "รถดับเพลิง" ออกปฏิบัติหน้าที่ โดนใบสั่งใช้ความเร็วเกินกำหนด!!

 

 

 


อธิบดีมีอำนาจอนุญาตให้รถฉุกเฉิน รถในราชการทหารหรือตำรวจหรือรถอื่นใช้ไฟสัญญาณวับวาบหรือใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นได้ ในการนี้อธิบดีจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณหรือเสียงสัญญาณรวมทั้งกำหนดเครื่องหมายที่แสดงถึงลักษณะของรถดังกล่าวด้วยก็ได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

 

รถฉุกเฉินเเท้ๆ "รถดับเพลิง" ออกปฏิบัติหน้าที่ โดนใบสั่งใช้ความเร็วเกินกำหนด!!


ข้อกำหนดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น และเครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉิน ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดไว้ดังนี้
“ข้อ ๔ รถที่จะใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติหรือผู้ได้รับมอบอํานาจเสียก่อน จึงจะติดตั้งและใช้ไฟสัญญาณหรือเสียงสัญญาณได้”

สิทธิพิเศษของรถฉุกเฉิน

"มาตรา ๗๕ ในขณะที่ผู้ขับขี่รถฉุกเฉินไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้ขับขี่มีสิทธิดังนี้
(๑) ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้
(๒) หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอดรถ
(๓) ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้
(๔) ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใด ๆ ที่ให้รถหยุดแต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควร
(๕) ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัติ หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถ ทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวที่กำหนดไว้
ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี"

 

ขอบคุณ

เชษฐดา เตือนจิตร