ไม่ใช่เรื่องยาก"เบตง" พื้นที่สีชมพู..ความฝันที่ใกล้จะเป็น!! ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯทิศทางดีแก้ไขปัญหา "ชายแดนใต้"?!

ไม่ใช่เรื่องยาก"เบตง" พื้นที่สีชมพู..ความฝันที่ใกล้จะเป็น!! ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯทิศทางดีแก้ไขปัญหา "ชายแดนใต้"?!

มรสุมลูกใหญ่โหมกระหน่ำทำลายเสถียรภาพความน่าเชื่อถือของพี่ใหญ่ "บิ๊กป้อม" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง แต่ในเรื่องร้ายๆ นั้นก็มีอีกหนึ่งเรื่อง นั้นก็คือการแก้ไขปัญหาความไม่สงบชายแดนใต้ ที่ดูเหมือนจะดีขึ้นตามลำดับ และโดยเฉพาะเรื่องการเสนอปลดล็อค อ.เบตง ออกจากพื้นที่สีแดง

 

 

    เมื่อวันที่ 16 ก.พ.61  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 1/2561 โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รองผบ.ตร.) พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พร้อมตัวแทนเหล่าทัพเข้าร่วม 

 

         ภายหลังจากการประชุม พล.อ.วัลลภ แถลงผลการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นชอบขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จ.นราธิวาส ยะลา และปัตตานี ยกเว้น อ.แม่ลาน ออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค. - 19 มิ.ย. เพื่อเป็นเครื่องมือรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน นอกจากนี้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้เสนอที่ประชุมให้ปรับลดพื้นที่อ.เบตง จ.ยะลา ออกจากพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยจะนำมาตรการตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 มาบังคับใช้แทน เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวผ่านเกณฑ์การประเมินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานเมืองต้นแบบ โดยจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ต่อไป

การยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใน อ.เบตงเป็นสัญญาณที่ดีขึ้นในการแก้ไขปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งสอดรับกันพอดีกับผลประชุมของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้ทำความตกลงกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ ภายใต้ชื่อ "มารา ปาตานี" ได้ข้อยุติร่วมกันในการกำหนด "พื้นที่ปลอดภัยนำร่อง 1 อำเภอ" ซึ่งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 ก.พ.61 พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ ได้เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อรายงานข้อตกลงของคณะพูดคุยฯ 

 

          สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในการขับเคลื่อน "เซฟตี้ โซน" หรือ "พื้นที่ปลอดภัย" โดยจะมีการจัดตั้ง "เซฟเฮาส์" เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาช่วยกันทำให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการแก้ไขปัญหายาเสพติด 

 

 

ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา "เบตง"ได้พิสูจน์ตัวเองให้เห็นแล้วว่า แท้จริงแล้ว พื้นที่แห่งเป็น "พื้นที่สีชมพู" ไม่ใช่พื้นที่สีแดงอีกต่อไป ..

 

“พื้นที่สีแดง” ที่คนภายนอกไม่ปรารถนาย่างกายเข้าไปโดยเด็ดขาด เพราะเข้าใจว่าเป็น “พื้นที่อันตราย”  แต่ทว่า“ตูน บอดี้สแลม” หรือ “อาทิวราห์ คงมาลัย” ได้ตัดสินใจเลือกพื้นที่ชายแดนใต้เป็น “จุดสตาร์ท” ในการออกวิ่งเพื่อภารกิจระดมทุน  เผยปรากฏการณ์แห่งความรักสมัครสมานสามัคคีในหัวใจคนไทย ที่ได้สมานแผลฉกรรจ์ที่ปลายด้ามขวานพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากความปรารถนา ความพยายามของรัฐบาล และที่สำคัญความร่วมจากพี่น้อง ชาวบ้านในพื้นที่ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

 เป็นประจักษ์แล้วว่า  การออกวิ่งระดมทุนเพื่อสาธารณะประโยชน์ของ “ตูน บอดี้สแลม” หรือ “อาทิวราห์ คงมาลัย” ร็อกสตาร์ดังผู้กลายมาเป็น “ฮีโร่ในหัวใจคนไทย” ในภารกิจวิ่งระดมทุน 700 ล้านบาท เพื่อซื้ออุปกรณ์การแพทย์แก่ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ แม้จะจบลงไปนาน ด้วยยอดบริจาคที่ทะลุเป้า แต่ก็ยังคงตราตรึงในหัวใจไม่หาย จากสุดเขตแดนใต้ อ.เบตง จ.ยะลา ไปจนถึงเหนือสุดแดนสยาม อ.แม่สาย จ.เชียงราย รวมระยะทาง 2,191 ก.ม. จนได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม เกิดกระแส “ตูนฟีเวอร์” ในทุกพื้นที่ที่ได้วิ่งผ่าน กลายๆ ว่า ความสุขที่ห่างหายจากชายแดนใต้มาเนินนานกลับคืนสู่ที่เดิม ที่ควรมี

