เพราะ(ฝ่าย)"ค้าน" จนชิน  กับ"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"?!

เพราะ(ฝ่าย)"ค้าน" จนชิน กับ"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"?!

ยังคงรักษาอุดมการณ์ "ฝ่ายค้าน" ได้ดีไม่มีเสื่อม  สำหรับหัวหน้าฝ่ายค้าน อย่าง "อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ" เรียกได้ว่ายังคงปฏิบัติและยึดมั่นต่อหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยมถึงแม้รัฐบาลปู-ยิ่งลักษณ์ จะไม่อยู่แล้ว..  จะว่าไปก็ทำได้ดีกว่าตอนอยู่ในสภาเสียอีก

ล่าสุดก็ได้ออมาเขียนจดหมายเปิดผนึก ถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ร่ายยาวกว่า7 หน้ากระดาษ ซึ่งอ่านเท่าไหร่ก็เจอแต่น้ำ ภายหลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีการผ่านกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง โดยให้แต่ละพรรคมีการดำเนินการจัดทำการคัดเลือกผู้สมัครจากสามาชิกพรรค ในแต่ละพื้นที่ด้วยตนเอง ถือเป็นนิมิตรหมายอันดี ก้าวแรกและก้าวสำคัญในการปฏิรูปการเมืองไทย 

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เขียนจดหมายเปิดผนึก ถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ซึ่งสาระสำคัญในจม. ระบุว่า..

ไพรมารี่โหวต มีข้อจำกัดด้วยเหตุผลที่สำคัญสองประการ คือ ความไม่แน่นอนของการมีการเลือกตั้งทั่วไปหรือการเลือกตั้งซ่อม ซึ่งจะต้องจัดขึ้นภายในระยะเวลาค่อนข้างสั้น และกลไกการทำงานของระบบรัฐสภาต้องอาศัยพรรคการเมืองเป็นสถาบันในการรวบรวมผู้มีความคิดเห็นหรืออุดมการณ์ที่คล้ายคลึงกันดำเนินงานในสภาผู้แทนราษฎรอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความมีเสถียรภาพของการทำงานของฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล
ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ไม่เห็นประโยชน์ในระบบไพรมารี่ แต่สนใจที่จะทุ่มเทในเรื่องของการชนะการเลือกตั้งและการควบคุมสมาชิกพรรคมากกว่า จึงเห็นว่ามีปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เช่น

1)การจะมีฐานสมาชิกที่กว้างขวางยังเป็นเรื่องยาก แม้จะได้รับสิทธิในการมีส่วนร่วมต่างๆ
2) ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสาขาพรรคและสำนักงานใหญ่ของพรรคมีจำนวนมากแต่กองทุนพัฒนาพรรคการเมืองรวมทั้งกฎหมายใหม่ กลับมีข้อจำกัดมากขึ้นในการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง
3) หากพื้นที่ใดยังไม่มีความแข็งแกร่งก็จะมีสาขาพรรคที่อ่อนแอหรือถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนบุคคลที่เป็นผู้บริหารสาขาพรรคนั้นให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ทำให้การสนับสนุนคนนอก คนใหม่จากวงการอื่นๆ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เข้ามาสู่การเมืองยากขึ้น

และ4)
จากการที่พรรคฯ ได้ทดลองดำเนินการเมื่อประมาณปีพ.ศ.2556 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น ปรากฏว่า ผู้ที่มาใช้สิทธิ์และผู้ที่ได้รับชัยชนะมีคะแนนเสียงจำนวนค่อนข้างน้อย โดยกลับเป็นการสะท้อนความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะระดมคนใกล้ชิดของตัวเองให้มาลงคะแนนได้มากกว่า พรรคจึงยังไม่พอใจต่อผลการทดลองที่เกิดขึ้น
 

