ชัดยิ่งกว่าชัด!!ประวัติศาสตร์ 100 ปี กฎหมายม.112 คดีหมิ่นฯยุคทักษิณจากหลักสิบพุ่งขึ้นหลักพัน

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

หลังจากที่รัฐบาลได้มุ่งเดินหน้าปราบปรามเวปไซด์ที่จาบจ้วงและหมิ่นสถาบันฯ อย่างเต็มที่ ซึ่งจากข้อมูลที่ปรากฎออกมาในความพยายามเจรจากับผู้ให้บริหารโนโซเชียลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊ก , ไลน์ ,ยูทูป และกูเกิล เพื่อหาทางป้องกันและปิดกั้น แต่ก็คงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร

ซึ่งเหตุผลที่ว่า ทำไมในโลกโซเชียลจึงพบการกระทำความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นสถาบันฯเป็นจำนวนมาก และในช่วงยุคใดนั้น เราก็มีข้อมูลมาให้ได้ติดตามกัน

หากพูดถึงข้อกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาม.112 ที่ระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” นั้น ก็ถือว่าไม่ใช่กฎหมายที่พึ่งตั้งขึ้นมาใหม่ เป็นกฎหมายที่มีมานานแล้ว ที่ผ่านมาก็มีการปรับแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งไม่ใช่จะมีใช้เฉพาะประเทศไทย แต่ทุกประเทศก็จะมีกฎหมายในรูปแบบเดียวกันคือกฎหมายคุ้มครองประมุขแห่งรัฐนั่นเอง

ซึ่งกฎหมายนี้มีความเป็นมาตั้งแต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 ได้มีพระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการพูดหรือเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ รศ. 118 มาตรา 4 พระราชกำหนดนี้ ระบุความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ไว้ในมาตรา 4 ความว่า

            “ผู้ใดหมิ่นประมาทพระผู้เปนเจ้าซึ่งดำรงสยามรัฐมณฑลฤาสมเด็จพระอรรคมเหษีฤาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชก็ดี…โดยกล่าวเจรจาด้วยปาก ฤาเขียนด้วยลายลักษณอักษร ฤากระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในที่เปิดเผยท่ามกลางประชุมชนทั้งหลาย ด้วยกายวาจาอันมิบังควรซึ่งเป็นที่ แลเห็นได้ชัดว่าเปนการหมิ่นประมาทแท้ …ให้จำคุกไว้ไม่เกินกว่า 3 ปี ฤาให้ปรับเปนเงินไม่เกินกว่า 1500 บาท ฤาทั้งจำคุกแลปรับด้วย

ต่อมาได้มีการจัดทำประมวลกฎหมายอาญาขึ้น ชื่อ "กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127" มาตรา 98 ระบุโทษไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท

และภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2500 ได้จัดทำประมวลกฎหมายขึ้นใหม่ ชื่อ "ประมวลกฎหมายอาญา" ในมาตรา 112 กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ต่อมาภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 41 โดยเพิ่มโทษขั้นต่ำและเพิ่มโทษสูงสุดขึ้นอีก เป็นโทษจำคุกขั้นต่ำ 3 ปี ไม่เกิน 15 ปี

ซึ่งตั้งแต่เริ่มกฎหมายนี้จนถึงปัจจุบันมีผู้กระทำความผิดและถูกดำเนินคดี และมีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในระยะเวลาที่ผ่านมา

ในระหว่างปี 2535 – 2547 ตัวเลขของคดีหมิ่นฯที่มีการฟ้องร้องกันในศาลเฉลี่ยแล้วมีน้อยกว่า 10 คดี ซึ่งในอดีตมีการกระทำความผิดที่อยู่ในวงแคบ อาทิ การกล่าวหมิ่นฯระหว่างกลุ่มบุคคล หรือการเขียนใบปลิวแจกจ่าย ผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าวจึงยังจำกัดอยู่ในวงแคบ

