วัดของรัฐแต่มูลนิธิของเอกชน!! จับตา"มูลนิธิธรรมกาย"ผิดวัตถุประสงค์ เอาเงินไปผ่านมูลนิธิ เส้นเลือดใหญ่..หล่อเลี้ยงวัด !!??

วัดของรัฐแต่มูลนิธิของเอกชน!! จับตา"มูลนิธิธรรมกาย"ผิดวัตถุประสงค์ เอาเงินไปผ่านมูลนิธิ เส้นเลือดใหญ่..หล่อเลี้ยงวัด !!??

ดูเหมือนจะหมดสิ้นฤทธิ์ สำหรับกรณีของวัดพระธรรมกาย แต่อย่างไรก็ไว้ใจไม่ได้ ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่เงียบๆ ประนึ่งคลื่นใต้น้ำอยู่ตลอดเวลา และสิ่งที่ต้องจับตา คือเส้นเลือดใหญ่ของธรรมกาย ไม่ได้อยู่ที่วัด แต่อยู่ที่มูลนิธิ โดยเฉพาะ "มูลนิธิพระธรรมกาย" พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 95 เป็นส่วนของมูลนิธิธรรมกาย มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่เป็นส่วนของวัดพระธรรมกาย ดังนั้นภาครัฐต้องเข้าไปดูและจัดการเรื่องมูลนิธิอย่างจริงจัง

ล่าสุด นายขจรศักดิ์ พุทธานุภาพ อัยการพิเศษ ฝ่ายสอบสวน 3 ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานร่วมสอบคดี พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ผู้ต้องหาตามหมายจับข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และรับของโจร ในคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น  เปิดเผยถึง ปมเรื่องทรัพย์สินวัดพระธรรมกาย ตั้งข้อสังเกตไว้หลายเรื่อง โดยเฉพาะมูลนิธิต่างๆที่ไปทำผิดวัตถุประสงค์ ผิดกฎหมาย ที่ดินที่ไปซื้อต่างจังหวัด ตั้งข้อสังเกตไว้เลยว่าทรัพย์ของวัดพระธรรมกายเกือบทั้งหมดไม่ได้อยู่ในฐานะของธรณีสงฆ์ เลยไม่ได้ยกให้เป็นของวัด แต่คนเข้าใจว่าเป็นของวัด วัดจริงๆมีแค่ 100 กว่าไร่ นอกนั้นไม่ใช่ ไม่มีการยกให้เลย

“ตรงนี้จะเห็นว่าเอาเงินวัดมาทำในสิ่งเหล่านี้ และแถมมูลนิธิเหล่านี้ไปทำผิดกฎหมายอีก เช่น รุกป่า สร้างคอนโด และเงินที่ฟอกที่ผิดกฎหมายก็เข้ามาอีก ซึ่งวันนี้ (15 มี.ค.) จะมีการประชุมเพื่ออัพเดท ทั้งในการเล่นหุ้นของวัดพระธรรมกาย และเรื่องของการเอาเงินไปผ่านมูลนิธิ”

 

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ( ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้มีการระบุไว้ว่า

มาตรา 31 วัดมีสองอย่าง

 (1) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

 (2) สำนักสงฆ์

 

 ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป

 

แต่ในขณะเดียวกันนั้นเจ้าอาวาสวัดก็เรียกได้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ รัฐ โดย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เจ้าอาวาสหมายความว่า บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ ไม่ว่าเป็นประจำหรือชั่วคราว และหมายความรวมถึงบุคคลผู้ทำหน้าที่ช่วยราชการ ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นเจ้าพนักงานเฉพาะคดีด้วย ซึ่งผู้อ่านคงหมายความได้ถึงข้าราชการทั่วไป เช่น ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา ทหาร นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น และที่ผ่านๆ มานั้นในแต่ละวัดก็จะมีการรับบริจาคเงินแต่ถ้าวัดไหนที่มีประชาชนมาบริจาคกันเป็นจำนวนมากก็จะมีการตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อที่จะมาดูแลจัดการเรื่องการเงิน โดยมูลนิธินั้น ก็จะเป็นนิติบุคคล ถ้าทรัพย์สินของมูลนิธินั้นถูกยึดก็จะตกเป็นของรัฐบาล

 

แต่ถ้ามูลนิธินั้นได้ทำผลเสื่อมเสียหรือไม่ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์นั้นก็จะมีการเรียกร้ององขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เลิกมูลนิธิ โดยตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในมาตราที่ 129 ในกรณีที่กรรมการของมูลนิธิผู้ใดดำเนินกิจการของ มูลนิธิผิดพลาดเสื่อมเสียต่อมูลนิธิ หรือดำเนินกิจการฝ่าฝืนกฎหมาย หรือข้อบังคับของมูลนิธิหรือกลายเป็นผู้มีฐานะหรือความประพฤติ ไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ นายทะเบียน พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดอาจร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งถอดถอนกรรมการของมูลนิธิผู้นั้นได้

และหากทางมูลนิธิของวัดพระธรรมกายนั้นถูกเจ้าหน้าที่ยกเลิกก็ต้องมีการชำระบัญชีมูลนิธิ ตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในมาตราที่ 133 ซึ่งนั้นก็อาจจะรวมไปถึงที่ดินและทรัพย์สินของทางวัด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ภายในวัด ซึ่งเราก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ว่า สิ่งเหล่านี้จะถูกทำงาย หรือนำไปขายทอดตลาด หรือจะอายัดไว้ เพื่อให้ได้รู้ว่าประเทศไทยเคยมีวัดพระธรรมกาย

อย่างไรก็ตาม เมื่อ3 มี.ค. ที่ผ่านมานายไพศาล พืชมงคล อดีตสมาชิกวุฒิสภาและกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Paisal Puechmongkol ว่า “องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก มีมติถอดถอนสมาชิกภาพมูลนิธิธรรมกาย และปลด นพ.พรชัย พิญญพงษ์ สาวกธัมมชโย ออกจากตำแหน่งประธานยุวพุทธโลกแล้วครับ นี่เป็นของจริง”

ทั้งนี้ มูลนิธิธรรมกายจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี2513 เดิมใช้ชื่อว่า มูลนิธิธรรมประสิทธิ์ โดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคบ ณ กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2513 เมื่อสร้างวัดพระธรรมกายเสร็จได้ขอแก้ไขเอกสาร เปลี่ยนชื่อเป็น "มูลนิธิพระธรรมกาย" เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2525 ณ ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี และเพื่อไม่ให้สับสนกับชื่อวัด จึงจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจาก มูลนิธิพระธรรมกาย เป็น "มูลนิธิธรรมกาย" โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ตามหนังสือที่ ศธ 1304/6088 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2528

วัดเป็นสถานที่ราชการ แต่มูลนิธิไม่ใช่ ดังนั้นเส้นทางการเงินหรือที่ดิน หรืออะไรต่างๆที่มีผลประโยชน์ จะผ่านมูลนิธิธรรมกายเสียส่วนใหญ่ ใช่หรือไม่???

 

 

เรียบเรียง วิลาสินี แววคุ้ม