ที่ผ่านมา ทำอะไรกันอยู่ ??!! สรรพากรเกียร์ว่าง ปล่อย"ภาษีหุ้นชินฯ" หมดอายุความ แถมย้ำคงไม่ดำเนินการใดๆ??!!

ที่ผ่านมา ทำอะไรกันอยู่ ??!! สรรพากรเกียร์ว่าง ปล่อย"ภาษีหุ้นชินฯ" หมดอายุความ แถมย้ำคงไม่ดำเนินการใดๆ??!!

นับถอยหลังกรณีมหากาพย์ภาษี "หุ้นชินคอร์ป" ของนายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งใกล้ขาดอายุความสิ้นเดือนมีนาคมนี้!! โดยเรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549  ซึ่งนายทักษิณ ไม่ได้แสดงรายได้จากการขายหุ้นเพื่อเสียภาษี โดยการประเมินภาษีจะหมดอายุความในวันที่ 31 มีนาคม 2560 ซึ่งทางกรมสรรพากรไม่เคยออกหมายเรียกนายทักษิณภายใน 5 ปีและคำถามสำคัญคือว่าทำไมกรมสรรพากร  กระทรวงการคลัง  ถึงปล่อยปละละเลยให้เรื่องนี้ล่วงเลยมาถึง 5 ปี โดยไม่แสดงท่าทีใดๆกับเรื่องดังกล่าว จนกระทั่งคดีจะขาดอายุความ

โดยรายงานข่าวจากกรมสรรพากรเปิดเผยว่า ทางกรมสรรพากรคงไม่ดำเนินการใดๆเกี่ยวกับกรณี การเก็บภาษีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป เพราะกรมสรรพากรได้ดำเนินการมาถึงที่สุดแล้ว อายุความได้สิ้นสุดไปตั้งแต่ 31 มีนาคม 2555  ส่วนการที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้เสนอให้ใช้อายุความตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มีอายุความ10ปี  ทางกรมสรรพากรไม่สามารถดำเนินกรได้ เพราะตามหลักกฏหมายแล้ว ในเมื่อมีกฏหมายเฉพาะนั้น จะใช้กฏหมายเฉพาะในเรื่องการกำหนดอายุความ จะต้องใช้กฎหมายเฉพาะนั้น จะใช้กฎหมายทั่วไป หรือ จะใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้

ตามประมวลรัษฎากรของกรมสรรพากร ระบุไว้ว่า อายุความในกรณียื่นภาษีไม่ถูกต้อง มีอายุความ 5 ปี แต่กรณีผู้เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบนั้น มีอายุความ 10 ปี แต่สำหรับกรณีภาษีหุ้นชินคอร์ปนั้น นายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร ได้ทำการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2550 แล้ว ดังนั้น อายุความในกรณีนี้จึงอยู่ที่ 5 ปี และหมดอายุความไปแล้ว 

โดยศาลภาษีอากรกลางได้พิพากษาเพิกถอนการประเมินภาษีในคดีหุ้นชินคอร์ปต่อนายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร ซึ่งหลังจากศาลภาษีอากรกลางพิพากษาแล้ว กรมสรรพากรในขณะนั้น ที่มีอดีตอธิบดีกรมสรรพากร นายสาธิต รังคสิริ ไม่ดำเนินการยื่นอุทธรณ์ และเสนอให้ นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง ในสมัยนั้น และอัยการสูงสุด ลงนามในการไม่อุทธรณ์ในครั้งนี้

 

ทั้งนี้หากย้อนไปดูอธิบดีกรมสรรพากร ตั้งแต่งช่วงเกิดเหตุปี 2550 จนถึงปัจจุบัน พบว่า....

มกราคม 2550- ตุลาคม 2551 คือนายศานิต ร่างน้อย 

ตุลาคม 2551- กันยายน 2553 คือ นายวินัย วิทวัสการเวช

ตุลาคม 2553- กันยายน 2556 คือ นายสาธิต รังคสิริ

ตุลาคม 2556- มิถุนายน 2557 คือ นายสุทธิชัย สังมณร

มิถุนายน 2557 - ปัจจุบัน คือ นาย ประสงค์ พูนธเนศ

 

 

อย่างไรก็ตามหากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรไม่ทำอะไรเลยและปล่อยให้เวลาเดินผ่านไปเฉยๆ จนคดีขาดอายุความ เท่ากับว่าเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรจะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ก็ต้องพิจารณาว่าหากเจ้าหน้าที่รู้อยู่แล้วว่าต้องออกหมายเรียก แต่ไม่ดำเนินการ ก็จะมีความผิดละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  ใช่หรือไม่??

 โดยประมวลกฎหมายอาญา

หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ

 

 

 

เรียบเรียง วิลาสินี แววคุ้ม