ทักษิณจะกลับมาใน 3 ปี แค่ความฝัน ลมๆแล้งๆ (ชมคลิป)

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม : www.tnews.co.th

 

จากประเด็นที่ตอนนี้ได้มีกระแสข่าววออกมาว่า นายทักษิณ ชินวัตรนั้นจะเดินทางกลับมาที่ประเทศไทยภายใน 3 ปีนี้แต่จากสถานะปัจจุบันของนายทักษิณนั้นก็ไม่สามารถที่จะกลับบ้านมาแบบเท่ห์ ๆ แบบที่ทางกลุ่มที่สนับสนุนนายทักษิณนั้นได้คาดหวังไว้เนื่องมากจากว่านายทักษิณคือผู้ต้องหาหลบหนีคดี ถ้าจะกลับมาก็ต้องติดคุก

แต่ที่ผ่านมาก็ค่อนข้างจะแน่ชัดแล้วว่าทักษิณและคนในเครือข่ายไม่มีทางยอมรับการวินิจฉัยคดีของกระบวนการยุติธรรม อย่างแน่นอน

โดยคดีความของ ทักษิณ ชินวัตร หลังการรัฐประหาร 2549 ถูกแจ้งข้อกล่าวหารวม 12 คดี มี 7 คดีที่อดีตนายกรัฐมนตรี  ตกเป็นจำเลยขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

โดยตัดสินแล้ว 2 คดี คือ

1.คดีที่ดินรัชดา ที่ศาลพิพากษาให้จำคุก 2 ปี และ

2.คดีร่ำรวยผิดปกติเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของตนเองและพวกพ้อง ซึ่งศาลพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน จำนวน 46,373 ล้านบาท

และอีก 5 คดีที่ศาลจำหน่ายคดี เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ หลบหนีออกนอกประเทศ คือ

 

1.คดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว หรือคดีหวยบนดินโดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ กับพวกรวม 47 คน

2.คดีเอ็กซิมแบงก์ปล่อยเงินกู้ให้กับรัฐบาลพม่า 4,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการจัดซื้ออุปกรณ์กิจการโทรคมนาคม จากบริษัทในเครือชินคอร์ป ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว

3.คดีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ-ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัทชินคอร์ป ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท

4.จงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จชะตาชีวิตของ 3 อดีตนายกรัฐมนตรี

5.กรณีธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้บริษัท กฤษดามหานครฯ ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามมาตรา 157 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535

 

ซึ่งจากข้อมูลที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้นก็ย้ำอีกครั้งว่าถ้านายทักษิณจะกลับมาก็ต้องถูกดำเนินคดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อยากน้อย ๆ ก็ต้องติดคุก 2 ปี

แต่ทักษิณและคนในเครือข่ายนั้นก็ยังคงมีความหวังอีกอย่างคือเมื่อถึงการเลือกตั้งพรรคของตนก็ต้องชนะและก็จะมีการวางกลไกลเพื่อที่จะกลับมาในประเทศแต่ดูแล้วก็ยังเป็นเรื่องที่ยากอยู่ดี

ก่อนอื่นเราก็จะได้ไปทำความเข้าใจตามรัฐธรรมนูญกันเสียก่อนว่า ได้จัดวางกระบวนการในการเลือกนายกรัฐมนตรีเอาไว้อย่างไรบ้าง

ทั้งนี้ตามร่างรัฐธรรมนูญนั้น กระบวนการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีจะเริ่มดังนี้

มาตรา ๘๘ ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแจ้งรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกินสามรายชื่อต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวให้ประชาชนทราบ และให้นำความในมาตรา ๘๗ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

มาตรา ๑๕๙ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ เฉพาะจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

 

การเสนอชื่อตามวรรคหนึ่งต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

 

มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย และมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

 

พิจารณาจากเนื้อหาที่ปรากฏตามรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการลงมติของส.ส.เหมือนเดิม และพรรคการเมืองเป็นผู้เสนอชื่อเช่นเดิม

