รัฐบาล เดินหน้าปฎิรูปกฏหมาย !!! ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.deepsnews.com

อีกหนึ่งในแผนปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ คือการปฏิรูปกฏหมาย ซึ่งนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมการปฏิรูปกฏหมายในระยะเร่งด่วน หรือ คปก.  บอกว่า การปฎิรูปกฏหมายครั้ง เพื่อต้องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ จากข้อมูลการศึกษาในปี2559ไทยมีอันดับความเหลื่อมล้ำเป็นอันดับ 3 ของโลก คนไทยมีที่ดินเป็นของตัวเองเพียง 10% การแก้ความเหลื่อมล้ำต้องแก้ด้วยกฎหมาย เพื่อให้คนจนได้รับความช่วยเหลือดูแล 

ซึ่งขณะนี้ ได้กำหนดแผนปฏิรูป จัดกลุ่มปรับปรุงรวบรวมร่างกฎหมายหลายด้าน เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาและเร่งประกาศใช้ต่อไป

อาทิร่างกฎหมายว่าด้วยการทบทวนกฎหมายที่ล้าสมัยหรือสร้างภาระแก่ประชาชน พ.ศ. ...สาระสำคัญ คือให้มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ทบทวนกฎหมายตั้งแต่ก่อนปี 2500 ว่าฉบับใดควรยกเลิก ปัจจุบันกฎหมายล้าสมัยมีนับแสนฉบับที่สร้างภาระประชาชนและภาครัฐในการบังคับใช้แต่ไม่ได้เกิดประโยชน์ เช่น กฎอัยการศึกบางฉบับ กฎหมายห้ามขายของเก่า หรือกฎหมายห้ามใช้ภาษาอังกฤษกับเครื่องขยายเสียง ฯลฯ

แต่อาจนำประสบการณ์ต่างประเทศมาใช้ เช่น รัฐบาลเกาหลีใต้ เน้นยกเลิกเฉพาะกฎหมายที่เป็นอุปสรรคทางการค้าการลงทุน ตั้งแต่ระเบียบหรือประกาศกระทรวงไปจนถึง พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ก. ฯลฯ หรืออาจจะให้นิติกรของแต่ละกระทรวง ทบวง กรม นำเสนอกฎหมายของหน่วยงานตัวเองที่ล้าสมัยขึ้นมา เป็นต้น

 

 

อีกร่างกฎหมายสำคัญที่กำลังเร่งผลักดันคือ ร่างกฎหมายให้นำเงินหรือทรัพย์สินที่ไม่มีผู้เรียกร้องไปใช้ทำสาธารณประโยชน์หรือเงินตกค้าง พ.ศ. ...ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา เนื่องจากกระทรวงการคลังเสนอให้นำเงินดังกล่าวที่มูลค่านับหมื่นล้านบาทไปเป็นทุนสำรอง ขณะที่คณะปฏิรูปกฎหมายเสนอว่าควรนำไปเป็นกองทุนลดความเหลื่อมล้ำ เป็นประโยชน์แก่ประชาชนมากกว่า ตัวอย่างเช่น เงินที่ค้างท่อที่อยู่ในบัญชีธนาคารรัฐหรือเอกชน เงินค่าเติมซิมการ์ด เงินกรมธรรม์ หรือเงินในบัตรเติมเงินแบบพรีเพด หรือทรัพย์สินอื่นๆ เช่น นาฬิกา สร้อยคอ รถยนต์ ที่ไม่มีบุคคลใดมารับหรืออ้างสิทธิ ฯลฯ ประสบการณ์ในต่างประเทศจะมีกฎหมายออกมาให้สามารถนำเงินเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์สาธารณะได้ แต่ต้องเป็นเงินที่ไม่มีเจ้าของจริงๆ เช่น เจ้าของสิทธิเสียชีวิตไปแล้ว หรือต้องเกิน 15 ปีขึ้นไป หากไม่มีบุคคลใดมาอ้างสิทธิจึงจะนำเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวจึงจะเข้าเกณฑ์กฎหมายนี้ และต้องมีหน่วยงานกลางขึ้นมาประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนแต่ละคนให้ทราบว่าตัวเองมีกรรมสิทธิ์ใดบ้าง

นอกจากนี้ ยังเตรียมออกกฎหมายการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการขึ้นมาจัดการคาดว่าจะเข้าคณะรัฐมนตรีได้ภายใน 1-2 เดือนนี้ เนื่องจากปัจจุบันมีใบอนุญาตกิจการต่างๆที่ขอต่อภาครัฐมากถึง 7แสน ใบ เป็นการออกใบอนุญาตโดยไม่จำเป็น โดยตั้งเป้าลดใบอนุญาตเหลือเพียง 1000ใบ เพราะการยกเลิกใบอนุญาตที่ไม่จำเป็นนั้นสามารถลดงบประมาณของรัฐลงไปได้ 1000ล้านบาทต่อฉบับ

 

//////////////////////////