“ไพบูลย์” ค้าน ส.ส.จัดมหรสพหาเสียง เหมือนการซื้อเสียง ทำลายหลักปฏิรูป ช่องโหว่โกงสร้างความเหลื่อมล้ำ

“ไพบูลย์” ค้าน ส.ส.จัดมหรสพหาเสียง เหมือนการซื้อเสียง ทำลายหลักปฏิรูป ช่องโหว่โกงสร้างความเหลื่อมล้ำ

   นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานเครือข่ายประชาชนปฏิรูป กล่าวถึงกรณีร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอให้ผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส.จัดมหรสพรื่นเริงเพื่อจูงใจประชาชนให้มาฟังการปราศรัยหาเสียงในระหว่างการเลือกตั้ง "วันชัย" เสนอหาแรงจูงใจให้คนไทยกลับบ้านเลือกตั้ง หยุดยาว-มีมหรสพ ว่าขอคัดค้านข้อเสนอนี้เต็มที่ แม้จะอ้างว่าให้คิดเป็นค่าใช้จ่ายของผู้สมัครคนนั้นๆ ที่ให้ใช้ได้จำนวนมากถึง 1,500,000 บาทต่อคน แต่ถ้าพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครทั่วประเทศทั้ง 350 เขต จะต้องหาเงินจากนายทุนพรรคมาทำ และลงทุนพรรคละไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท ที่สุดพรรคการเมืองจะกลับกลายเป็นบริษัทลงทุนทางการเมืองของกลุ่มทุนเช่นเดิม แล้วเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทุจริตจากรัฐ ถอนทุนคืนพร้อมแสวงหากำไร เป็นวงจรอุบาทว์ จะเป็นการทำลายการปฏิรูปการเมืองที่ตนเคยเสนอต่อ กรธ.ไว้ ที่ต้องการให้ลดอิทธิพลของนายทุนพรรค กลุ่มทุนใหญ่ โดยต้องลดค่าใช้จ่ายหาเสียงของผู้สมัคร ส.ส.ให้เหลือน้อยที่สุด เพราะไม่ว่าการสมัครเข้าไปสู่ตำแหน่งของรัฐใดๆ เช่น สมัคร ส.ว. กรรมการองค์กรอิสระ ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ล้วนแต่ไม่ต้องเสียเงินค่าใช้จ่ายในการสมัครเข้าสู่ตำแหน่ง หากปล่อยให้เริ่มต้นให้ใช้เงินเป็นปัจจัยหลักจำนวนมากๆ เพื่อสมัคร ส.ส.ก็จะมีการถอนทุน ทุจริตคอร์รัปชัน เพราะถือเป็นต้นทุนในการก้าวเข้าสู่อำนาจ หรือตำแหน่งทางการเมือง จะทำให้คนดีๆ รังเกียจที่จะเข้าสมัครเป็น ส.ส. มีผลให้การเมืองเข้าสู่ความล้มเหลวเหมือนก่อนวันที่ 22 พ.ค. 2557 ก็จะเสียของซ้ำรอยเดิม

   นายไพบูลย์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จึงเสนอ กรธ.ให้ผู้สมัคร และพรรคการเมือง ต้องเสียแต่เงินค่าสมัคร 10,000 บาท แต่ไม่ต้องเสียเงินค่าประชาสัมพันธ์หาเสียง เพราะรัฐโดย กกต.ต้องเป็นผู้ดำเนินการประชาสัมพันธ์หาเสียงตามหน้าที่ให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองอยู่แล้ว โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนได้รับข้อมูล นโยบายของผู้สมัครและพรรคการเมืองให้ครบถ้วน ทั่วถึง เท่าเทียม เพื่อประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงจะได้ใช้ดุลพินิจตัดสินใจเลือกตัวแทนด้วยข้อมูลที่เปิดเผย เท่าเทียมปราศจากการให้อามิสสินจ้างใดๆ

     “หาก สนช.เปิดช่องอนุญาตให้ผู้สมัคร ส.ส.ลงทุนจัดมหรสพหาเสียงได้ในวงเงิน 1,500,000 บาทต่อคนได้ เท่ากับเป็นการทำลายหลักการปฏิรูปการเมืองที่สำคัญที่สุด เพราะการจัดมหรสพให้ฟรีเพื่อหาเสียงเป็นการให้อามิสสินจ้างซื้อเสียงอีกรูปแบบหนึ่ง ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต ไม่เที่ยงธรรม เหลื่อมลํ้า มือใครยาวสาวได้สาวเอา สนับสนุนพรรคนายทุนการเมืองให้เอาเปรียบพรรคของประชาชนที่มีทุนน้อย และมีผลให้คำสั่ง คสช.ฉบับที่ 53/2560 ที่ต้องการปฏิรูปพรรคการเมืองที่ลดความเหลื่อมลํ้า ให้เท่าเทียมระหว่างพรรคการเมืองต้องสูญเปล่าและเสียหลักการ ทั้งยังจะก่อให้เกิดความวุ่นวาย ไม่สงบขึ้น เป็นห่วง คสช.จะตกเป็นที่ครหาของประชาชนว่าไม่มีความสามารถรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างจัดการเลือกตั้ง ทั้งที่เรื่องนี้เป็นผลงานเด่นที่สุดของ คสช.ในสายตาประชาชน”