เปิดรายละเอียดกันชัด ๆ ...!!! ข้าวในประเทศไทยล้นตลาดจริงหรือไม่...?

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม www.tnews.co.th

ภายหลังจากที่ ได้นำเสนอปัญหาราคาข้าวตกต่ำเป็นประวัติการณ์   ส่วนปัญหาจริงๆนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ออกมาเปิดเผยว่า บางส่วนเป็นเพราะมีกลุ่มอดีตนักการเมือง ส่งสัญญาณไปถึงโรงสีที่เคยได้รับประโยชน์ กดราคา ซื้อข้าวในราคาถูก จนผลกระทบเกิดกับชาวนา

จนเกิดคำถามขึ้นว่าจริงๆแล้ว ข้าวในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันมีอยู่เท่าไหร่  เราผลิตได้เท่าไหร่  สต็อคข้าวจากโครงการรับจำนำข้าวเดิม เท่าไหร่  เราบริโภคในประเทศเท่าไหร่ และเราส่งออกไปเท่าไหร่ ซึ่งวันนี้เราจะมีข้อมูลมานำเสนอกันครับ

จากข้อมูลของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่า ปัจจุบันในปี 2559 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวจำนวน  58 ล้านไร่ ซึ่งมีมากกว่าปี 2558 ที่ 56 ล้านไร่  โดยชาวนาผลิตข้าวรวมในรอบปี 2559/60 ข้าวนาปี 25.20 ล้านตัน และคาดการณ์ข้าวนาปรังอยู่ที่ 3.90 ล้านตัน

ซึ่งหากเราเทียบกับปี 2558/59  ที่ผลิตได้ 27.42 ล้านตัน  ข้าวนาปี 23.48 ล้านตัน ข้าวนาปรัง 3.94 ล้านตัน ซึ่งผลิตได้น้อยกว่าปี 2559

 

เมื่อเราจำแนกตามพื้นที่เพาะปลูก พบว่า

ภาคเหนือ ปี58/59  มีพื้นที่เพาะปลูก  15.8 ล้านไร่ ได้ข้าว   9,058,537 ล้านตัน 

ปี59/60  มีพื้นที่เพาะปลูก  15.41 ล้านไร่ ได้ข้าว   8,929,852 ล้านตัน 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ปี58/59  มีพื้นที่เพาะปลูก  36.88 ล้านไร่ ได้ข้าว   12,433,530 ล้านตัน 

ปี59/60  มีพื้นที่เพาะปลูก  37.55 ล้านไร่ ได้ข้าว   14,068,027  ล้านตัน 

ภาคกลาง ปี58/59  มีพื้นที่เพาะปลูก  11.06 ล้านไร่ ได้ข้าว 6,791,350   ล้านตัน 

ปี59/60  มีพื้นที่เพาะปลูก  10.89 ล้านไร่ ได้ข้าว 6,792,094 ล้านตัน 

ภาคใต้ ปี58/59  มีพื้นที่เพาะปลูก  1.16 ล้านไร่ ได้ข้าว  541,072   ล้านตัน 

ปี59/60  มีพื้นที่เพาะปลูก  1.13 ล้านไร่ ได้ข้าว  533,717 ล้านตัน 

ซึ่งโดยสรุป จะพบว่า การคาดการผลผลิตข้าวปี 2559/60 อยู่ที่ 29.10 ล้านตันข้าวเปลือก ถ้าสีเป็นข้าวสาร ก็จะได้ข้าวอยู่ประมาณ 14.55 ล้านตัน

นอกจากนี้แล้ว ข้าวในสต็อกของรัฐบาล จากโครงการรับจำนำข้าว ก็ยังมีจำนวนข้าวคงเหลืออยู่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

จากที่กระทรวงพาณิชย์สรุปตัวเลขปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว พบว่า ข้าวในสต็อกที่สรุปยอดแล้วมีข้าวคงเหลือ 17.28 ล้านตัน  โดยกระทรวงพาณิชย์ สรุปภาพรวมการระบายข้าว โดยระหว่าง ส.ค. 2557-ต.ค. 2559 มีการระบายข้าวไปแล้ว 8.88 ล้านตัน

