ย้อนพฤติกรรมข้าแผ่นดินอุ้ม"ชินวัตร"เลี่ยงภาษีหุ้นชิน จากข้าราชการซี10 สู่รมช.คลังยุค"ยิ่งลักษณ์" !! สะท้อนอิทธิพล"ทักษิณ"ในราชการไทย

ย้อนพฤติกรรมข้าแผ่นดินอุ้ม"ชินวัตร"เลี่ยงภาษีหุ้นชิน จากข้าราชการซี10 สู่รมช.คลังยุค""ยิ่งลักษณ์ !! สะท้อนอิทธิพล"ทักษิณ"ในราชการไทย

เป็นที่ทราบกันดีถึงสำหรับการให้ความช่วยเหลือของ นางเบญจา หลุยเจริญ บิ๊กข้าราชการกรมสรรพากร  ที่ยื่นมือให้ความช่วยเหลือในคดีครอบครัวชินวัตรเลี่ยงภาษีซื้อหุ้น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น และถือเป็นตัวการสำคัญ เป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

วันที่ 21 กันยายน 2548 นางเบญจา หลุยเจริญ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี (ซี 10) ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ได้ลงนามในหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0706/7896 ตอบข้อหารือนางสาวปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ ว่า “กรณีนายพานทองแท้ และนางสาวพินทองทา ชินวัตร ซื้อหุ้นชินคอร์ปในราคาต่ำกว่าราคาตลาด เป็นการซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ซึ่งเป็นเรื่องของการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย อันเป็นเรื่องปกติทั่วๆ ไปของการซื้อขายตามมาตรา 453 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาตลาดไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา39 แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนกรณีบริษัทแอมเพิลริชขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้นายพานทองแท้และนางสาวพินทองทา ชินวัตร ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท ในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ก็ไม่เข้าข่ายพนักงาน หรือกรรมการได้รับแจกหุ้น หรือได้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538เพราะหุ้นชินคอร์ปฯ ที่บริษัทแอมเพิลริชซื้อไว้ถือเป็นทรัพย์สินหรือสินค้าของบริษัท ไม่ใช่หุ้นที่บริษัทแอมเพิลริชเป็นผู้ออกเอง”

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จึงเป็นโจทย์ยื่นฟ้องต่อศาลอาญา แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐอีกครั้ง โดยไม่ผ่านอัยการสูงสุด กล่าวหานางเบญจา หลุยเจริญ เป็นจำเลยที่ 1 นางสาวจำรัส แหยมสร้อยทอง จำเลยที่ 2 นางสาวโมรีรัตน์ บุญญาศิริ จำเลยที่ 3 นายกริช วิปุลานุสาสน์ จำเลยที่ 4 และนางสาวปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ จำเลยที่ 5 ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

ต่อมาวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ศาลอาญาพิพากษาคดีดำหมายเลข อท 43/2558 จำเลยที่ 1(เบญจา)-4 มีความผิดข้อหาร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยมีความผิดตั้งแต่มีการตอบข้อหารือจำเลยที่ 5 วินิจฉัยว่านายพานทองแท้และนางสาวพินทองทา ชินวัตร ไม่ให้ต้องเสียภาษีอากร กรณีซื้อหุ้นชินคอร์ปฯ เมื่อปี 2549 คนละ 164 ล้านหุ้น ในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาหุ้นในตลาด ณ ขณะนั้นอยู่ที่ 49.25 บาท ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริง นายพานทองแท้และนางสาวพินทองทา ชินวัตร ถือเป็นผู้ได้รับเงินพึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ต้องนำส่วนต่างของราคาหุ้น คนละ 7,941.95 ล้านบาท มาเสียภาษีกับกรมสรรพากร การกระทำดังกล่าวทำให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และราชการเสียหาย

จึงตัดสินให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1-4 มีความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ 83 ให้จำคุกคนละ 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา ส่วนจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ 86 มีโทษ 2 ใน 3 จึงสั่งให้จำคุก 2 ปี โดยไม่รอการลงอาญาเช่นกัน 

 

อย่างไรก็ดีทนายความจำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เพื่อขอปล่อยชั่วคราวระหว่างยื่นอุทธรณ์ โดยจำเลยที่ 1-4 ยื่นหลักทรัพย์เป็นหนังสือรับรองเพื่อรับการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่ต้องหาคดีของกรมสรรพากร มีวงเงินไม่เกิน420,000บาท ส่วนจำเลยที่ 5 ยื่นหลักทรัพย์เป็นเงินสด 300,000 บาท เป็นหลักทรัพย์ขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างยื่นคำร้องขออุทธรณ์ต่อสู้คดีในชั้นศาลต่อไป

 

ย้อนพฤติกรรมข้าแผ่นดินอุ้ม"ชินวัตร"เลี่ยงภาษีหุ้นชิน จากข้าราชการซี10 สู่รมช.คลังยุค"ยิ่งลักษณ์" !! สะท้อนอิทธิพล"ทักษิณ"ในราชการไทย

สำหรับ "เบญจา หลุยเจริญ" ตัวจริงเสียงจริง 'คนทักษิณ' เป็นข้าราชการในกรมสรรพากร แต่ในความจริง ไม่ได้มีแค่เบญจา เพียงคนเดียวแต่นี่คือรูปธรรมที่สะท้อนให้เห็นว่าอิทธิพลของทักษิณกุมกรมสรรพากรไว้ในกำมือ อย่าว่าแต่กรมสรรพากรเลย หน่วยงานรัฐต่างๆ ก็มีอิทธิพลของทักษิณอยู่ทั้งสิ้น เพราะทุกคนคาดหวังว่า ไม่นานทักษิณคงกลับมามีอำนาจ และนี่จึงเป็นเรื่องที่ ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องชำระสะสางข้าราชการพวกนี้ ว่าไม่ให้มารับใช้ทักษิณและฝ่ายการเมืองต่อไปได้

ทั้งนี้เบญจา หลุยเจริญ เข้ารับราชการในกระทรวงการคลัง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิบดีกรมสรรพากร ในปี พ.ศ. 2546 เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2548 เป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2551 เป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต ในปี พ.ศ. 2554 และตำแหน่งสุดท้ายคือ อธิบดีกรมศุลกากร ก่อนจะลาออกจากราชการเพื่อมารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ซึ่งเธอเหลือระยะเวลาในการรับราชการอีกเพียง 3 เดือนเท่านั้น