“ดร.เวทิน” สอนมวย “ไพร่หมื่นล้าน” โชว์หล่อวิสัยทัศน์ ปัญหาชายแดนใต้ ด้วยความไม่รู้(จริง) ของ“ธนาธร” ตัวอันตราย!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

กลายเป็นประเด็นร้อนฉ่าทางการเมืองอีกประเด็นหนึ่ง สำหรับความเห็นของ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเผยเพร่กันในโลกโซเชียลมีเดียล เนื่องจากมีผู้ไปหยิบคำให้สัมภาษณ์ ในนิตยสาร GM  ฉบับเดือนพฤษภาคม 2560  ที่นายธนาธรได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่อง “ศาสนา”

 

ได้ระบุตอนหนึ่งว่า .. “ ...รัฐไทยไม่ควรจะอุปถัมภ์ศาสนาพุทธ เพราะมันทำให้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แก้กันไม่จบ ผู้คนที่อยู่ใน 3 จังหวัด แง่หนึ่งก็เหมือนเป็นพลเมืองชั้นสอง เพราะไม่มีที่ยืนที่เท่าเทียมกันกับคนที่นับถือศาสนาพุทธ ... “

 

ร้อนจริงๆ จนทำให้นายธนาธร นั่งไม่ติด ต้องออกมาโพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว แก้ต่างให้กับตัวมาแล้วนช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่าน  แต่ก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นมา ซ้ำร้ายยังสะท้อนความรู้แจ้งเห็นจริง การเข้าใจถึงบริบทของปัญหา สามจังหวัดชายแดนใต้ มีหลายมิติที่ทับซ้อน และซับซ้อน ว่านายธนาธร ไม่เข้าใจแกนของปัญหาอะไรเลย แน่นอนว่าประเด็นดังกล่าวถูกวิจารณ์อย่างแพร่หลายในขณะนี้

 

ด้านทาง  ดร.เวทิน ชาติกุล  รองกรรมการผู้จัดการสำนักข่าวทีนิวส์  เป็นผู้หนึ่งที่ได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว ในหัวข้อ ”รัฐไทยไม่ควรอุปถัมภ์ศาสนาพุทธ" อันตรายของ ธนาธร / ดร.เวทิน ชาติกุล. โดยระบุว่า..

 

เพื่อความเป็นธรรมกับธนาธร ต้องบอกก่อนว่า

1. เรื่องนี้(รัฐไทยไม่ควรอุปถัมภ์ศาสนาพุทธ)ธนาธร "พูดไว้นานแล้ว" (ตามคำที่เขาชี้แจงเอง) คือตั้งแต่ พฤษภาคม 2560 ในการให้สัมภาษณ์นิตยสาร GM ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งมาพูดหลังประกาศลงเล่นการเมืองและตั้งพรรค

2. เรื่องนี้ "ถูกตัดตอนออกมาจากบริบท" (ตามคำของเขาเองเช่นกัน) ในการสัมภาษณ์ ธนาธร ได้พูดถึงเสรีภาพและความเท่าเทียมกันในการนับถือศาสนาที่รัฐไม่ควรจะไปส่งเสริมหรือสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษ (อันจะก่อนให้เกิดการแบ่งแยกแตกต่างระหว่างศาสนาขึ้นจนอาจบานปลายเป็นเหตุรุนแรงได้) โดยได้พูดถึงประโยคที่เป็นปัญหานี้ขึ้นมาเป็นตัวอย่าง

 

“ดร.เวทิน” สอนมวย “ไพร่หมื่นล้าน” โชว์หล่อวิสัยทัศน์ ปัญหาชายแดนใต้ ด้วยความไม่รู้(จริง) ของ“ธนาธร” ตัวอันตราย!

