ชัดเจนไม่อ้อมค้อม! "บิ๊กตู่" บอกปชม.เหมือน "ครูถามนร." ชอบสิ่งนั้นสิ่งนี้หรือไม่...ชอบก็บอกชอบ-ไม่ชอบก็บอกไม่ชอบ...ง่ายนิดเดียว

ติดตามข่าวสารที่ www.Tnew.co.th

 

ชัดเจนไม่อ้อมค้อม!!! "บิ๊กตู่" พูดในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" โดยช่วงหนึ่งอธิบายการไปลงประชามติที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์นี้ โดยเปรียบเทียบให้เห็นว่า ก็เหมือนกับครูถามนักเรียนว่า ชอบสิ่งนั้นสิ่งนี้หรือไม่...ถ้าชอบก็บอกชอบ-ไม่ชอบก็บอกไม่ชอบ เพียงแต่นี่อาจต่างไปหน่อยตรงที่ หลังจากนั้นจะนำไปสู่การมีกติกาหลักของบ้านเมืองว่า ใครทำอะไรได้แค่ไหน-เพียงใด

 

วันนี้ (6 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานช่วงเวลา 20.15 น.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถึงสถานการณ์บ้านเมืองไทยในปัจจุบัน โดยช่วงหนึ่งอธิบายการไปลงประชามติที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์นี้ โดยเปรียบเทียบให้เห็นว่า ก็เหมือนกับครูถามนักเรียนว่า ชอบสิ่งนั้นสิ่งนี้หรือไม่...ถ้าชอบก็บอกชอบ-ไม่ชอบก็บอกไม่ชอบ เพียงแต่นี่อาจต่างไปหน่อยตรงที่ หลังจากนั้นจะนำไปสู่การมีกติกาหลักของบ้านเมืองว่า ใครทำอะไรได้แค่ไหน-เพียงใด

 


โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้อรรถาธิบายไว้ว่า วันออกเสียงประชามติเราควรจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำขึ้น ด้วยความยากลำบาก สำหรับพี่น้องบางคนที่คุ้นเคยกับการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. อบต. อบจ. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านอาจจะมีบ้างที่อาจจะไม่เข้าใจว่าการลงประชามติคืออะไร ทำไมจึงต้องลงประชามติ

 

การลงประชามตินั้น อธิบายง่ายๆ ว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยที่ทุกคนต้องการ ก็ไม่ต่างจากการเลือกตั้งผู้แทน เพียงแต่เปลี่ยนคำถามว่าชอบเบอร์อะไร พรรคอะไร มาเป็นคำถามว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับกฎเกณฑ์กติกาการปกครองที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญ กรอบใหญ่ กว้าง ๆ คล้ายกับที่ครูเคยถามนักเรียนว่า เอาไม่เอา ชอบไม่ชอบ ใครชอบยกมือ

 

การมีรัฐธรรมนูญมีความสำคัญอย่างยิ่ง คือเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่การเลือกตั้ง การจัดตั้งรัฐบาล และการมีกฎเกณฑ์ของบ้านเมืองว่าใครทำอะไรได้แค่ไหน เพียงใด ถ้าไม่มีรัฐธรรมนูญ ก็ยังไม่อาจจัดการเลือกตั้งได้ หรือร่างใหม่จะออกผลเป็นยังไงก็ไม่ทราบทั้งหมด  เพราะฉะนั้นการเริ่มงานอื่น ๆ ก็ไม่สามารถกระทำได้ ถ้าไม่มีรัฐธรรมนูญ

 

คสช.และรัฐบาลก็ได้ประกาศตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อนแล้วว่า เราจำเป็นต้องเข้ามานั้นเพราะว่าบ้านเมืองมีปัญหา ที่ผ่านมาไม่มีใครยอมรับใคร เปิดเจรจากี่เวทีก็ไม่ได้ผล แก้ทางนี้ก็ไปติดทางโน้น ทั้งปัญหากฎหมายบ้านเมือง ปัญหาการเมือง ผลประโยชน์ส่วนตัว ทัศนคติ รวมแล้วสารพัดปัญหา

 

 

 

 

 

ตั้งแต่ในบ้าน ในที่ทำงาน พ่อแม่พี่น้องเพื่อนร่วมงานพูดจาหารือกันไม่ได้เลยเข้าหน้ากันไม่ติดเพราะชอบคนละอย่าง ชอบคนละสี คิดคนละอย่าง เห็นต่างได้นะครับแต่มันต้องมีความร่วมมือเกิดขึ้นให้ได้ บนท้องถนนก็มีปัญหา ต่างจังหวัด ถึงในสภา มีการยุบสภาแล้วก็เลือกตั้งไม่ได้ ชาวไร่ชาวนาเดือดร้อน หนี้สินล้นพ้นตัว ข้าวราคาตก ยางราคาตก จ่ายเงินค่าจำนำข้าวไม่ได้

 

อะไรเหล่านี้ล้วนมีปัญหาทั้งสิ้น  นักลงทุนต่างชาติเขาก็เตรียมจะย้ายหนี เพราะไม่เชื่อมั่นว่ามันจะปลอดภัย ไม่นึกว่าพ้นจากปัญหาน้ำท่วมแล้วจะมาเจอปัญหาความแตกแยกในสังคมไทยที่น่าอยู่แบบเดิม ๆ ไป  จนทำมาหากินไม่ได้  แล้วก็มีหลายอย่างที่เป็นการทุจริต เราจะต้องนำสิ่งเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการแก้ไขให้ได้ทั้งหมด เราไม่อาจใช้อำนาจอื่นๆ ได้นอกจากกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น  ให้มีโอกาสต่อสู้คดีกันด้วยหลักฐานที่ถูกต้อง

 

คสช.และรัฐบาลก็ได้แถลงว่าการที่เราขอเวลาเข้ามาแก้ปัญหาเดิม ๆ นั้นก็เพื่อที่จะขอเวลาทำในเรื่องของการยุติความขัดแย้ง และคืนความสุขให้แก่ประชาชนแน่นอน ไม่ทุกคนคงพอใจไม่ได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยมันก็ทำให้เกิดเห็นภาพอันชัดเจนขึ้นว่า ความสุขของทุกคน เพราะมีหลายคนหลายพวก หลายหมู่หลายเหล่า ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มนี้ กลุ่มโน้นมันไม่ได้

 

การทำอะไรต่าง ๆ นั้น ที่ทำให้คนส่วนใหญ่นั้น ยากที่จะทำให้ทุกคนพอใจทั้งหมด แต่มันเป็นอนาคต เราจะได้สามารถก้าวไปข้างหน้า ทุกคนมีทางเลือก มีโอกาส เราจะต้องวางรากฐานเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้นที่คั่งค้างมายาวนาน รวมไปถึงการเตรียมการแก้ปัญหาใหม่ที่จะเกิดขึ้น  อย่างนี้เขาถึงเรียกว่า “ปฏิรูปประเทศ” มันจะต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน  เป้าหมาย  เราจะก้าวเดินต่อไปอย่างไร ทิศทางใด  มีกรอบให้ชัดเจนขึ้น  มองภาพอนาคตให้เห็นให้ชัดเจน