บทเรียน"ข้าราชการ"ฝักใฝ่"ระบอบทักษิณ" รุ่งโรจน์ได้ไม่นาน..จุดจบไม่ต่างกัน สุดท้ายไม่พ้นคุกตาราง!!

บทเรียน"ข้าราชการ"ฝักใฝ่"ระบอบทักษิณ" รุ่งโรจน์ได้ไม่นาน..จุดจบไม่ต่างกัน สุดท้ายไม่พ้นคุกตาราง!!

ข้าราชการระบอบทักษิณ ??

ข้าราชการ คือกลไกของรัฐ มีบทบาทหน้าที่หนุนนำนโยบายรัฐบาล ไปสู่การปฏิบัติ ร่วมกับประชาชนทุกภาคส่วน  เสมือนหนึ่ง “ข้อต่อตรงกลาง” ที่เชื่อมระหว่างข้างบนคือรัฐบาล กับข้างล่างคือประชาชน พูดได้ว่า ข้าราชการ แปลว่า ผู้ทำงานต่างพระเนตร พระกรรณ พระมหากษัตริย์ ในการให้บริการดูแลประชาชน แต่ที่ผ่านมาก็ได้มีข้าราชการส่วนหนึ่งทำตัวเหมือนทาสรับใช้นักการเมือง หวังเพียงสิ่งตอบแทนๆ เศษเสี้ยวเล็กๆน้อยๆ ลาภ ยศ ผลประโยชน์ต่างๆตามข้อตกลงของนักการเมือง โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อประเทศชาติบ้านเมือง แม้จะรุ่งโรจน์ในช่วงแรก แต่ในตอนสุดท้ายก็ไม่เห็นมีใครได้ดีตลอดรอดฝั่ง



รายที่ต้องนอนคุก รายล่าสุด“เบญจา หลุยเจริญ” อดีตอธิบดีกรมศุลกากร ก่อนจะลาออกจากราชการมารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งนางเบญจา มีความสนิทสนมกับ “คุณหญิงงพจมาน ณ ป้อมเพชร ” อดีตภรรยาของนายทักษิณ ชินวัตร

โดย 19 ตุลาคม 2560 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์  ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนางเบญจา หลุยเจริญ, น.ส.จำรัส แหยมสร้อยทอง  , น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ  , นายกริช วิปุลานุสาสน์  ทั้งสาม เป็นอดีต ผอ.สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร  กระทรวงการคลัง และ น.ส.ปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิดเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน เป็นจำเลยที่ 1 - 5 ในความผิดฐานร่วมกันเ ป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  โดยศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ทุกประเด็นในคำอุทธรณ์ของ จำเลยทั้งห้านั้นฟังไม่ขึ้น ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยทั้งห้าโดยไม่รอการลงโทษนั้นศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย



โดย ป.ป.ช. โจทก์ นำคดียื่นฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.58  ระบุพฤติการณ์ความผิดสรุปว่า จำเลยที่ 1 - 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อไม่ให้นายพานทองแท้ และน.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรของนายทักษิณ ต้องเสียภาษีอากรหรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย และได้รับประโยชน์ที่มิควร โดยชอบด้วยกฎหมาย



จากกรณีเมื่อปี 2549 นายพานทองแท้ และน.ส.พินทองทา ซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด คนละ 164,600,000 หุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาดหุ้นๆละ 49.25 บาท ถือได้ว่านายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา เป็นผู้ได้รับเงินพึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีส่วนต่างราคาหุ้น คนละ 7,941,950,000 บาท การกระทำของพวกจำเลยดังกล่าวนั้นทำให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และราชการได้รับความเสียหาย  จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามความผิดด้วย



อย่างไรก็ตามเมื่อทั้ง 2 ศาลคือ  มีคำพิพากษายืนคดีซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอัตราเดียวกัน คดีนั้นๆ  จึงต้องห้ามฎีกาในประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงหากจะยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จะต้องให้ผู้พิพากษาที่ได้ร่วมทำสำนวนหรืออัยการสูงสุดเซ็นรับรอง

นี่ไม่ใช่ข้าราชการเพียงรายเดียว ที่หันมาใช้ระบบทักษิณจนต้องหมดอนาคต เหยียบคุกเหยียบตาราง หากยังจำกันได้ เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คดีที่ถือเป็นตำนานการโกง “ธรณีสงฆ์” อย่างคดีทุจริตที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพล์นกว่า 700 ไร่ ของ “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ” อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย และอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย สมัยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย
โดยป.ป.ช.พบว่า ในช่วงที่ นายยงยุทธ เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ใช้อำนาจรักษาการปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 13 มี.ค.45 ในการรับรองการซื้อขายที่ดินวัดธรรมาธิการราม กับ บริษัท อัลไพน์ ว่ามีความถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ทั้งที่ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ธรณีสงฆ์ ไม่สามารถซื้อขายหรือโอนได้

คดีอัลไพล์นในสำนวนของ “ยงยุทธ” ยังแจ๊กพอตแตกอีกด้วย เมื่อถูกนำขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอาญา แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งเพิ่งเปิดทำการได้เพียงไม่กี่เดือน เพื่อเอาผิดคดีทุจริตโดยเฉพาะ

แต่คดีนี้ถือเป็นคดีสำคัญที่อยู่ในความทรงจำของประชาชน และเมื่อ29 ส.ค. ที่ผ่ามา ศาลอาญาแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ นัดอ่านคำพิพากษาคดีนายยงยุทธ ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เมื่อครั้งเป็นรองปลัดมหาดไทย รักษาราชการแทนปลัดมหาดไทยเมื่อปี 2544 กรณีการจดทะเบียนโอนมรดกและโอนสิทธิขายที่ดินสนามกอล์ฟ อัลไพน์ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมิชอบ ศาลพิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา นายยงยุทธ ต่อมาศาลอนุญาตให้ประกันตัวนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ตีราคาประกันนายยงยุทธ เป็นเงินสด 5 แสนบาท ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล และให้รายงานตัวต่อศาลทุก 30 วัน

และอีกหนึ่งรายที่จะไม่พูดถึงก็จะยังไงๆอยู่สำหรับอย่างนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ล่าสุด คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.)ได้มีมติชี้มูลนายธาริต แล้วกรณีการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จอีกคดีภายหลังมีมติชี้มูลความผิดกรณีร่ำรวยจำนวน 346 ล้านบาทเมื่อช่วงต้นปี 2559 ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะนัดพิจารณาครั้งแรกหรือนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 รวมแล้วปปช.ได้ชี้มูลความผิดต่อนายธาริต 2 คดี
และเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2560 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เผยแพร่หนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีลงโทษไล่นายธาริต ออกจากราชการ กรณีที่ได้ดำเนินการตามที่ประธานกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดนายธาริต ร่ำรวยผิดปกติกว่า 346 ล้านบาท และดำเนินการตามมาตรา 80 (4) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ร.บ.ป.ป.ช.) ที่กำหนดว่า หากมีมติแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการสั่งลงโทษไล่ออก หรือปลดออก โดยถือว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่

และนี่คือตัวอย่างข้าราชการที่ฝั่งใฝ่ระบอบทักษิณ ขายจิตวิญญาณเพื่อแลกมากับลาภยศ ฉาบฉวย ท้ายที่สุดก็ไม่เห็นจะมีบนคนจากระบอบทักษิณคนไหนเอื้อมมือเข้าช่วยเหลือเลยสะครั้ง!!