เพียงแต่ว่าในช่วงสถานการณ์ของประเทศอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน จึงมีการเพิ่มเติมเงื่อนไขพิเศษเอาไว้ ว่าถ้าหากสภาผู้แทนราษฎร์ไม่สามารถมีมติเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยเงื่อนไขใด ให้เปิดการประชุมร่วมกันของรัฐสภาชี้ขาดโดยเร็ว

ซึ่งในประเด็นดังกล่าวนี้เอง ได้ถูกนำมาถามประชาชนในการทำประชามติแล้ว ปรากฎว่าคนใหญ่นั้นเห็นด้วย

ในร่างรัฐธรรมนูญ บทเฉพาะกาล

มาตรา ๒๗๒ ในวาระเริ่มแรก เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๒๖๘ แล้ว หากมีกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภาขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน

และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการตามมาตรา๑๕๙ ต่อไป โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ หรือไม่ก็ได้

 

พิจารณากันต่อที่มาตรา 272 ซึ่งต้องใช้เสียงร่วมกันของรัฐสภา 2 ใน3 ถึงจะสามารถเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกได้ คำถามก็ถือจากพื้นฐานคะแนนตัวเลขส.ส.หากว่าพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคเพื่อไทย ไม่เห็นด้วยโอกาสที่จะเกิดขึ้นก็ลำบาก

 

และที่สำคัญหากว่าคะแนนผ่านแบบฉิวเฉียดรัฐบาลนั้นก็จะไม่มีเสถียรภาพของมีคะแนนเสียงต่างกับฝ่ายค้านปริ่มน้ำเกินไป

จำนวนเสียงรัฐสภาประกอบด้วย

1.ส.ว.ที่มาจากการสรรหา และมีกระบวนการคัดกรองโดยคสช.จำนวน 250 คน

2.ส.ส.500 คน แบ่งเขต 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 150 คน

ทำให้รัฐสภามีสมาชิก 750 คน สามารถออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตามเนื่องจากจะต้องใช้เสียงเห็นชอบในการใช้ข้อบังคับนี้ 2 ใน 3 ของรัฐสภา หรือ 500 เสียงขึ้นไป ถึงจะสามารถนำไปสู่การมีนายกรัฐมนตรีคนนอก

พิจารณาจากเงื่อนไขทั้งหมดตามรัฐธรรมนูญแล้ว หมายความว่าขั้นตอนแรกนั้นการเลือกนายกรัฐมนตรียังยึดโยงกับประชาชน ผ่านการเลือกของสภาผู้แทนราษฎร

เพียงแต่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เผื่อเหลือเผื่อขาดเอาไว้ ถ้าหากว่าสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถมีมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้ จึงจะใช้ช่องทางตามบทเฉพาะกาลให้ส.ว.มาร่วมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี

แต่เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนเราจะได้นำเอาตัวเลขการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 มาเป็นตัวอย่างในการคิดคำนวณโดยใช้สูตรการเลือกตั้งแบบใหม่

คะแนนการเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554

1.พรรคเพื่อไทย 14,770,094คะแนน ได้ส.ส.รวม265 คน

2.พรรคประชาธิปัตย์ 10,343,571 คะแนน ได้ส.ส.รวม159 คน

3.พรรคภูมิใจไทย 3,550,429 คะแนน ได้ส.ส.รวม34 คน

4.พรรคชาติไทยพัฒนา  1,883,690 คะแนน ได้ส.ส.รวม19 คน

5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 1,258,518  คะแนน ได้ส.ส.รวม 7 คน

6.พรรคพลังชล 256,881 คะแนน ได้ส.ส.รวม7คน

7.พรรคมาตุภูมิ 370,260 คะแนน  ได้ส.ส.รวม  2 คน

 

โดยแต่ละพรรคได้จำนวนส.ส.เขตวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ดังนี้

1.พรรคเพื่อไทย ได้ส.ส.แบ่งเขต 204 คน

2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ส.ส. แบ่งเขต 115 คน

3.พรรคภูมิใจไทย ได้ส.ส.แบ่งเขต 29 คน

4.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ส.ส.แบ่งเขต 15 คน

5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ส.ส.แบ่งเขต 5 คน

6.พรรคพลังชล ได้ส.ส.แบ่งเขต 6 คน

7.พรรคมาตุภูมิ ได้ส.ส.แบ่งเขต  1 คน 

 

