"พิเชษฐ"ขั่วตรงข้าม"สุเทพ"ปลุกกระแส"พท."จับมือ"ปชป."ชูธงประชาธิปไตย!!ต้านนายกคนนอก วัดเสียงในสภา "อภิสิทธิ์"ตัดสินใจอย่างไร??

"พิเชษฐ"ขั่วตรงข้าม"สุเทพ"ปลุกกระแส"พท."จับมือ"ปชป."ชูธงประชาธิปไตย!!ต้านนายกคนนอก วัดเสียงในสภา "อภิสิทธิ์"ตัดสินใจอย่างไร??

กระแสข่าวจับมือทางการเมืองระหว่างสองพรรคใหญ่ “เพื่อไทย” และ ”ประชาธิปัตย์” กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง โดยมีการจุดกระแสขึ้นมาอีกครั้งจาก นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล อดีต ส.ส.กระบี่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) สู่การรับลูกของ นายอำนวย คลังผา อดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย (พท.) ที่ ยื่นข้อเสนอให้ทั้งสองพรรคจับมือจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน ภายหลังการเลือกตั้ง เพื่อสกัด ต้านกระแสนายกรัฐมนตรีคนนอก

 

ซึ่งต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า นายพิเชษฐ มีความสนิทสนมกับ นายชวน หลีกภัย ซึ่งที่ผ่านมาในพรรคประชาธิปัตย์เอง นายพิเชษฐถือว่าเป็นขั่วตรงข้าม กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณมาตลอด 

 

ทั้งนี้ตัวนายพิเชษฐเองเคยพูดถึงจุดกำเนิดของตนว่า “ผมเกิดที่เดียวกับคุณสุเทพ ที่อำเภอพุนพิน ริมแม่น้ำตาปี สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนคุณสุเทพ 5-6 ปี คิดว่าสะดือยังฝังอยู่ริมแม่น้ำตาปี ห่างกันไม่เยอะ แทบจะเป็นคนบ้านเดียวกัน”

 

โดยการยืนอยู่ตรงข้าม นายสุเทพนั้น  อาจจะเกิดจากในมีความคิดเห็นแตกตากกันในพรรค หรือ เพราะนายสุเทพ ออกมาสนับสนุน “รัฐบาลทหาร” ก็ตามแต่ !!   ในช่วงรอยต่อ2557  ที่กลุ่ม กปปส. ออกมาประท้วงต่อต้านร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรม ก่อนยกระดับเป็นปฏิบัติการ  ขับไล่รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยมีแกนนำเป็นคนประชาธิปัตย์เกือบค่อนพรรค เช่น สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ, สาทิตย์ วงศ์หนองเตย, วิทยา แก้วภราดัย, อิสสระ สมชัย, ถาวร เสนเนียม, พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ฯลฯ ซึ่งฝ่ายพิเชษฐ์ ก็ได้ออกมาแสดงจุดยืนเช่นกัน แต่แตกต่างกันโดยสินเชิง ว่า อยู่คนละข้างกับ กปปส. เสมอ โดยโพสต์เฟซบุคว่า

“ไม่มีอะไรที่ผมไม่ชอบคุณสุเทพ เป็นส่วนตัว แต่คนโต ๆ ด้วยกัน ความคิดทางการเมืองอาจต่างกันบ้าง โดยเฉพาะการเอาอนาคตของพรรค ปชป. ไปผูกติดกับงานของ กปปส.เพราะพลาดไป เท่ากับอนาคตของ ปชป.จบลงด้วย”

“ผมไม่เห็นด้วยกับการลาออกทั้งพรรค ออกจากสภาฯ มาสู้ข้างถนน เมื่อเป็นนักการเมือง ต้องสู้ในสภา นักมวยอาชีพต้องไม่ชกนอกเวที"

 

อีกทั้งการที่ นายพิเชษฐเอง เคยประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ มาแล้ว ซึ่งกับข้อเสนอในครั้งนี้ ก็เห็นได้ว่าต้องการสกัดทางของพล.อ.ประยุทธ์ ดังที่เคยเสอนสูตรไปก่อนหน้านี้แล้วว่า การสรรหานายกฯหลังการเลือกตั้งจะต้องใช้เสียงของสมาชิกรัฐสภาคือ สส. 500 คน และสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 250 คน รวมกันให้ได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งสองสภาคือ 375 เสียงขึ้นไป อีกทั้งด้วยระบบเลือกตั้งแบบใหม่ที่ทุกคะแนนเสียงมีค่าในการคำนวณ สส.ที่แต่ละพรรคจะได้รับทำให้พรรคใหญ่จะได้สส.น้อยลงโดยจะถูกเฉลี่ยไปให้พรรคขนาดกลางและขนาดเล็ก 

จากการคำนวนสูตรแบบสัดส่วนผสม โดยตัวเลขที่ดูนั้นเป็นฐานข้อมูลเดิมจากการเลือกตั้งตั้งปี 54นำมาอธิบายเป็นตัวอย่าง เนื่องจากจะใกล้เคียงกับการเลือกตั้งในสัดส่วนผสม ตาม การเลือกตั้ง ในครั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญปี 60 นั้นก็คือ ในการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม จะนำเอาจำนวน ผู้ใช้สิทธิ์ทั้งหมดมาหารด้วยจำนวน สส. 500 ที่นั่ง ก็จะได้มาเป็นคะแนนเสียง สส.ต่อ หนึ่งคน