 

แม้ไม่เห็นด้วยกับที่ธนาธรพูด จะวิจารณ์ จะด่าทอ กันอะไรอย่างไร ก็ควรวางอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ถูกต้องข้างต้นก่อนเป็นอันดับแรก

จากนี้จะพูดถึงเรื่องนี้ใน 2 ประเด็นที่ธนาธรโต้แย้งมา คือ 1. เป็นความคิดส่วนตัว ไม่ใช่นโยบายพรรค 2. ถูกตัดตอนออกจากบริบททำให้เข้าใจผิด

ประเด็นแรก ธนาธรย้ำว่า "มันจึงเป็นการแสดงความคิดเห็นในฐานะส่วนตัว ไม่ใช่เพิ่งแสดงความคิดเห็นเร็วๆ นี้ ซึ่งอาจทำให้เข้าใจว่าเป็นนโยบายพรรคได้" แต่ถึงธนาธรจะบอกว่าพูดไว้นานแล้ว ไม่เกี่ยวกัน แต่ "พูดไว้นานแล้ว" ไม่ได้แปลว่า "ตอนนี้จะไม่ได้คิดแบบนี้แล้ว" ไม่มีใครบอกได้นอกจากตัวธนาธรเองว่า "ตอนนี้คิดแบบไหน? อย่างไร?" การบอกว่าพูดไว้นานแล้ว(ซึ่งจริง)ก็ไม่ต่างอะไรกับวิธีที่นักการเมืองรุ่นเก่าแก้ตัวไปน้ำขุ่น ไม่นับว่าคนที่กังขาอยู่แล้วเขาก็ยิ่งสงสัยเพราะสิ่งที่เคยพูดไว้ก็เข้าใจได้ว่าเป็นร่องรอยความคิดและการกระทำที่กำลังดำเนินอยู่

 

ประเด็นต่อมาที่สำคัญ ถึงเรื่องนี้ถูกตัดตอนออกมาจากบริบทจริง ก็แสดงว่าในบริบทที่ต้องการสื่อธนาธรไร้ความสามารถที่จะแยกแยะระหว่าง "การสมาทานหลักคิดแบบพหุนิยม สนับสนุนความแตกต่าง หลากหลายอย่างเท่าเทียม" (ความคิด "รัฐโลกียะ" (secular state)) กับ "ความจริงในการแก้ปัญหาความขัดแย้งอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมกับการใช้ศาสนามาเป็นธงจุดชนวนความรุนแรง" (ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้)

 

"ความไม่รู้" (หรือ ความโง่) ประเภทนี้ ถ้าอยู่กับพวกนักวิชาการไร้เดียงสา หรือพวกควายๆอย่างนักปรัชญาชายขอบ ก็คงไม่เป็นไร เพราะไม่ค่อยมีใครฟังพวกนี้เท่าไหร่อยู่แล้ว

แต่ถ้าถูกแสดงออกมาโดยคนแบบธนาธร อันนี้นับว่าเป็น "อันตราย" อย่างยิ่ง

เรื่อง "รัฐโลกียะ" นี้ หรือการแยกขาดระหว่าง "รัฐ" กับ "ศาสนา" เห็นพูดกันออกมาพักใหญ่แล้ว ก็เห็นมีอยู่ไม่กี่คนที่พูดอยู่ รวมๆแล้วหลักคิดก็เหมือนพูดซ้ำขี้ปากที่ "นิธิ" ได้พูดเอาไว้แล้วก่อนหน้านี้ ธนาธรน่าจะได้รู้จักกับนักวิชาการพวกนี้บ้างเพราะหลายคนมีชื่อปรากฏในสื่อ "ฟ้าเดียวกัน" ที่ว่ากันว่าธนาธรสนับสนุนอยู่ ซึ่งธนาธรจะสมาทานเรื่องรัฐโลกียะก็ตามแต่สะดวกเถิด

แต่เรื่อง "ปัญหา 3 จังหวัดใต้" นี้ ธนาธรน่าจะไปถาม "ธงชัย" อดีตแกนนำ 6 ตุลา คนที่เขียนตำรา "แผนที่สยาม" ที่ใช้มาถึงตอนนี้ ว่ารากเหง้า มูลเหตุ ของปัญหานั้นมาจากการที่อำนาจตะวันตกมาบีบบังคับให้ต้องขีดเส้นสมมุติแบ่งเขตแดนที่ถูกเรียกว่า "ประเทศ" ใช่หรือไม่?