คงเหลือข้าวในสต็อกรัฐบาล 8.4 ล้านตัน  แบ่งเป็นข้าวดี ประมูลขายได้ 4.2 ล้านตัน และข้าวสำหรับภาคอุตสาหกรรม 4.2 ล้านตัน  สรุปแล้วจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันมีข้าวคงเหลือในสต็อก รัฐบาลและเป็นข้าวดี 4.2 ล้านตัน

เมื่อเรานำตัวเลขข้าวจากการผลิตปี 2559/60  มีข้าวสารอยู่ประมาณ 14.55 ล้านตัน รวมกับข้าวของรัฐบาลอีก 4.2 ล้านตัน ก็จะมียอดรวมที่ 18.75 ล้านตัน

 

หากเราไปดูข้อมูลการบริโภคในครัวเรือน ซึ่ง ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า  ได้สรุปข้อมูลว่าประชากรไทย บริโภคข้าวในประเทศ  แบ่งเป็นการบริโภคของครัวเรือนในเมือง 93 กก.ต่อคน , การบริโภคของครัวเรือนในชนทบ 114 กก.ต่อคน  เมื่อเฉลี่ยแล้ว ประชากรจะบริโภคข้าว ประมาณ 101 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี  

 

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้สรุปจำนวนประชากร ปี 2558

จำนวนประชากรทั้งประเทศ 65 ล้านคน

ชาย มีจำนวน 32 ล้านคน

หญิง มีจำนวน 33 ล้านคน

ก็จะมีข้อมูลการบริโภคข้าวในประเทศ ของปี 2558 ประมาณ  6.6 ล้านตัน  หากคิดตัวเลขตั้งแต่ มกราคม- ตุลาคม 2559 เฉลี่ยแล้วก็จะมีการบริโภคข้าวประมาณ 5.5 ล้านตัน

ส่วนข้อมูลกลุ่มสุดท้ายที่เป็นตัวเลขสำคัญ นั่นคือการส่งออกข้าวไปขายยังต่างประเทศ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้สรุปตัวเลขการส่งออกข้าว ปี 2558 ตัวเลขทั้งปีอยู่ที่  9.7 ล้านตัน  ขณะที่ตัวเลขการส่งออกข้าวตั้งแต่เดือนมกราคม ตุลาคม 2559 อยู่ที่  7.9 ล้านตัน

สรุปแล้วตัวเลข ข้าวที่ชาวนาผลิตได้ 14.55 ล้านตัน รวมกับสต็อคของรัฐบาล 4.2 ล้านตัน ทำให้เรายังมีข้าวประมาณ 18.75 ล้านตัน  เมื่อนำไปหักกับยอดการบริโภคภายในประเทศที่ 5.5 ล้านตัน และกลุ่มโรงสีผู้ส่งออกข้าวอีก 7.9 ล้านตัน ก็จะทำให้เรามีข้าวเหลืออยู่โดยประมาณ 5.3 ล้านตัน

ฉะนั้นแล้วเมื่อเราจะตอบคำถามได้ว่า ที่ราคาตกต่ำเพราะข้าวอยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก โรงสียังมีข้าวอยู่ไม่ขาดแคลน อีกทั้งข้าวที่ชาวนาเพิ่งเก็บเกี่ยวยังมีปัญหาความชื่นอยู่ จึงทำให้เป็นช่องว่างของการกำหนดราคาที่ต่ำกว่าปกติ

ฉะนั้นแล้วเมื่อเราจะตอบคำถามได้ว่า ที่ราคาตกต่ำเพราะข้าวอยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก โรงสียังมีข้าวอยู่ไม่ขาดแคลน อีกทั้งข้าวที่ชาวนาเพิ่งเก็บเกี่ยวยังมีปัญหาความชื่นอยู่ จึงทำให้เป็นช่องว่างของการกำหนดราคาที่ต่ำกว่าปกติ

สำหรับแนวทางการช่วยเหลือชาวนานั้น เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาทางกองทัพบก โดยพล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบกได้มอบให้หน่วยทหารเข้าช่วยเหลือเกษตรกรเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการอยู่ใน ๒ เรื่อง คือ

ประการแรกหน่วยทหารในแต่ละพื้นที่จะเข้าดำเนินการซื้อข้าวสารจากเกษตรกร โดยผ่านระบบสหกรณ์การเกษตร เพื่อนำไปประกอบเลี้ยงให้กับกำลังพลของหน่วย  ซึ่งจะช่วยเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและช่วยให้ชาวนาสามารถขายข้าวได้ในราคาที่เหมาะสมขึ้นโดยไม่ต้องผ่านระบบพ่อค้าคนกลาง

 

ประการที่สองหน่วยทหารของกองทัพบกจะพิจารณาส่งกำลังพลเข้าช่วยชาวนาเก็บเกี่ยวผลผลิตตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตและช่วยแบ่งเบาภาระของเกษตรกร ทั้งนี้ในทุกมาตรการหน่วยทหารของกองทัพบกจะเร่งดำเนินการอย่างเต็มที่ในทุกพื้นที่  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาโดยเร็วที่สุด

ซึ่งเมื่อวันที่ 1 พ.ย. ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเถียรภาพราคาข้าว  ปีการผลิต 2559/2560  ตามที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ได้พิจารณามาตรการช่วยเหลือเกษตรกระและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว  เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม และ 1 พฤศจิกายน เนื่องจากปัญหาราคาข้าวมีแนวโน้มต่ำลง  โดยมาตรการนี้จะให้ความช่วยเหลือเกษตรทั้งในกลุ่มที่มียุ้งฉางและไม่มียุ้งฉาง 

ซึ่งคณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบทบทวนโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2559/60  และ เห็นชอบการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและประปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ปีการผลิต 2559/60  กรอบวงเงินงบประมาณ 19,375.37 ล้านบาท  มีรายละเอียดดังนี้

1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2559/60

           

- กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อตันข้าวเปลือกหอมมะลิ ที่สีได้ต้นข้าว 36 กรัมขึ้นไป ในอัตรา 9,500 บาท

                   

กรณีที่สีได้ต้นข้าว 3135, 2630, 2025 ปรับลดส่วนต่างของคุณภาพตันละ 200 บาท แต่ถ้าสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 20 กรัม ไม่รับเข้าร่วมโครงการ

ทั้งนี้หากราคาตลาดสูงขึ้นจะพิจารณาปรับแผนราคาให้เป็นไปตามตลาด

ให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือกตันละ 1,500 บาท  โดยจ่ายเป็นค่าเตรียมข้าวเปลือกรับได้ในวันเบิกรับเงินกู้ 1,000 บาท  และส่วนที่เหลืออีก 500 บาทรับในวันที่ไถ่ถอนข้าวเปลือกจากโครงการ ไม่น้อยกว่า 30 วัน

เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ให้มีค่าใช้จ่ายสำหรับตากข้าวเปลือกและค่าแรงในการเตรียมข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการ

2) การช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ปีการผลิต 2559/60            

- เพื่อช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวหอมมะลิที่ประสบปัญหาราคาข้าวเปลือกหอมมะลิตกต่ำอย่างต่อเนื่อง

- กลุ่มเป้าหมาย คือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลเกษตรกรที่ได้รับเงินสนับสนุนตามโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60  จำนวนประมาณ 2 ล้านราย จากพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิประมาณ 26 ล้านไร่

- การดำเนินการ นั้นจะสนับสนุนเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในอัตรา 2,000 บาทต่อตัน  หรือไร่ละ 800 บาท  รายละไม่เกิน 15 ไร่  โดย ธ.ก.ส.จะโอนเงินเข้าบัญชีให้กับเกษตรกร

- ระยะเวลา : 1 พฤศจิกายน 255928 กุมภาพันธ์ 2560

 

วัสดา สำนักข่าวทีนิวส์ (เรียบเรียง)