ใครกันแน่ขี้อิจฉา!! "วัฒนา"วิจารณ์ยัยรัฐบาลบริหารแบปชป.มีแต่หายนะ แนะเลือกตั้งครั้งปชช.หน้าเลือกพท.คนมีปัญญา-ไม่ขี้อิจฉาเข้าบริหารประเทศ

ติดตามข่าวเพิ่มได้ที่ www.tnews.co.th

วันนี้ ( 16 พ.ย.)  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวัฒนา เมืองสุข  แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊ก "Watana Muangsook" วิจารณ์นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน และนโยายที่ผ่านมาของพรรคประชาธิปัตย์  ว่าเป็นการใช้เม็ดเงินที่สูญเปล่าเพราะไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น และนำพาให้เศรษฐกิจไทยเดินไปสู่หายนะ แตกต่างจากนโยบายของพรรคเพื่อไทย ที่เน้นการลงทุนสร้างกำลังซื้อให้กับเกษตรกรซึ่งมีประสิทธิต่อเศรษฐกิจมากกว่า ซึ่งข้อความที่โพสต์ระบุว่า
         
"หายนะ" อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
รายงานของธนาคารโลกเผยแพร่ 4 ตุลาคม 2559 คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกยังคงเผชิญกับความเสี่ยง การบริโภคภายในประเทศจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ หลายประเทศได้ใช้นโยบายหว่านเงิน (helicopter money) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยดำเนินนโยบายดังกล่าวโดยออกนโยบายเช็คช่วยชาติรายละ 2,000 บาท ตามด้วยมาตรการไทยเข้มแข็ง ส่วนรัฐบาลนี้ก็ใช้แนวทางดังกล่าวกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นกัน โดยแยกออกเป็นหลายโครงการซึ่งรวมแล้วใช้เม็ดเงินไปเกือบ 800,000 ล้านบาท แต่เป็นการใช้เงินที่สูญเปล่าเพราะไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ทั้งยังสูญเสียมากกว่าที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ใช้ในการแทรกแซงตลาดข้าวจนถูกฟ้อง ตามโครงการที่โพสต์มาพร้อมนี้

ส่วนพรรคเพื่อไทยเน้นการลงทุนสร้างกำลังซื้อให้เกษตรกร เพื่อให้เกิดการบริโภคภายในขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากมีประชากรที่อยู่ในภาคเกษตรประมาณ 24 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของประชากรทั้งหมดซึ่งถือเป็นคนส่วนใหญ่ที่ยากจน คนเหล่านี้เมื่อมีเงินจะซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในการดำรงชีพที่ใช้วัตถุดิบและผลิตขึ้นในประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อเนื่องตามมาอีกหลายทอด ประโยชน์จึงเกิดขึ้นกับคนไทยอย่างเต็มที่เพราะเกษตรกรไม่ได้นำเงินไปซื้อสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศ ส่วนนโยบายช็อปปิ้งคืนภาษีไม่เกินรายละ 15,000 บาท ที่รัฐบาลใช้กระตุ้นเศรษฐกิจช่วงสิ้นปี 2558 บางกรณีคือเอาเงินภาษีของคนไทยไปอุดหนุนสินค้าของต่างชาติและคนที่ได้รับประโยชน์อยู่ในแวดวงที่จำกัด
         
ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำคือหายนะทางเศรษฐกิจ ล่าสุดคือมันสำปะหลังราคาตกต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี ก่อนหน้านี้ยางพารา ข้าวเปลือก และข้าวโพด ได้สร้างสถิติไปรอแล้ว มาตรการเร่งด่วนคือการทำให้สินค้าเกษตรได้รับราคาเพื่อสร้างกำลังซื้อให้กับเกษตรกร ส่วนการแก้ปัญหาแบบยั่งยืนทำได้โดยรัฐบาลจะต้องลงทุนเป็นทางเลือกเพื่อให้เกษตรกรเลิกผลิตสินค้าแบบโภคภัณฑ์ (commodity) หันมาผลิตสินค้าคุณภาพที่ตลาดมีความต้องการซึ่งจะทำให้หมดปัญหาเรื่องราคา ในขณะที่เศรษฐกิจของโลกมีปัญหาแต่รัฐบาลกลับปล่อยให้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โอกาสที่จะพยุงเศรษฐกิจด้วยการบริโภคภายในตามคำแนะนำของธนาคารโลกจึงหายไปเหมือนกับสติปัญญาของรัฐบาล หายนะของเศรษฐกิจไทยจึงไม่ไกลกินเอื้อม ทางออกเดียวคือการเลือกตั้งครั้งหน้าประชาชนต้องออกไปเลือกคนมีสติปัญญาและไม่ขี้อิจฉาเข้ามาบริหารประเทศ "