เริ่มต้นจุดซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่เคยเป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้งชายแดนใต้ อ.เบตง  “พื้นที่สีแดง”  ซึ่งที่รู้กันว่าเป็นพื้นที่ความขัดแย้งมาตลอดระยะเวลา 13 ปี ระหว่าง “เจ้าหน้าที่รัฐ” กับ “ขบวนการก่อความไม่สงบ” ที่เกิดความรุนแรงขึ้นหลายระลอก บานปลายจนผู้คนล้มตายบาดเจ็บ

 

    ปรากฏว่า นับแต่วันแรกที่ “ตูน บอดี้สแลม” ออกวิ่ง ได้เกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคม สองข้างทางตั้งแต่พื้นที่ชายแดนใต้ซึ่งถูกมองว่าเป็นพื้นที่อันตราย บรรยากาศได้เปลี่ยนไป จากพื้นที่ที่อาจจะดูเงียบเหงา กลับคึกคักขึ้นมา ผู้คนมารอต้อนรับ “ตูน บอดี้สแลม” เต็มสองข้างทาง ซึ่งเมื่อตูนถูกถามว่าเขาวิ่งในพื้นที่สีแดง ตูนตอนกลับด้วยรอยยิ้มว่า “ผมเห็นแต่พื้นที่สีชมพู...พื้นที่ที่เต็มไปด้วยความรัก”

 

บรรยายการการวิ่งของ ตูนและคณะ ทำให้เราได้เห็น บรรยายกาศการที่พี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเด็กๆนักเรียน วัยรุ่น ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือแม้แต่ผู้ป่วยนั่งรถวิวแชร์ ออกมานั่งรอเพื่อค่อยเงินบริจาค และจับมือส่งกำลังใจ นั้นคือมุมๆหนึ่งที่เราได้เห็น แต่ในแง่ภาพรวมของประเทศนั้นยิ่งใหญ่กว่า ในการที่มีคนลงไปทำกิจกรรมในพื้นที่ ที่เสียงอันตราย เป็นพื้นที่สีแดง และความรู้สึกร่วมไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็นไทยพุทธ หรือไทยมุสลิม ซึ่งภาพที่แสดงออกมาให้เห็นไม่ใช่แค่สื่อเฉพาะประเทศ แต่เป็นสื่อทั่วโลก ที่ได้เห็นในสิ่งที่ดู “อึมครึม” น่ากลัว แต่ก็มีสิ่งดีๆเกิดขึ้น มากมายกว่ามูลค่าทางการเงินที่จะวัดเอาไว้ได้  ยิ่งไปกว่านั้น การได้เปิดภาพใหม่ๆ โดยเฉพาะความสวยงามของดินแดนปลายด้ามขวานให้คนนอกพื้นที่ได้เห็นบ้าง ดูจะเป็นความภาคภูมิใจของคนชายแดนใต้ไม่น้อยทีเดียว 

 

จากที่ยกตัวอย่างมานี้ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่า พื้นที่สีแดง ไม่ว่าจะเบตง หรืออาจจะขยายผลอำเภอ อื่นๆอีก30กว่าอำเภอ ก็สามารถกลับมาเป็น "พื้นที่สีชมพู" ได้ไม่ยาก จากความร่วมมือ ของทุกฝ่ายที่ผ่านมาสถานการณ์ที่มีความรุนแรง อาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของผู้คนจางหายไปมาก หลายครั้งประชาชนก็จะหวาดระแวงเมื่ออยู่ใกล้เจ้าหน้าที่ และพี่น้องพุทธจะทักทายพี่น้องมุสลิมน้อยลง  ไม่แบ่งแยกความแตกต่างใดๆ

 

ถือเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่ภาครัฐควรนำไปขบคิด จากความสำเร็จ ณ สองข้างทางวิ่งของ ตูน บอดี้สแลม! หากกิจกรรมในพื้นที่เป็นการ "ทำดีอย่างจริงใจ" ก็จะเป็นเกราะป้องกันภัยจากคนที่คิดร้าย 

 

ท้ายที่สุดก็ส่งกำลังใจไปยังพี่น้อง เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ชายแดนใต้ และภายใต้การขับเคลื่อนทางยุทธศาสตร์ของพล.อ.ประวิตร ในไม่ช้า วันหนึ่งเหตุการณ์ความไม่สงบ ความไม่เข้าใจกัน จะถึงวันที่ต้องยุติลงเสียที

 

..ขอให้สันติภาพจงบังเกิด