รฟฟ.สายสีม่วง-น้ำเงิน เก็บค่าโดยสารสูงสุด 70 บาท ไม่ใช่เก็บ 70 บาทตลอดสาย

รฟฟ.สายสีม่วง-น้ำเงิน เก็บค่าโดยสารสูงสุด 70 บาท ไม่ใช่เก็บ 70 บาทตลอดสาย

หลังจากมีข่าวที่บนโลกออนไลน์ว่า ครม.มีมติเห็นชอบ เคาะอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงไปยังรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจากสถานีบางใหญ่ถึงสถานีบางแค (เตรียมเปิดให้บริการในอนาคต) ว่ามีค่าโดยสาร 70 บาทตลอดสาย ทำให้อาจเกิดความเข้าใจที่ไม่ว่าจะลงสถานีใดก็ต้องเสีย 70 บาท นั้น
 

รฟฟ.สายสีม่วง-น้ำเงิน เก็บค่าโดยสารสูงสุด 70 บาท ไม่ใช่เก็บ 70 บาทตลอดสาย

 

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม วิธีการจัดเก็บค่าโดยสารร่วม และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารร่วม ระหว่างรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 

รฟฟ.สายสีม่วง-น้ำเงิน เก็บค่าโดยสารสูงสุด 70 บาท ไม่ใช่เก็บ 70 บาทตลอดสาย

 

สำหรับร่างข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าตั้งแต่สถานีต้นทางของรถไฟฟ้าสายสีม่วง คือสถานีบางใหญ่ ไปยังสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือสถานีบางแค อยู่ที่ 70 บาท จากปัจจุบันที่มีการยกเว้นค่าแรกเข้า 14 บาท เมื่อมีการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย และมีการปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน 3 สถานี สถานีละ 1 บาท

 

รฟฟ.สายสีม่วง-น้ำเงิน เก็บค่าโดยสารสูงสุด 70 บาท ไม่ใช่เก็บ 70 บาทตลอดสาย

 

เมื่อทีมข่าวไปตรวจสอบข้อมูลพบว่า ราคา 70 บาท เป็นราคาเพดานสูงสุดที่จะต้องจ่าย ซึ่งจะเก็บค่าโดยสารไม่เกินจากนี้ แม้ว่าจะนั่งจากรถไฟฟ้าสายหนึ่งไปเชื่อมต่ออีกสายหนึ่งโดยไม่มีการออกจากระบบก็ตาม ไม่ได้เป็นการเก็บ 70 บาทตลอดสายแต่อย่างใด

 

รฟฟ.สายสีม่วง-น้ำเงิน เก็บค่าโดยสารสูงสุด 70 บาท ไม่ใช่เก็บ 70 บาทตลอดสาย