ตัวอย่าง
ผู้มาใช้สิทธิ์ มีจำนวนว 35,203,107 คน หาร จำนวนที่นั่งสส. 500 ตำแหน่ง = 70,406  ซึ่งตัวเลขนี้หมายถึง คะแนนต่อ สส.1คน

และเมื่อจะหาจำนวนสส. ของแต่ละพรรค ก็คือ  จะนำคะแนนของ พรรคเพื่อไทย
ซึ่งในปี 57 พรรคเพื่อไทย 15,744,190 จากคะแนน ปาร์ตี้ลิสต์ โดยสมมุตว่าเป็นคะแนนที่มาจากการเลือกตั้ง สส.เขตทั้งหมด

15,744,190 หารด้วย คะแนนสส.ต่อคน 70,406   ดังนั้นจะได้สส. ทั้งหมด 223 คน ลบด้วยจำนวนสส.แบ่งเขตเลือกตั้ง 204 คน ตามตารางก่อนหน้านี้ ดังนั้นจะเหลือสส.ที่มาจากปาร์ตีลีสต์เพียง 19คนเท่านั้น

 
พรรคประชาธิปัตย์  ก็เช่นเดียวกัน นำ 11,433,762 หารด้วย คะแนนสส.ต่อคน 70,406   ดังนั้นจะได้สส. ทั้งหมด 162 คน ลบด้วยจำนวนสส.แบ่งเขตเลือกตั้ง 115 คน ตามตารางก่อนหน้านี้ ดังนั้นจะเหลือสส.ที่มาจากปาร์ตีลีสต์จะสูง ถึง 47 คน

ขณะที่พรรค อื่นๆ นำ 8,025,155  หารด้วย คะแนนสส.ต่อคน 70,406   ดังนั้นจะได้สส. ทั้งหมด 113 คน ลบด้วยจำนวนสส.แบ่งเขตเลือกตั้ง 56 คน ตามตารางก่อนหน้านี้ ดังนั้นจะเหลือสส.ที่มาจากปาร์ตีลีสต์จะสูง ถึง 57 คน

ซึ่งสองพรรคนี้ ก็เป็นฐานเสียง สองก้อนใหญ่ในสภาฯ แต่อย่าลืมเสียง ของวุฒิสภา อีก 250 เสียง เพราะฉะนั้น การที่จะเลือกนายก มีทางเลือกอยู่ 2แนวทาง ก็คือ สองพรรคใหญ่คือพรรคเพื่อไทยจะจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์เพื่อต้านนายกฯคนนอก กับ พรรคใดพรรคหนึ่งจับมือกับสว. เลือกพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกคนนอก ซึ่งในกรณีนี้ พรรคเพื่อไทย ก็ไม่น่ามีความเป็นไปได้ อยู่แล้ว ดังนั้นโอกาสความเป็นไปได้ ตกมาที่พรรคประชาธิปัตย์ แต่จะเป็นไปได้ในขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังเป็นหัวหน้าพรรคนั้น เมื่อแนวความคิดของนายอภิสิทธิ์ กับนายพิเชษฐ ก็ใกล้เคียงกันตั้งแต่คราวไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เท่ากับเป็นแนวร่วมให้คนเสื้อแดง และ พรรคเพื่อไทย ที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เหมือนกัน

 

เพราะฉะนั้น ในความหมายของการที่จะรักษา “ระบอบประชาธิปไตย” โดยการชูธงดังกล่าว ก็มีความเป็นไปได้ที่ สองพรรคจะจับมือกัน ดังนั้นต่อมาจะเกิดคำถามว่า แล้วใครจะเป็นนายก?? เพราะโดยทั่วไป คะแนนเสียงหลังจากการเลือกตั้ง เชื่อได้ว่า  เสียงส่วยใหญ่พรรคเพื่อไทยจะชนะอยู่แล้ว เมื่อดูจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา

พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสียงสส . แบบแบ่งเขต จากกทม.23 เสียง ภาคกลาง 25 เสียง ภาคใต้ 50 เสียง ภาคเหนือ13 เสียง และภาคอีสานเพียง4 เสียง

 

ขณะที่พรรคเพื่อไทย ได้เสียงสส.แบบแบ่งเขต จากกทม.10เสียง ภาคกลาง 41 เสียง  ภาคใต้ 0 เสียง ภาคเหนือ49 เสียง และภาคอีสานเพียง104 เสียง

 

เพราะฉะนั้นก็ต้องติดตามต่อไปว่าพรรคประชาธิปัตย์จะยอมจับมือหรือไม่ แล้วจะให้คนจากฝั่งพรรคเพื่อไทยเป็นนายกหรือไม่? หรือจะเสียงล่ำลือกันมาว่า เพื่อไทย อาจจะยอมให้นายอภิสิทธิ์ เป็นนายก ส่วนเพื่อไทยของแค่ได้เป็นรัฐบาล ก็ต้องมาตั้งสมติฐานว่านายอภิสิทธิ์ จะตัดสินใจอย่างไร. และคนพรรคประชาธิปัตย์ในส่วนอื่นๆ จะคิดเห็นอย่างไร