หรือไม่ก็ลองไปถามเรื่อง "คนไทยในไทรบุรี" ที่ตกค้างภายหลังการยกดินแดนส่วนนี้แก่อังกฤษ และยังคงอาศัยอยู่ใน "ประเทศ" มาเลเซียจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง "ยังรักษาประเพณีวัฒนธรรมของไทยไว้ได้อย่างดี รวมถึงภาษา และศาสนาที่เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกับชาวมลายูทั่วไป" ถ้าเป็นเรื่องรัฐอุปถัมภ์ศาสนาหนึ่งเป็นหลัก ทำไม "คนต่างศาสนา" หรือ "คนส่วนน้อย" กลุ่มนี้ถึงไม่คิดแบ่งแยกออกจากมาเลย์? ไม่แม้กระทั่งคิดกลับมา "ประเทศไทย"?

หรือไม่ก็ลองไปถาม "ลุงจิ๋ว" ว่าทำไม "จีน เป็ง" ผู้นำพรรคคอมมิวนีสต์มลายา ถึงได้สามารถหนีการถูกปราบปรามในมาเลย์มาใช้ภาคใต้ของไทยเป็นฐานที่มั่นในการต่อสู้ได้ จนถึงปลายปี 2532 ที่ "อดีตผู้นำ พคม." ได้กลายเป็น "ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย" ตามนโยบาย 66/23 ของรัฐบาล พล.อ.เปรม โดยมี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ผบ.ทบ.ได้เข้าร่วมเป็นพยานตามที่เป็นข่าวใหญ่โตในตอนนั้น

หรือทางที่ดีก็ลองถาม "ลุงทักษิณ" ว่าทำอย่างไร ถึงทำให้ "ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้" ลุกโชนขึ้นมาอีกครั้งและนำไปสู่ความสูญเสีย บาดเจ็บ ล้มตายมากมายตั้งแต่เกิดเหตุบุกปล้นปืนค่ายกองพันพัฒนาที่ 4 อ.เจาะไอร้อง นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2547 มาจนถึงปัจจุบัน

ประเด็นคือเรื่องปัญหา 3 จังหวัดใต้มีหลายมิติที่ทับซ้อน และซับซ้อน มีเหตุปัจจัยแห่งการเกิดสถานการณ์รุนแรงที่แตกต่างไปต่างยุคต่างสมัย สมัยล่าอาณานิคม สมัยเผด็จการ สมัยสงครามเย็น อาจถึงสมัยหลังเหตุการณ์ 9-11 ฯลฯ ซึ่งต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในทุกมิติถ้าจะพูดกันให้จริงจัง ไม่ใช่เรื่องที่พูดออกมาเพียงเพื่อเป็นตัวอย่างของการโชว์ความหล่อทางวิสัยทัศน์

ถ้าถามแล้ว "ลุงทักษิณ" ไม่ตอบ ธนาธรก็ควรจะมาดูข้อมูลบางอย่างที่น่าสนใจไปพลางๆก็คือ ตัวเลขของการเกิดเหตุการณ์รุนแรงและผู้เสียชีวิต โดยปี 2547-2550 เกิดเหตุรุนแรงเฉลี่ยปีละ 1,926 ครั้ง ปี 2551-2558 เกิดเหตุรุนแรงเฉลี่ยปีละ 959 ครั้ง ส่วนในปี 2558 เกิดเหตุ 674 ครั้ง (ไปไล่เรียงกันเองว่าปีไหน ใครเป็นรัฐบาล)