จากตัวเลขดังกล่าวเราจะได้มาลองใช้สูตรการคิดคำนวณแบบใหม่ ว่าแต่ละพรรคจะมีส.ส.เพิ่มขึ้นหรือน้องลงอย่างไร

วิธีการคิดคำนวณให้เริ่มต้นจากการหาส.ส.ที่แต่ละพรรคพึงจะมี โดยเอาคะแนนทั้งหมดของส.ส.เขต หาร ด้วย 500 แล้วเอาผลลัพธ์ที่ได้ไปลบจำนวนส.ส.เขตของพรรคนั้น ต่อจากนั้นนำตัวเลขที่เหลือ ไปบวกเป็นจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อ

ยกตัวอย่าง

จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.เขต 35,000,000 คน

(ประมาณการจากการเลือกตั้งเมื่อวันนี้ 3 กรกฎาคม 2554)

พรรคเพื่อไทย 14,770,094 คะแนน

ส.ส.จากสูตรการคิดคำนวณแบบใหม่จะเท่ากับ 211 คน

 

 

พรรคประชาธิปัตย์ 10,343,571 คะแนน

ส.ส.จากสูตรการคิดคำนวณแบบใหม่จะเท่ากับ 147 คน

พรรคภูมิใจไทย 3,550,429 คะแนน

ส.ส.จากสูตรการคิดคำนวณแบบใหม่จะเท่ากับ 50 คน

พรรคชาติไทยพัฒนา  1,883,690 คะแนน

ส.ส.จากสูตรการคิดคำนวณแบบใหม่จะเท่ากับ  26คน

พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 1,258,518  คะแนน

ส.ส.จากสูตรการคิดคำนวณแบบใหม่จะเท่ากับ 18 คน

พรรคพลังชล 256,881 คะแนน

ส.ส.จากสูตรการคิดคำนวณแบบใหม่จะเท่ากับ 7 คน

 

พรรคมาตุภูมิ 370,260 คะแนน 

 ส.ส.จากสูตรการคิดคำนวณแบบใหม่จะเท่ากับ 5 คน

 

เมื่อพิจารณาส.ส.รวมของแต่ละพรรค เช่น

1.พรรคเพื่อไทย แต่เดิมได้ส.ส.รวม265 คน คิดจากสูตรใหม่มีส.ส.211คน

 

2.พรรคประชาธิปัตย์ แต่เดิมได้ส.ส.รวม159 คน คิดจากสูตรใหม่มีส.ส.147คน

 

3.พรรคภูมิใจไทย แต่เดิมได้ส.ส.รวม34 คน คิดจากสูตรใหม่มีส.ส. 50คน

 

4.พรรคชาติไทยพัฒนา  แต่เดิมได้ส.ส.รวม19 คนคิดจากสูตรใหม่มีส.ส.26คน

 

 5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่เดิม ได้ส.ส.รวม 7 คนคิดจากสูตรใหม่มีส.ส.18คน

 

6.พรรคพลังชล แต่เดิม ได้ส.ส.รวม7คนคิดจากสูตรใหม่มีส.ส.8 คน

 

7.พรรคมาตุภูมิ แต่เดิม ได้ส.ส.รวม  2 คน คิดจากสูตรใหม่มีส.ส.1คน

พี่ฟาง---ซึ่งจากสูตรที่ทางเราได้นำเสนอไปนั้นก็เป็นไปได้อยากว่าเพียงคะแนนของเพื่อไทยนั้นจะมีคะแนนเพียงพอที่จะได้เป็นผู้นำรัฐบาล

หรือถ้าหากโอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยจะร่วมมือกันก็แทบไม่สามารถเกิดขึ้นได้หรือเกิดขึ้นยากมาก

 

เรียบเรียงโดย : วัสดา สำนักข่าวทีนิวส์