ชัดยิ่งกว่าชัด!!ประวัติศาสตร์ 100 ปี กฎหมายม.112 คดีหมิ่นฯยุคทักษิณจากหลักสิบพุ่งขึ้นหลักพัน

แต่ระหว่างปี 2548 – 2552 ซึ่งเป็นยุคที่ นายทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อเนื่องถึงนายสมัคร สุนทรเวช , นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จนถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปรากฏว่า มีคดีความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นสถาบันฯ เพิ่มมากขึ้น จากหลักสิบกว่าคดี จนมาถึง 547 คดี ที่ถูกนำไปพิจารณาคดีทั้งในระดับศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เฉลี่ยแล้วปีละ 109 คดี และมีที่ศาลมีคำตัดสินว่าเป็นการแล้วจำนวน 247 คน

ในปี 2552 เพียงปีเดียวมีการดำเนินคดีข้อหาหมิ่นฯในระดับศาลชั้นต้นจำนวน 164 คดี

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มที่เจ้าหน้าที่รัฐตั้งข้อหาความผิดนี้ ควบคู่ไปกับพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 , 15 และ16

จากข้อมูล การดำเนินคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ระหว่างปี 2550 – 2553 พบว่า มีคดีที่เกี่ยวข้องกับม.112 จำนวน 26 คดีและยังมีคดีความผิดนี้ อยู่ในชั้นพนักงานสอบสวนอีกอย่างน้อยกว่า 1,000 คดี

จากสถิติข้างต้นจะเห็นได้ว่าในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองอย่างรุนแรง  พบว่าการกระทำความผิดตามกฎหมายนี้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก  ซึ่งการกระทำผิดส่วนใหญ่นะจะทำผ่านโซเชียลมีเดียมากที่สุดคือ เวปไซด์ ยูทูป เฟซบุ๊ก และไลน์ ตามลำดับ

ชัดยิ่งกว่าชัด!!ประวัติศาสตร์ 100 ปี กฎหมายม.112 คดีหมิ่นฯยุคทักษิณจากหลักสิบพุ่งขึ้นหลักพัน

แม้ว่ารัฐบาลจะดำเนินการปิดเวปไซด์ไปบ้างแล้ว โดยเมื่อวันที่ 2 พ.ย.59 พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้า การดำเนินการกับเวปไซด์ที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่ช่วงวันที่ 1 - 12 ต.ค. ที่ผ่านมา เราพบที่อยู่เว็บไซต์ (ยูอาร์แอล) ที่เข้าข่ายไม่เหมาะสมประมาณ 100 ยูอาร์แอล (ชื่อ) และช่วงวันที่ 13 - 31 ต.ค. ประมาณ 1,200 ยูอาร์แอล โดยเราได้ใช้อำนาจ คสช. ปิดไปแล้วทั้งสองช่วง 200 ยูอาร์แอล ส่วนที่เหลือใช้อำนาจศาล 700 ยูอาร์แอล จาก 1,150 คดี ถือว่าคิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยเราได้รับความร่วมมือจากศาลเป็นอย่างดีในการเร่งรัดการทำธุรการ รวมถึงผู้ให้บริการ ทั้งทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ภายในประเทศ และบริษัทใหญ่ที่เป็นต้นทาง ซึ่งเว็บไซต์ที่มียูอาร์แอลหมิ่นสถาบันมากที่สุด คือ เว็บไซต์ยูทูป แต่อย่างไรก็ตาม ยูทูปได้มีเปอร์เซ็นต์ปิดมากที่สุด

แต่นั่นจะถือว่ายังแก้ปัญหาได้เพียงน้อยนิดจากที่พบจริงในเวปไซด์ คงต้องจับตามองกันต่อไปว่าทางผู้บริหารของยูทูปและเฟซบุ๊คนั้น จะตอบรับและให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยหรือไม่

 

เรียบเรียง : อุดร แสงอรุณ สำนักข่าวทีนิวส์