ส่วนยอดผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้ในปี 2550 รุนแรงสูงสุดคือ 892 คน และจำนวนผู้เสียชีวิตลดลงเรื่อยๆนับจากปี 2557 โดยในปี 2559 มีผู้เสียชีวิต 309 ราย ในปี 2560 มีผู้เสียชีวิต 235 ราย นับเป็นยอดผู้เสียชีวิตในรอบปีที่ต่ำที่สุด (ข้อมูลจาก ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้)

อะไรที่ทำให้ตัวเลขความรุนแรงนี้มันลดลงหรือ? ก็หลากหลายจากผู้สันทัดกรณี บ้างว่า ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมารัฐบาลได้มีความพยายามดำเนินการกระบวนการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้มาโดยตลอด และเพิ่มมาตรการทางการทหารที่เข้มงวดขึ้นในพื้นที่ ทำให้ตัวเลขเหตุการณ์และผู้เสียชีวิตใน 3 ปีหลังมานี้ลดลงอย่างต่อเนื่อง (ข่าว 8; 30 ธันวาคม 2560) หรือที่ โฆษกศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ บอกว่า "จำนวนยอดผู้เสียชีวิตที่ลดลง อาจเกี่ยวกับความพยายามในการเดินหน้าการพูดคุยรวมไปถึงโครงการการพัฒนาต่างๆ ของรัฐ" (ข่าวสด; 27 ธันวาคม 2560)

จะด้วยเหตุผลกลใดที่ทำให้ความรุนแรงค่อยๆลดระดับลงมา(อาจไม่ถึงสุขสงบ 100% ก็ตาม) แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ ธนาธร ต้องพึงสำเหนียกเอาไว้นั่นคือ

1. มีคนที่สูญเสียจากเรื่องนี้ และเป็นความสูญเสียที่จะไม่มีทางชดเชยใดๆให้เป็นดังเดิมได้

2. มีคนที่พยายามจะแก้ปัญหาเรื่องนี้อยู่ทั้งในทางแจ้งและในทางลับ

3. มีอีกกลุ่มคนพยายามที่จะทำให้ปัญหานี้คงอยู่ต่อไปให้นานที่สุด จะด้วย การเมือง อำนาจ หรือ ผลประโยชน์ ก็สุดแล้วแต่ และ...

การทำให้ความรุนแรงค่อยๆลดลง และเพิ่มโอกาสในการทำให้ความ "ปกติสุข" กลับคืนที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการอุปถัมภ์หรือไม่อุปถัมภ์ศาสนาหนึ่งศาสนาใดของรัฐตามที่ธนาธรเข้าใจเลย

ตรงกันข้าม การไประบุว่าปัญหานี้เป็นปัญหาศาสนาอย่างที่ธนาธรเข้าใจ(ผิดๆ)ด้วยซ้ำที่อาจจะทำให้ปัญหานี้จะวนเวียนแก้กันไปไม่รู้จบ การบอก "แบบนั้น" เท่ากับตอกย้ำว่านี่คือเรื่องศาสนา (ไม่ใช่ การใช้อำนาจรัฐความไม่เป็นธรรม ไม่ใช่การเมือง ไม่ใช่ผลประโยชน์) อย่างที่ฝ่ายไม่หวังดีต้องการให้เป็นแบบนั้นอยู่แล้ว

ในบริบทนี้ ความไม่รู้(จริง) ความขาดวิจารณญาณแยกแยะ ขาดการมองปัญหาในหลายมิติ โดยเฉพาะเรื่องศาสนา ของธนาธร ที่ต้องนับว่าเป็น "อันตราย" ที่สุด ไม่ได้ต่างจากที่เคยมีอดีตหลวงพี่คนหนึ่งประกาศตัวในโซเซียลว่าต้องตอบโต้ผู้ก่อการด้วยความรุนแรง จนต้องถูกจับสึกในที่สุด (ซึ่งยิ่งเป็นเรื่องแปลกถ้ารัฐไทยอุปถัมภ์ศาสนาพุทธตามที่ธนาธรว่ามาจริง)

แม้ธนาธรจะประกาศไม่อุปถัมภ์ศาสนาใดๆเลยก็ตาม