ต่อพรบ.ความมั่นคงชายแดนใต้ ชี้ชัดความสำคัญ!!แต่"บิ๊กป้อม" เห็นสำคัญแค่ไหน?ทำไมยุบ”ศตช” รวมตร.ท่องเที่ยว  หรือว่าจะเปิดช่องให้ใคร ??

ต่อพรบ.ความมั่นคงชายแดนใต้ ชี้ชัดความสำคัญ!!แต่"บิ๊กป้อม" เห็นสำคัญแค่ไหน?ทำไมยุบ”ศตช” รวมตร.ท่องเที่ยว หรือว่าจะเปิดช่องให้ใคร ??

แม้ในตอนนี้บรรยากาศภายในของพื้นที่ชายแดนใต้  จะมีแนวโน้มในทิศทางที่ดี ตัวเลขสถิติในการก่อเหตุความรุ่นแรงต่างๆที่เกิดขึ้นก็ได้ลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ถึงอย่างไรด้วยความไม่ประมาณ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงในพื้นที่ และล่าสุดก็ได้ต่อพ.ร.บ.มั่นคง 5 อำเภอใต้ ไปอีก 1 ปีเป็นที่เรียบร้อย  ซึ่งมีการประกาศใช้ครั้งแรกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 โดยจะต่ออายุทุกๆ ปี ซึ่งในปีนี้จะหมดอายุ วันที่ 30 พ.ย. ดังนั้นเมื่อมีการต่ออายุแล้ว จะทำให้มีผลในการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ จนถึงวันที่ 30 พ.ย.  2561 โดย กอ.รมน. เป็นผู้เสนอคณะรัฐมนตรี ภายใต้เหตุผลเพื่อดำรงรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ ความปลอดภัยในสภาวะแวดล้อม ให้ประชาชนประกอบอาชีพได้อย่างสันติสุข

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศราชกิจจานุเบกษา ประกาศ เรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี และ อ.จะนะ อ.นาทวี อ.เทพา และอ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ยังคงปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร เป็นผลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสามารถแก้ไขและควบคุมไว้ได้ในระดับหนึ่ง

ต่อพรบ.ความมั่นคงชายแดนใต้ ชี้ชัดความสำคัญ!!แต่"บิ๊กป้อม" เห็นสำคัญแค่ไหน?ทำไมยุบ”ศตช” รวมตร.ท่องเที่ยว  หรือว่าจะเปิดช่องให้ใคร ??



“พล.อ. ประวิตร”  กล่าวถึงกรณีที่ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศการต่ออายุ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในพื้นที่ 5 อำเภอในภาคใต้ โดยยืนยันว่าเป็นการต่ออายุ พ.ร.บ. ตามปกติเพื่อใช้ดูแลความมั่นคงในพื้นที่ เนื่องจากการประกาศใช้ พ.ร.บ.ที่ดูแลในพื้นที่ดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ 

ซึ่งการต่ออายุพรบ.ความมั่นคง มาพร้อมๆกับตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหน้า หรือ คปต.ส่วนหน้า คนใหม่ คือ พล.อ.สุรเชษฐ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แทน พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ที่ทำหน้าที่อยู่เดิม หลังต้องพ้นจากเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม จากการปรับโยกย้าย ครม.ประยุทธ์ 5

โดยตำแหน่ง ประธาน คปต.ส่วนหน้า จะทำหน้าที่ประสานกับหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ เน้นการบูรณาการโครงการพัฒนาและงบประมาณ เพื่อเสนอต่อ คปต.ชุดใหญ่ ที่มี “พล.อ.ประวิตร” เป็นประธาน

ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า..
“ในส่วนของ คปต.ส่วนหน้า วันนี้ได้หารือกับ พล.อ.ประวิตร ไปแล้วว่าจะมอบหมายให้ พล.อ.สุรเชษฐ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งลงพื้นที่ทำงานในภาคใต้อยู่แล้ว เป็นผู้รับผิดชอบ"

ชัดเจนว่า ณ ปัจจุบัน รัฐบาล และกองทัพ เล็งเห็นถึงความสำคัญของความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นอย่างมาก แต่ที่น่าแปลกใจ หรือมีบางส่วนที่ขัดแย้งในตัวเองอยู่ โดนเฉพาะ สำหรับการยุบ"ศูนย์ปฏิบัติการตํารวจจังหวัดชายแดนภาคใต้" หรือ ศชต. ในการดูแลของ "สำนักตำรวจแห่งชาติ" โดยความเห็นชอบ ของ”พล.อ.ประวิตร “จนไปถึงครม.อนุมัติให้จัดตั้งกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยวตั้งกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว (บก.ทท.)  

ทั้งนี้ "ศูนย์ปฏิบัติการตํารวจจังหวัดชายแดนภาคใต้" หรือ ศชต. ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงื และปัญหา3จังหวัดชายแดนภาคใต้  แต่กลับนำมารวมกับกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 (บช.ภ.9) ซึ่งยกฐานะจากกองบังคับการตํารวจท่องเที่ยว สังกัดกองบัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง ส่งผลให้ การกําหนดหน่วยงานและเขตอํานาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครองของส่วนราชการในสังกัด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ  เท่ากับว่า สำนักงานตำรวจ ไม่เห็นค่า ความสำคัญของความมั่นคงใช่หรือไม่   จึงได้ตั้งเรื่องดังกล่าวขึ้นมา
จึงเกิดคำถามตามมาว่าถ้ามีภัยความมั่นคงเกิดขึ้นเช่นระเบิด หรือก่อการร้าย ใครจะมาท่องเที่ยวในพื้นที่  การตัดสินใจดังกล่าวเป็นการตัดสินใจด้วยผลประโยชนร์ประเทศชาติจริงหรือไม่??

ถ้าตัดสินใจเพื่อประเทศ ก็ควรจะผลักดันให้  "ตำรวจท่องเที่ยว " ไปขึ้นอยู่กับ "กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา" จะได้ทำงานร่วมกันได้อย่างสมบรูณ์แบบ ดูแลกิจการท่องเที่ยวของประเทศอย่างเต็มที่  ไม่ต้องมาติดกับโครงสร้างอันใหญ่โต ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นการตอบโจทย์ ปฏิรูปตำรวจ ในการกระจายโครงสร้างและภารกิจ ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ได้มอบหมายนโยบายไว้ อีกทางหนึ่ง แต่ทว่ากลับไม่เป็นเช่นนั้น!!  การยุบ"ศูนย์ปฏิบัติการตํารวจจังหวัดชายแดนภาคใต้" เท่ากับว่าเป็นการเปิดทาง ตำแหน่ง หรืออัตราให้ใครบางคนเข้ามาใช่หรือไม่ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ก็ได้ แต่เรื่องดังกล่าว ได้ทำให้ “พล.อ.ประวิตร”เสียหาย และเสียหายคนเดียวไม่พอ นำพาความเสียหายนั้นมาสู่ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรับมนตรีด้วย

เป็นธรรมดาที่ทุกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทั้งหมด จะมีชื่อของ “พล.อ.ประวิตร”ปรากฏอยู่เสมอ ก็เพราะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ในฐานะ “รองนายกฝ่ายความมั่นคง” แต่ที่ไม่สนิทใจ เห็นจะเป็นการสั่งยุบ “ศชต”นี่เอง ชาวบ้านเขาจึงสงสัยตกลงความมั่นคง ชายแดนใต้สำคัญในสายตาย“พล.อ.ประวิตร” หรือไม่