กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านอย่าล้าหลัง!!ต้อง"ยอมรับการปฏิรูป"อย่างลืมตัว!! อดีตคุณก็มาจากการปฏิรูปเช่นกัน !?

กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านอย่าล้าหลัง!!ต้อง"ยอมรับการปฏิรูป"อย่างลืมตัว!! อดีตคุณก็มาจากการปฏิรูปเช่นกัน !?

กำนันผู้ใหญ่บ้านในอดีตนั้นแท้จริงเกิดขึ้นมาจากการปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ได้ก่อให้เกิดการจัดระเบียบการปกครองครั้งสำคัญ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองระดับหมู่บ้านและตำบลนั้น ได้มีการทดลองตั้งผู้ใหญ่บ้านและกำนัน ขึ้นปกครองหมู่บ้านและตำบลเป็นครั้งแรกที่ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2435 ทั้งนี้ เพื่อศึกษาปัญหาและหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข ซึ่งการจัดการปกครองหมู่บ้านและตำบลใหม่นี้มีลักษณะแตกต่างจากเดิมหลายประการ โดยเฉพาะในด้านกระบวนการซึ่งปรากฏในเนื้อหาจดหมายของพระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยะศิริ) ครั้งยังเป็นหลวงเทศาจิตราวิจารณ์ ผู้ได้รับมอบหมายให้ทดลองตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน

 

สืบเนื่องจากประเทศไทยในอดีต ไม่มีขอบเขต เส้นแดน ระหว่างประเทศที่ชัดเจน โดยการเข้ามาของประเทศฝั่งตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ ฝรั่งเศส และอีกหลายๆประเทศทั้งนี้กาแผนที่จะแบ่งเขตแนวประเทศอย่างเดียวไม่ได้ มันก็ต้องขีดในเป็นขอบเขต หมู่บ้าน มาต่อเป็นตำบล จากตำบลเป็นอำเภอ จังหวัดแล้ะท้ายที่สุดก็ได้แผนที่ประเทศไทยขึ้น เพราะฉะนั้นมันจึงจำเป็นต้องมีกำนันผู้ใหญ่บ้าน โดยการปกครองแบบเดิม ใช้ระบบเจ้าเมืองตาม โดยการดูแลนั้นไม่ทั่วถึง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้ยกเลิกการปกครองหัวเมือง และให้เปลี่ยนแปลงเป็นการปกครองส่วนภูมิภาคโดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ขึ้น เพื่อจัดการปกครองเป็นมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ดังนี้
(1) มณฑลเทศาภิบาล ประกอบด้วยเมืองตั้งแต่ 2 เมืองขึ้นไป มีสมุหเทศาภิบาล ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งไปปกครองดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ
(2) เมือง ประกอบด้วยอำเภอหลายอำเภอ มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ ขึ้นตรงต่อข้าหลวงเทศาภิบาล
(3) อำเภอ ประกอบด้วยท้องที่หลาย ๆ ตำบล มีนายอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบ
(4) ตำบล ประกอบด้วยท้องที่ 10 - 20 หมู่บ้าน มีกำนันซึ่งเลือกตั้งมาจากผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ
(5) หมู่บ้าน ประกอบด้วยบ้านเรือนประมาณ 10 บ้านขึ้นไป มีราษฎรอาศัยประมาณ 100 คน เป็นหน่วยปกครองที่เล็กที่สุด มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ
     ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกเลิก มณฑลเทศาภิบาล และเปลี่ยน เมือง เป็น จังหวัด

โดยปัญหาใหญ่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในทุกวันนี้ คือการเป็นฐานเสียงขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต.โดยมีการซื้อสิทธิขายเสียงกันเป็นหลักพันบาทขึ้นไป ยกตัวอย่างหาก หมู่หนึ่ง มีพี่น้องประชาชนประมาณ 300  หลังคาเรือน มีคนประมาณ1,000 คน หากเลือกตั้งที่จะชนะก็ 500เสียงขึ้นไป เสียงละ3,000 บาท ดังเงินเงินที่จะซื้อเสียงแค่ 500เสียง เป็นเงินถึง 1,500,000 บาท

หากถามว่าเงิน 1,500,000 บาท ใครจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการซื้อเสียง?? แน่นอนต้องเป็นผู้สมัครเลือกตั้ง อบต. เพราะว่า อบตในแต่ละปี มีงบประมาทมหาศาลและสามารถที่ช่องทางการทุจริตได้หลากกหลาย และหากถามว่าเลือกตั้งบ่อยๆ คนเหล่านี้จะไม่โกงหรือ ?? คงตอบไม่ได้แต่หากว่ามีการโกงเกิดขึ้นจริง ข้อดีคือประชาชนสามารถตรวจสอบได้ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้