ดังนั้น สิ่งที่มองเห็นก็คือหากกฎหมายที่ร่างอยู่มีผลบังคับใช้ พรรคการเมืองต่างๆ ก็ต้องปฏิบัติไปตามบทบัญญัติตามตัวอักษร แต่ความคาดหวังว่าจะทำให้ประชาชนและสมาชิกของพรรคการเมืองมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของพรรคการเมืองสามารถคัดบุคคลที่มีคุณภาพอย่างที่ผู้ร่างต้องการก็คงจะไม่เกิดขึ้น
ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้มีข้อเสนอดังต่อไปนี้
1)การให้ความสำคัญเบื้องต้นกับการที่พรรคการเมืองจะต้องมีฐานสมาชิกกว้างขวาง เพื่อสามารถมีส่วนร่วมและใช้สิทธิ์ได้โดยอาจจะต้องทบทวนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการชำระเงินค่าบำรุงพรรคหรือมีบทเฉพาะกาล ทอดเวลาการบังคับใช้ในเรื่องการชำระเงินค่าบำรุงหรือการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นหรือทั้งสองเรื่อง
2) การเน้นบทบัญญัติให้การสนับสนุนการมีสมาชิกพรรคการเมือง และการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองโดยรัฐต้องพร้อมที่จะจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองในเรื่องของการบริหารงานของพรรคการเมืองมากกว่าที่เป็นอยู่อย่างมากเพื่อให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริง และบังคับให้การได้มาซึ่งผู้บริหารพรรคจะต้องมีกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยจากฐานราก เพื่อมิให้เกิดการครอบงำพรรคการเมืองจากคนจำนวนน้อย

3) หากยืนยันให้มีการจัดการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นก็ควรให้ กกต.และรัฐให้การสนับสนุนตลอดจนอำนวยความสะดวกในเรื่องของหน่วยเลือกตั้งการดูแลจัดการการเลือกตั้งทั้งหมดเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคการเมืองทั่วประเทศสามารถมาลงคะแนนได้อย่างสะดวก

4)ในกรณีที่มีผู้มาใช้สิทธิ์ไม่มากหรือในกรณีที่มีเหตุผลเกี่ยวกับความเหมาะสมในเรื่องของอุดมการณ์ ความซื่อสัตย์สุจริตความรู้ความสามารถ ควรมีบทบัญญัติที่ชัดเจนให้อำนาจคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครหรือคณะกรรมการบริหารพรรคกลั่นกรองตัดสินใจเลือกผู้สมัครตามความเหมาะสมได้

5)ยกเลิกการใช้ระบบการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นในการจัดลำดับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อแต่ควรกำหนดให้บัญชีรายชื่อดังกล่าวต้องมีความหลากหลายในเรื่องภาพสัดส่วนหญิงชาย เป็นต้น

สำหรับ"ไพรมารีโหวต" ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ดูเหมือนจะได้รับผลประโยชน์เต็มๆในเรื่องนี้ กลับแสดงท่าทีไม่ยอมรับ ไม่เห็นด้วย  เรียกได้ว่า อย่างหัวชนฝ่าย นับเรื่องน่าแปลกใจ แต่ไม่มากนัก เพราะก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์ ก็ได้ออกมาแสดงจุดยืน ค้านการรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แถมยังค้านและไม่รับคำถามพ่วงประชามติที่ให้ส.ว.ร่วมโหวตร่วมนายกรัฐมนตรีในช่วงเปลี่ยนผ่าน5ปี แต่ภายหลังที่พี่น้องประชาชนลงมติรับร่างรธน. และได้ประกาศใช้ในปัจจุบัน นายอภิสิทธิ์ กลับเสนอตัว พร้อมบริหารจัดการบ้านเมืองต่อจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายอภิสิทธิ์ เคยกล่าวว่า" ซึ่งวันนี้พรรคประชาธิปัตย์ก็ยึดถือแนวทางของการปฏิรูปประเทศอยู่แล้ว และพร้อมที่จะเดินหน้าในการปฏิรูปประเทศ อะไรที่รัฐบาลปัจจุบัน คสช. ทำได้ก็อยากให้ทำเสีย  หากทำไม่ได้ประชาธิปัตย์ก็พร้อมที่จะเดินหน้าทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปฏิรูปตำรวจ ปฏิรูปสื่อ และเรื่องต่างๆ แต่ว่าสำคัญที่สุดก็คือพรรคประชาธิปัตย์ ก็เป็ฯพรรคการเมืองในวิถีทางประชาธิปไตย ตามโณดแมปอีกไม่นานก็จะต้องมีการเลือกตั้ง เราก็ต้องมีความพร้อมในการเสนอตัว เสนอแนวคิด เสนอแนวทางให้กับประชาชน.."