เปิดประวัติ "ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ" สุดยอดนักการเมืองไทย-อาเซียน (รายละเอียด)

ประวัติ "ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ" นักการเมืองไทยผู้สร้างชื่อไว้มากมาย ก่อนถึงแก่กรรมด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวในวัย 68 ปี

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ

   ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เกิดวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีบิดาเป็นครูสอนศาสนาอิสลาม ศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านตาล ศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช และ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2515 ปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (พ.ศ. 2517) และปริญญาเอกด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (พ.ศ. 2522)[2] เริ่มอาชีพนักวิชาการในตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่าง พ.ศ. 2518-2529
 

การทำงานทางการเมือง
สุรินทร์ พิศสุวรรณ เข้าสู่แวดวงการเมืองในปี พ.ศ. 2529 โดยได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเข้ามาในสภาผู้แทนราษฎรติดต่อกัน 7 สมัย เคยเป็นเลขานุการของนายชวน หลีกภัย ขณะที่นายชวนดำรงตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2529-2531) ต่อมาเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538[6] และเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 ต่อมาสุรินทร์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน โดยเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 หลังจากที่ได้มีการส่งชื่อไปยังรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2550 และได้รับการรับรองจากชาติสมาชิกอย่างเป็นทางการในที่ประชุมผู้นำอาเซียน ณ สิงคโปร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550[7]

- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. 2529, 2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2548  หลังได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ดร.สุรินทร์ ได้รับมอบหมายให้ไปช่วยงาน ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ในขณะนั้น) ในตำแหน่งเลขานุการ จากนั้นในปี 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬและมีการเลือกตั้งช่วงเดือน ก.ย. ปีเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง ชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ดร.สุรินทร์ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดำรงตำแหน่งจนถึงปี 2538 ที่มีการประกาศยุบสภาและเลือกตั้งใหม่

- เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายชวน หลีกภัย) ปี พ.ศ. 2529-2531 ได้เริ่มเข้าสู่แวดวงการเมือง ด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่บ้านเกิด คือ จ.นครศรีธรรมราช ในนาม พรรคประชาธิปัตย์ และได้รับชัยชนะได้เป็น ส.ส. เป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ได้เดินบนเส้นทางสายการเมืองมาตลอด

- ผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2531-2534
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ปี พ.ศ. 2535-2538
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ปี พ.ศ. 2540-2544  เมื่อเกิด “วิกฤติต้มยำกุ้ง” หายนะทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย และนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎรได้เลือก ชวน หลีกภัย ให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ ซึ่งเป็นสมัยที่ 2 ในครั้งนี้ ดร.สุรินทร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จนถึงปี 2544 ที่มีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ในช่วงเวลาเดียวกัน ดร.สุรินทร์ ยังได้ผลักดันให้ประเทศไทยได้แสดง “บทบาทนำ” ในวิกฤติครั้งสำคัญหนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) นั่นคือ “ความขัดแย้งในพื้นที่ติมอร์ตะวันออก” ที่คนพื้นเมืองต้องการแยกตัวออกจากอินโดนีเซีย มีเหตุรุนแรงและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ดร.สุรินทร์ ได้เจรจากับ ญี่ปุ่น เพื่อขอทุนสนับสนุน “กองกำลังรักษาสันติภาพ” โดยได้งบประมาณมาราว 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนจะส่งกองกำลังผสมนำโดยทหารจากไทย และ ฟิลิปปินส์ จำนวน 3,400 นาย เข้าไปในพื้นที่ กระทั่งสถานการณ์คลี่คลายลง และพื้นที่ติมอร์ตะวันออกเกิดเป็นประเทศ “ติมอร์-เลสเต” (Timor-Leste) ในที่สุด
- ปี 2550 เมื่อใกล้ถึงวาระที่ประเทศไทยต้องส่งตัวแทนไปดำรงตำแหน่ง เลขาธิการอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ส่งชื่อของ ดร.สุรินทร์ โดยได้เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 ม.ค. 2551 ซึ่งในระหว่างดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน จนครบวาระเมื่อสิ้นปี 2555 ดร.สุรินทร์ เป็นผู้ผลักดันให้เกิด กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) และยังประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนใน 10 ชาติสมาชิก ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประชาคมอาเซียนด้วย
 

   ต้นเดือน ม.ค. 2559 เกิดกระแสข่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่พรรคประชาธิปัตย์ จะ “เปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรค” จากที่มี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งมาหลายปี และในขณะนั้นก็มี “ตัวเต็ง” 2 คน โดย 1 ในนั้นคือ ดร.สุรินทร์ ที่มีความเหมาะสมมากเพราะเคยเป็นถึงเลขาธิการอาเซียน ส่วนอีกคนหนึ่งคือ ดร.ศุภชัย ที่มีความเหมาะสมไม่แพ้กันเพราะเคยดำรงตำแหน่ง ผอ.WTO แต่แล้วไม่นานทั้งคู่ได้ปฏิเสธว่าไม่รู้เรื่องกระแสข่าวดังกล่าว และเรื่องก็เงียบหายไป

   ดร.สุรินทร์ กลับมาเป็นข่าวใหญ่อีกครั้ง ช่วงปลายเดือน มิ.ย. 2560 โดยประกาศว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในที่สุดได้ถึงแก่กรรมด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวในวัย 68 ปี ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- อาลัยมิรู้ลืม!!!บุตรชายคนโต สุรินทร์ พิศสุวรรณโพสต์FB พ่อ ขอบคุณทุกคนที่ร่วมอาลัย คนเข้าไปแห่เม้นท์แสดงอาลัยเพียบ
- ทำดีต้องชื่นชม! ลูกๆ สานเจตนารมณ์ “สุรินทร์ พิศสุวรรณ” มอบหนังสือห้องสมุดโรงเรียนทั่วประเทศ