จับตาในนาทีสุดท้าย!"ประชาธิปัตย์"จะยืนข้าง"บิ๊กตู่"หรือไม่? เทียบ"พิชัย"ยก"ป๋าเปรม"นายกคนนอก??..ลดอัตราเพื่อบ้านเมือง!!?

จับตาในนาทีสุดท้าย!"ประชาธิปัตย์"จะยืนข้าง"บิ๊กตู่"หรือไม่? เทียบ"พิชัย"ยก"ป๋าเปรม"นายกคนนอก??..ลดอัตราเพื่อบ้านเมือง!!?

ยังอยู่ที่ประเด็นร้อน การร่วมตัวกันของพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ จัดตั้งรัฐบาล ต่อต้านนายกคนนอก ซึ่งในที่นี่ก็คงหนีไม่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งที่ผ่านหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ที่ยึดหลักการประชาธิปไตยมาโดยตลอด ก็ได้ออกมาแบ่งรับ แบ่งสู้ กับแนวความคิดดังกล่าว  แต่ขณะเดียวกันที่ผ่าน ก็ออกมายืนยันโดยตลอด ว่าจะไม่มีวัน เข้าร่วมกับทางคสช. เพราะผิดหลักการประชาธิปไตย

 

ย้อนกลับไปดูประวัติการเล่นการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ต้องถือว่าพรรคที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่ ในยุคของนายพิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  ซึ่งครองตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในปี พ.ศ. 2525 หลังจากการครบวาระของ พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์  ซึ่งในช่วงนั้นตรงกับยุคที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี สมัยแรกสืบต่อจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

 

จนกระทั่งเกิดเหตุการยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2526 ซึ่งการยุบสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อคลี่คลายปมปัญหาทางการเมืองที่เกี่ยวเนื่องมาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และเมื่อยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 30 วันเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้จัดการเลือกตั้งภายใน 90 วัน ได้จัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2526  ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคชาติไทย ที่มี พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นหัวหน้าพรรค ได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่หนึ่ง โดยได้ที่นั่งไปทั้งสิ้น 110 ที่นั่ง รองลงไปคือ พรรคกิจสังคม ที่มี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรคได้ 99 ที่นั่ง 

 

และพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี นายพิชัย ซึ่งตรงบอกกันก่อนว่านายพิชัย เป็นผู้ที่ต่อต้านการรัฐประหาร และนิยมประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ใตการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ได้ 56 ที่นั่ง ซึ่งไม่มีพรรคใดได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งหมด 324 เสียง ส่งผลให้การจัดตั้งรัฐบาล ปรากฏว่า พรรคกิจสังคม, พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชากรไทยตกลงกันที่จะสนับสนุน พล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ขณะที่พรรคชาติไทย รวมกันกับพรรคการเมืองอื่น ๆ เป็นฝ่ายค้าน  ต่อมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นสมัยที่ 2 ในวันที่ 30 เมษายน ปีเดียวกัน

หากยังไม่ชัดเจนพอ ตอกย้ำด้วยการ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ2529

  สืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลโดย พลเอก เปรม  ได้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ด้วยเหตุผลที่ว่า รัฐบาลมีความขัดแย้งกับสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พุทธศักราช 2522 โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

ในยุคนั้นถือเป็นยุคทองของของพรรคประชาธิปัตย์  ภายใต้การนำของ นายพิชัย  และนายชวน หลีกภัย แกนนำคนสำคัญของพรรค ส่งผลให้ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด ด้วยเสียงมากถึง 99 เสียง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้มากถึง 15 เสียง จึงเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคที่ได้รับเลือกตั้งรองลงมา คือ พรรคชาติไทย 64 เสียง, พรรคกิจสังคม 51 เสียง และพรรคราษฎร 20 เสียง โดยเสียงทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎรมีทั้งหมด 347 เสียง

โดยทั้ง 4 พรรคได้หารือกันถึงการจัดตั้งรัฐบาล ปรากฏว่า ทุกพรรคต่างเห็นชอบให้ พล.อ.เปรม กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย

 

ซึ่งการที่นายพิชัยยอมลดอัตราของตัวเอง จากคนที่ต่อต้านรัฐหาร เปลี่ยนเป็นการเชิญพล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น นอกเหนือจากผลดีที่ได้เข้าร่วมเป็นรัฐบาลแล้ว  ซึ่งยังเห็นแก่ผลประโชยน์ชาติ บ้านเมือง ช่วยชาติ ให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปอย่างมั่งคง

กลับมาที่สถานการณ์ปัจจุบัน  ก็ต้องจับตาดูว่าพรรคประชาธิปัตย์ท้ายที่สุดในนาทีสุดท้ายจะเลือกที่จะสนับสนุน เข้าร่วมกับพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปในนาทีสุดท้ายหลังเลือกตั้งหรือไม่ เพราะ เพราะการสรรหานายกฯหลังการเลือกตั้งจะต้องใช้เสียงของสมาชิกรัฐสภาคือ สส. 500 คน และสมาชิกวุฒิสภา สว.250 คน รวมกันให้ได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งสองสภาคือ 375 เสียงขึ้นไป โดยสว. 250 คนทราบกันดีว่ามาจากการสรรหาโดยคสช.ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ค้ำและล็อคเอาไว้


จากการประเมิน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3กลุ่มก้อนใหญ่ๆ ได้แก้ กลุ่มของเพื่อไทย กลุ่มของประชาธิปัตย์ และกลุ่มที่ของสว โดยมีทางเลือก2 คือ 1เพื่อไทยและประชาธิปัตย์จะต้องจับมือกัน แต่ก็น่าสนใจ หากทั้ง2พรรคจับมือกันจริงๆ ก็คิดดูประเทศจะเป็นอย่างไรต่อไป  ก็คงไม่พ้นอีหรอบเดิมๆ ไม่นานมวลชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ต้องออกมาเดินขบวนในท้องถนนตามเคย 2 แต่หากไม่รวมกัน แล้วพรรคใหญ่ พรรคใดพรรคหนึ่งไม่เลือกพล.อ.ประยุทธ์ ก็คงไม่สามารถจัดตัดรัฐบาลได้ ทำให้พล.อ.ประยุทธ์มีอำนาจด้วยชอบตามรัฐธรรมนูญ สั่งยุบสภา 

 

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องจับตาที่พรรคประชาธิปัตย์ว่ามีความคิดเห็นเป็นประการใด อยากร่วมเป็นรัฐบาลต่อไปอีก 4ปี 8ปี หรือไม่ ซึ่งหากจะเป็นแบบนี้ ก็น่าจะหมายความว่าน่าจะมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ภายในพรรคประชาธิปัตย์ โดยการเอา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค หรือท้ายสุดนายอภิสิทธิ์อาจจะเปลี่ยนใจ รับตำแหน่ง ประธานสภาผู้เทนราษฏร ก็เป็นได้ ซึ่งถือเป็นตำแหน่งที่ทรงคุณค่า มีเกียรติเป็นอย่างสูง

 

ซึ่งนับจากนี้ก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าพรรคประชาธิปัตย์จะตัดสินใจอย่างไรจะยอมเข้าร่วมกับส.ว. จัดตั้งรัฐบาล ยกมือสนับสนุนให้พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกคนนอก ลดอัตราเพื่อบ้านเมือง จากนั้นก็อยู่ไปยาวๆอีกหลายปี หรือไม่หันไปจูบปากกับพรรคเพื่อไทย ตั้งรัฐบาล ต้านนายกคนนอก แต่เตือนว่า ระวังหายนะจะมาเยือน