ย้อนรอย..เด้งฟ้าผ่า ผู้ว่าการยางฯ"ธีธัช" เหตุเอียงข้างนายทุน ไม่สนชาวสวนยาง??!!!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

หลังจากที่ทางสำนักข่าวทีนิวส์ได้นำเสนอข้อคัดค้านประเด็นการจัดจ้างเอกชนเก็บเงินเซส  หรือค่าธรรมเนียมการส่งยางพาราออกนอกราชอาณาจักร หลังพบแชร์รายได้ให้เอกชน 5%  ซึ่งประเด็นนี้สำนักข่าวทีนิวส์ได้นำเสนอมาอย่างต่อเนื่อง  ภายหลังจากที่ชาวสวนยางร่วมกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกิจการยางแห่งประเทศไทย เพื่อขับไล่ผู้ว่า กยท. ล่าสุดความพยายามดังกล่าวประสบความสำเร็จแล้ว เรียกได้เลยว่าวันนี้ชาวสวนยางได้เฮอีกครั้ง เพราะว่ามีคำสั่งเด้งผู้ว่า กยท. ออกเป็นที่เรียบร้อย โดยใช้อำนาจ ม.44 สั่งย้ายนาย ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

 

 

สำหรับความรวมมือในการขับไล่อดีตผู้ว่ กยท. นายธีธัช สุขสะอาด เกิดจากความไม่ชอบมาพากลของการจัดจ้างเอกชนเก็บเงินเซส  หรือค่าธรรมเนียมการส่งยางพาราออกนอกราชอาณาจักร  ซึ่งก่อให้เกิดความแคลงใจ เสียงวิจารณ์สะพัด นี่เป็นการเปิดช่อง ให้เกิดการทุจริตหรือไม่

 

 

โครงการจัดจ้างเอกชนเข้ามาจัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมการส่งออกยางพารา (Cess) โดยจะให้เอกชนรับส่วนแบ่งจากรายได้ทั้งหมดจำนวน 5% เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งเดิมแต่ละปี กยท.สามารถจัดเก็บเงินเซสได้ประมาณปีละ 8,000 ล้านบาท ซึ่งหากให้เอกชนเข้ามาจัดเก็บเงินเซส จะทำให้รายได้ตกเป็นของเอกชนปีละ 400 ล้านบาท หรือ 5 ปี รวมเป็นเงินทั้งหมด 2,000 ล้านบาท ชาวสวนยางทุกกลุ่ม รวมทั้ง สร.กยท.จึงไม่เห็นด้วย มองว่าเป็นการจับมือกับนายทุน เพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกัน และสร้างความเสียหายให้แก่ชาวสวนยางและประเทศชาติ 

การดำเนินการจัดหาผู้สนใจทั้งหมดเป็นระบบ Turn key project เรียกง่ายๆว่าการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จอื่นซึ่งสาระสำคัญของขอบเขตงานTRO โครงการบริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการส่งยางพาราออกนอกราชอาณาจักรเมื่อวันที่3 มกราคม 2561 ลงนามโดยนายธีธัช ว่าต้องการให้เอกชนดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมส่งยางพาราออกนอกราชอาณาจักร โดยให้เริ่มกำหนดตั้งแต่1ตุลา 2561 มีระยะเวลาสัญญา5ปีตั้งแต่1ตุลาคม 2561- 30 กันยา 2566 และการดำเนินการต่อสัญญากับผู้รับจ้างเดิมหรือ ราย ใหม่ได้ก่อนหมดอายุหนึ่งปีโดยมีการคิดอัตราค่าจ้างการชำระเงินค่าธรรมเนียมอัตราค่าจ้างไม่เกินร้อยละห้าของค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้และหลักประกันสัญญามีมูลค่าจำนวนเงินเพียง 10,000,000 บาท ทั้งๆที่ต้องรับผิดชอบมากกว่า 9300 ล้านบาท ต่อปี 

 

 

โดยทาง “สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกิจการยางแห่งประเทศไทย”  เห็นว่าการนำระบบการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จมาใช้ดำเนินการพบว่าที่ผ่านมามีการรั่วไหลและเปิดช่องทางการทุจริตก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐเป็นอย่างมากพบข้อมูลความเสียหายจำนวนมหาศาล แม้จะมีมาตรการเข้มงวดจะคณะรัฐมนตรีก็ตามยกตัวอย่างอาทิโครงการกอสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านโครงการทางด่วนบางนาชลบุรีหรือแม้แต่โครงการสุวรรณภูมิ

การจัดเก็บเงินเซสต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเป็นรายได้ของรัฐ ไม่ควรปล่อยให้เงินเซสหายไปเพราะนำมาใช้ช่วยเกษตรกรสวนยางทั้งประเทศ เมื่อทดลองใช้คนจำนวนไม่มากเข้าไปทำงานก็ยังทำได้ ก็ไม่ควรต้องจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการ เพราะต้องเสียเงินปีละหลายร้อยล้านและเงินค่าเบี้ยเลี้ยงตามระเบียบราชการ ไม่มีใครการันตีว่าเอกชนที่จ้างมาจะไม่ทุจริตเพราะตรวจเอง เขียนเอง เก็บเอง

 

 หนึ่งในข้อคัดค้านของทางสหภาพฯ และเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. ที่ได้ยืนยันมาตลอดนั้น ถึงการเก็บอัตราค่าจ้าง 5%ของค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้ ยกตัวอย่างว่า เงินที่จัดเก็บ 100 บาท ต้องให้บริษัท 5 บาท ก่อน ที่จะมาแยกเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา 49 วงเล็บ 1-6 อย่างนี้ผิดกฎหมายหรือไม่ ผิดเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือไม่ 

 

 

เรื่องดังกล่าว ทำให้นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มาบุกถึง กยท. บางขุนนนท์ กรุงเทพฯ คัดค้าน แต่กลับไม่รับความสนใจ ทางกยท. ยังคงเดินหน้าต่อไปโดยไม่สนใจคำสั่งของรัฐมนตรีผู้ซึ่งมีหน้าที่กำกับและดูแล 

 

 แต่ท้ายที่สุดการสู้ของพี่น้องชาวสวนยางก็สำเร็จ ไปขั้นหนึ่ง ต่อจากนี้ไปพี่น้องชาวสวนยางคงมีความหวังเพิ่มขึ้นสำหรับทิศทางการแก้ไขราคายางตกต่ำ เพื่อให้ชาวสวนยางมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป