เปิดพฤติกรรมข้าราชการ-เอกชน เอี่ยวโกง "จำนำข้าว" (ข้อมูล)

ติดตามข่าวสาร www.tnews.co.th

ถ้าพูดถึงบุคคลที่จะต้องชดใช้รับผิดชอบในคดีโครงการรับจำนำข้าว หรือ โครงการซื้อข้าวขาด จากรัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้น ตอนนี้ก็ชัดเจนแล้วว่ามีผู้ที่เกี่ยวข้องถึงประมาณ 6,000 คน

โดยทางด้านของพล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ออกมาเปิดเผยแล้วว่าวตอนนี้นั้นพบว่ามีทั้งกลุ่มข้าราชการ และ กลุ่มเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตในครั้งนี้

พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความคืบหน้าการเรียกค่าเสียหายกับผู้เกี่ยวข้องในคดีรับจำนำข้าว ส่วนที่เหลืออีก 80% ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มูลค่า 142,868 ล้านบาท ว่าขณะนี้ได้รับรายชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานที่ได้รับผิดชอบ คือ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว

โดยแบ่งผู้เกี่ยวข้องออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร หรือกลุ่มของรัฐมนตรีและอนุกรรมการเกี่ยวกับนโยบายข้าว ประมาณ 2,000 รายชื่อ กลุ่มผู้ปฏิบัติ หรือกลุ่มรายกระทรวงเดิม มีองค์กรต่างๆ และข้าราชการ ประมาณ 4,000 ราย รวม 6,000 ราย

จำนวนนี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องรับผิดชอบทั้งหมด แต่จะต้องมาตรวจสอบรายละเอียดก่อนว่าใครต้องรับผิดอะไรและเป็นเพราะอะไร เพื่อเสนอให้นายกรัฐมนตรีและ ครม.รับทราบ

แล ะสุดท้ายกลุ่มผู้ประกอบการ หรือภาคเอกชน เช่น โรงสี คลังสินค้า ซึ่งยังรวบรวมไม่เรียบร้อย เนื่องจากมีข้อมูลไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ปฏิบัติ โดยกระทรวงมหาดไทย กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อส่งมาให้ตนพิจารณาต่อไป

ก่อนหน้านี้ทางด้านนายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวว่า การตรวจสอบคดีทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ว่า ล่าสุดคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติให้ตั้งอนุกรรมการไต่สวนความผิดทางอาญากับเจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับการรับจำนำข้าวในขั้นตอนต่าง ๆ แล้ว 515 สำนวน จากทั้งหมด 986 สำนวน

และเพื่อให้การไต่สวนในทุกสำนวนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เสร็จสมบูรณ์อย่างรวดเร็วภายในกรอบเวลา 6 เดือน ภายในสัปดาห์หน้าจะเรียกเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนของ ป.ป.ท. จากทุกเขตพื้นที่มาประชุมถึงแนวทางปฏิบัติต่อไป รวมถึงอาจจะพิจารณาออกคู่มือการสอบสวนคดีทุจริตรับจำนำพืชผลเกษตร เพื่อใช้เป็นกรอบในการสอบปากคำและเก็บรวบรวมหลักฐานด้วย

เปิดพฤติกรรมข้าราชการ-เอกชน เอี่ยวโกง "จำนำข้าว" (ข้อมูล)

 

และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในประเด็นของการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว หรือ โครงการซื้อข้าวขาดนั้น เราก็จะได้อธิบายถึงขั้นตอนให้ได้รับทราบกันดังนี้

กระบวนการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวหรือโครงการซื้อข้าวขาดจากชาวนานั้น  สามารถแยกได้เป็น 4 ขั้นตอน

 

เริ่มกันที่ ขั้นตอน ของการขึ้นทะเบียนชาวนา  พบว่ามีช่องทางการส่อทุจริตอยู่ถึง 4 จุด คือ

1.ชาวนาขึ้นทะเบียนพื้นที่ปลูกข้าวมากเกินความเป็นจริง

 

2.มีการแจ้งผลผลิตข้าวเกินความจริง

 

3.มีการขึ้นทะเบียนพื้นที่นาข้าวซ้ำซ้อนระหว่างเจ้าของที่นาและผู้เช่าที่นา

 

และ 4.การขายสิทธิใบรับรองเกษตรกรให้กับโรงสี ด้วยวิธีการซื้อสิทธิใบรับรองเกษตรกรจากชาวนา เมื่อชาวนาขายข้าวเสร็จก็ขายใบรับรองสิทธิต่อ โรงสีก็นำมาทำข้าวลม คือเขียนจำนวนข้าว ไปรับเงินจากใบประทวนที่เขียนเอง แต่ข้าวไม่มีอยู่จริง

 

เปิดพฤติกรรมข้าราชการ-เอกชน เอี่ยวโกง "จำนำข้าว" (ข้อมูล)

ขั้นตอนของการนำข้าวเปลือกเข้าโรงสี มีช่องทางการส่อทุจริตอยู่ถึง 6 จุด คือ

 

1.โกงคุณภาพข้าวเปลือก โดยโรงสีสามารถตั้งเวลาเครื่องปั่นข้าวเปลือกให้นานจนข้าวผิดรูปได้

 

2.โกงความชื้นจาก 15 เปอร์เซ็นต์ เป็น 20 เปอร์เซ็นต์ โดยโรงสีมีเครื่องมือวัดความชื้น อาจบอกว่า ข้าวมีความชื้น 20 เปอร์เซ็นต์เกินมาตรฐานข้าว 5 เปอร์เซ็นต์ ก็จะถูกตัดราคา

 

3.ผสมสิ่งเจือปนแล้วอ้างว่า ข้าวเปลือกมีสิ่งปลอมปนเยอะ เพื่อจะกดราคาข้าว

 

4.โกงตาชั่ง เนื่องจากระบบชั่งของโรงสีเป็นระบบดิจิทัลที่สามารถตั้งโปรแกรมได้

 

5.ออกใบประทวนล่าช้า โดยจงใจออกใบประทวนล่าช้า เพื่อจะได้นำข้าวไปสีขายก่อนในช่วงที่ราคาดี

 

6.โกงน้ำหนักข้าวเอาเงิน ธ.ก.ส. คือไม่แนบใบชั่งน้ำหนักของชาวนาไว้ ทำให้ไม่มีการตรวจสอบว่า ชาวนาขายข้าวเปลือกจริงๆ ปริมาณ เท่าไหร่

 

เปิดพฤติกรรมข้าราชการ-เอกชน เอี่ยวโกง "จำนำข้าว" (ข้อมูล)

 

ขั้นตอนนำข้าวสารที่สีแล้วเข้าโกดัง พบช่องทางที่จะสามารถทุจริตได้ 3 ช่องทาง

 

1.จ่ายค่าใต้โต๊ะ โกดังโครงการ คือการเปิดรับสมัครโกดังเข้าโครงการ ซึ่งอันดับแรกต้องจ่ายค่าแรกเข้าใต้โต๊ะให้กลายเป็นโรงสีในสังกัด

 

2.เก็บค่าต๋ง โกดังขึ้นทะเบียนโดยข้าวสารที่ถูกส่งเข้าโกดังที่ขึ้นทะเบียนกับนักการเมืองแล้ว จะต้องมีการจ่ายต๋งค่าส่วนกลาง เพื่อแลกกับการได้ค่าเช่า

 

3.ค่าหัวคิวเซอร์เวเยอร์  (ผู้ตรวจคุณภาพข้าว) โดยเมื่อเซอร์เวเยอร์มีรายได้จากการไปตรวจคุณภาพข้าว ก็ต้องจ่ายค่านายหน้ารายได้ให้ฝ่ายการเมือง และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้เซอร์เวเยอร์ไม่ต้องรับผิดชอบข้าวเข้า-ออก เพื่อเปิดช่องให้โรงสีส่งข้าวคุณภาพต่ำแลกการจ่ายค่าหัวคิวแทน

 

เปิดพฤติกรรมข้าราชการ-เอกชน เอี่ยวโกง "จำนำข้าว" (ข้อมูล)

สุดท้าย ขั้นตอนการระบายข้าว มีการทุจริตใน 4 ช่องทาง ด้วยกัน คือ

 

1ตั้งบริษัทจีทูจี บังหน้า คือ การเปิดบริษัทจีนปลอมไว้ที่จีน เพื่อทำเอกสารซื้อขายข้าวแบบจีทูจี จะได้เขียนราคาได้ถูก เมื่อได้ข้าวมาก็เอาไปขายแพงได้ แต่ความจริงคือ ข้าวก็ยังหมุนเวียนอยู่ในไทย

 

2.ระบายข้าวคุณภาพต่ำส่งออกต่างประเทศคือ การประมูลทั่วไปในราคาต่ำมาก เพราะพ่อค้าทั่วไปรู้ว่าคุณภาพต่ำไม่ซื้อ จึงขายถูกส่งๆ ไปให้พ่อค้าเครือข่ายเดียวกัน

 

3.โกงข้าวถุง คุณภาพต่ำ จำนวนไม่ครบ คือ เอาข้าวออกมาราคาต่ำเพราะคุณภาพต่ำ แล้วก็ทำเหมือนว่าจะระบายข้าวออกด้วยการทำข้าวถุง หรือข้าวบริจาคโครงการต่างๆ แต่สุดท้ายพอตรวจสอบจริงพบว่า ไม่มีการทำข้าวถุงครบตามจำนวนข้าวที่เบิก

 

และ 4.ประมูลข้าวในเครือข่ายพ่อค้าวงใน คือ เปิดประมูลข้าวสารในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ่อค้านอกเครือข่ายจะไม่รู้ข้อมูลวงใน ทำให้ไม่สามารถรับข้าวรัฐบาลต่อได้

 

เปิดพฤติกรรมข้าราชการ-เอกชน เอี่ยวโกง "จำนำข้าว" (ข้อมูล)

 

เรียบเรียงโดย : วัสดา สำนักข่าวทีนิวส์