17-18 พ.ย.นี้ สดร. ชวนชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ “ราชาแห่งฝนดาวตก”

17-18 พ.ย.นี้ สดร. ชวนชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ “ราชาแห่งฝนดาวตก”

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชวนชม “ฝนดาวตกลีโอนิดส์ราชาแห่งฝนดาวตก” หลังเที่ยงคืนวันที่ 17 พ.ย. 61 เวลาประมาณตี 2 เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 18 พ.ย. 61 อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ย 10-15 ดวงต่อชั่วโมง ช่วงดังกล่าวปราศจากแสงจันทร์รบกวน เหมาะจะสังเกตการณ์อย่างยิ่ง ดูได้ด้วยตาเปล่าทั่วไทย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณกลุ่มดาวสิงโต แนะชมในที่มืดสนิทจะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น
 

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า “ฝนดาวตกลีโอนิดส์” หรือ “ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต” เป็นฝนดาวตกที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

 

17-18 พ.ย.นี้ สดร. ชวนชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ “ราชาแห่งฝนดาวตก”

 

แต่จะมีอัตราการตกมากที่สุดวันที่ 17 - 18 พฤศจิกายน สำหรับปีนี้จะสังเกตได้ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนวันที่ 17 พฤศจิกายน 2561 ไปจนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 18 พฤศจิกายน 2561 ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณใกล้กลุ่มดาวสิงโต ในคืนดังกล่าวแม้เป็นคืนข้างขึ้น แต่ดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 01.30 น.

 

17-18 พ.ย.นี้ สดร. ชวนชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ “ราชาแห่งฝนดาวตก”

 

17-18 พ.ย.นี้ สดร. ชวนชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ “ราชาแห่งฝนดาวตก”

 

ดังนั้น ช่วงเวลาเหมาะสมที่สุดคือเวลาประมาณ 02.00 น. เป็นต้นไป แม้จะมีโอกาสให้เห็นในปริมาณไม่มาก อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ย 10-15 ดวงต่อชั่วโมง ฝนดาวตกลีโอนิดส์ถือเป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด เนื่องจากมีการเคลื่อนที่ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศในอัตราเร็วถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที ผู้สนใจสามารถรอชมความสวยงามของปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ได้ในคืนดังกล่าว
 

นายศุภฤกษ์กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานที่ชมฝนดาวตกควรเป็นสถานที่ที่มืดไม่มีแสงไฟรบกวนหรือห่างจากเมือง แนะนำให้นอนรอชม เนื่องจากฝนดาวตกกระจายทั่วท้องฟ้า สำหรับการบันทึกภาพฝนดาวตกนั้น ไม่สามารถระบุทิศทางได้ ต้องอาศัยการคาดเดาและเปิดหน้ากล้องค้างไว้ให้ดาวตกวิ่งผ่านหน้ากล้อง ผู้สนใจสามารถเตรียมตัวและอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับช่วงเวลาดังกล่าว

 

17-18 พ.ย.นี้ สดร. ชวนชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ “ราชาแห่งฝนดาวตก”

 

#ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เกิดจากสายธารเศษฝุ่นของดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล (55P Tempel-Tuttle) ที่ยังหลงเหลืออยู่ในวงโคจรของดาวหางตัดผ่านวงโคจรของโลก ทำให้เศษฝุ่นของดาวหางเหล่านั้นเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการเผาไหม้จนเห็นเป็นแสงสว่างวาบคล้ายลูกไฟวิ่งพาดผ่านท้องฟ้า ทิศทางวงโคจรของฝนดาวตกลีโอนิดส์สวนทางกับทิศทางวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ความเร็วของเม็ดฝุ่นที่เข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศโลกมีความเร็วค่อนข้างมาก โดยมีความเร็วสูงถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด จึงได้รับการขนานนามว่า “ราชาแห่งฝนดาวตก” 

#LeonidsMeteorShower2018

 

17-18 พ.ย.นี้ สดร. ชวนชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ “ราชาแห่งฝนดาวตก”