คสช.ล้มเหลวปรองดอง จับตาโรคแทรกซ้อน "ยะใส"ชี้ อาจถึงเวลาปรากฏตัวทั้งใต้ดินบนดิน หลังหลบซ้อนมา3ปี หลังถูกอำนาจบีบกด

คสช.ล้มเหลวปรองดอง จับตาโรคแทรกซ้อน "ยะใส"ชี้ อาจถึงเวลาปรากฏตัวทั้งใต้ดินบนดิน หลังหลบซ้อนมา3ปี หลังถูกอำนาจบีบกด

 

    วันที่ 14 ม.ค.61 นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า แม้ขณะนี้จะยังไม่มีความชัดเจนในโรดแมปเลือกตั้ง โดยเฉพาะช่วงเวลาของการเลือกตั้งที่นายกรัฐมนตรีเคยให้สัญญาไว้ แต่จากนี้กระแสเคลื่อนไหวของพรรคและกลุ่มก้อนการเมืองจะเป็นไปเพื่อการเลือกตั้ง แม้เส้นทางสู่การเลือกตั้งยังไม่ราบรื่นนัก เพราะคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังไม่ปลดล็อก แต่พรรคการเมืองคงไม่มีทางเลือกนักหลังจากถูกเว้นวรรคมานาน

   ขณะเดียวกันปัญหาจากคำสั่งมาตรา 44 เรื่องการยืนยันสมาชิกและการให้พรรคใหม่เริ่มดำเนินการจดทะเบียนได้ในวันที่ 1 มี.ค.นั้น ในทางปฏิบัติจะเกิดปัญหาใหม่ตามมา รวมทั้งการดำเนินการของพรรคการเมืองตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ก็มีรายละเอียดมากกว่าฉบับก่อนๆ ทำให้น่าห่วงว่า อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนจนกระทบโรดแมปเลือกตั้งได้เช่นกัน ที่สำคัญ เงื่อนตายที่เป็นมากกว่าเงื่อนไขคือ ความขัดแย้งแตกแยกที่หลบฉากมานาน 3 ปีกว่า อาจถึงเวลาที่จะปรากฏตัวทั้งใต้ดินบนดินมากขึ้น เข้มขึ้น เพราะสมการการเมืองนาทีนี้ยังไม่ออกจากกระดานความขัดแย้ง และการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของ คสช.ล้มเหลว ไม่มีผลงาน ยุทธศาสตร์ผิดพลาด เน้นการใช้อำนาจบีบกด อาจจะได้ใจสังคมในช่วงสั้นๆ แต่ระยะยาวความขัดแย้งจะกลับมาอีก

คสช.ล้มเหลวปรองดอง จับตาโรคแทรกซ้อน "ยะใส"ชี้ อาจถึงเวลาปรากฏตัวทั้งใต้ดินบนดิน หลังหลบซ้อนมา3ปี หลังถูกอำนาจบีบกด

 

 

    นายสุริยะใส ยังกล่าวอีกว่า เราเห็นบ่อยๆ นายกฯ ออกมาห้ามกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ทะเลาะกัน แต่เราแทบไม่เห็นแผนหรือนโยบายที่ดีพอ กระทั่งบางส่วนวาดหวังสูตรปรองดองฉบับพิสดารว่า คู่ขัดแย้งเดิมจะจับมือกันเพื่อต่อกรกับ คสช.ยิ่งสะท้อนภาวะตีบตันของโรดแมปปรองดองในสังคม ส่วนโรดแมปเลือกตั้งที่ยังพล่ามัว และการปรองดองที่ยังวังเวงแบบนี้จะทำให้การเข้าสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็งมีเสถียรภาพและสังคมปรองดองอย่างที่ท่านนายกฯ พูดไว้เมื่อต้นปีนั้นยังไม่มีหลักประกันใดๆ และการใช้อำนาจที่เข้มข้นขึ้นเพื่อคุมหางเสือสังคมการเมืองจากนี้ไปอาจยากขึ้น ไม่ง่ายเหมือนช่วงต้นๆ ของการยึดอำนาจ เพราะสังคมมองว่า สุดท้ายแล้วอำนาจที่ใช้ไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุหรือการปฏิรูปที่โครงสร้างอย่างจริงจัง