สหภาพฯทีโอที- กสทฯลุกฮือ บุกทำเนียบร้องนายกฯค้านตั้งบริษัทลูกร่วมกัน (คลิป)

วันที่ 23 มี.ค. (วันนี้) กลุ่มสหภาพฯ บมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม จัดชุมนุมใหญ่ เพื่อเรียกร้องความชอบธรรมให้กับองค์กรรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเชื่อว่าจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอีกครั้ง จากนโยบายภาครัฐให้มีการการแยกทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์โครงข่ายหลัก ไปตั้งเป็นบริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด หรือ NBN Co. และ บริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต จำกัด หรือ NGDC Co

มีการยืนยันจากทางด้านสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) ย้ำผลมติการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2560 ให้เข้าผนึกกำลังคัดค้าน...การตั้ง และ การถ่ายโอนสินทรัพย์ ของ บริษัท ทีโอที และ บริษัท กสท.ให้แก่บริษัทลูก NBN และ NGDC ตามรายละเอียดดังนี้ สรส.มีมติให้การสนับสนุนการขับเคลื่อน ของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบมจ. ทีโอที และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ. กสท โทรคมนาคม ในการปกป้ององค์กรไม่ให้ถูกแปรรูปเป็นระลอกสอง ด้วยการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมา คือ บริษัท NBN ของทีโอที และ บริษัท NGDC ของบริษัท กสท โทรคมนาคม และจะมีการถ่ายโอนสินทรัพย์ให้แก่บริษัททั้งสองภายในวันที่ 30 มีนาคม 2561 โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์คัดค้านการแปรรูปบริษัท ทีโอที และ กสท.ระลอก 2 รวมทั้งการถ่ายโอนสินทรัพย์ให้แก่บริษัทใหม่ และจะร่วมกันต่อสู้จนถึงที่สุด และสถานการณ์เฉพาะหน้า วันที่ 23 มีนาคม 2561 สรส.และองค์กรสมาชิกจะสนับสนุนกิจกรรมของทั้ง 2 สหภาพอย่างเต็มกำลัง

ก่อนหน้านั้นในไลน์ของกลุ่มพนักงานมีการเผยแพร่เอกสาร ข้อมูลออกมาเป็นระยะ ๆ ต่อแนวทางที่ผู้บริหารบมจ.ทีโอทีกำลังดำเนินการ โดยเฉพาะเอกสารที่ระบุว่า “ตามที่เพื่อนพนักงานทุกท่านทราบมาโดยตลอดว่า บมจ.ทีโอที และ บมจ.แคท จะร่วมกันจัดตั้ง บริษัทฯ ในลักษณะของ บริษัทลูก ได้แก่ บ.NBN และ บ.NGDC ตามที่ได้ตกลงเป็นมติจาก คนร. ตามแผนการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจ นั้น

ในช่วงแรกของการจัดตั้งฯ ผู้บริหารฯโดยเฉพาะฝั่ง บมจ.ทีโอที ได้ผลักดันมาโดยตลอด โดยชี้ให้เห็นว่า เป็นการทาให้ บมจ.ทีโอที อยู่รอดได้ จนมีวลีว่า “ ลูกโต แม่ไม่ตาย ” โดยเสนอผลตอบแทนให้กับผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกต่างๆมากมาย แต่ ขอบเขตงานที่ บ.NBN จะดาเนินการนั้นไม่ชัดเจนและคลุมเครือ

มาถึงวันนี้ ก็พิสูจน์แล้วว่า สิ่งที่ผู้บริหารฯ บมจ.ทีโอที โปรยยาหอมมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงภาพลวงตาทั้งสิ้น เริ่มจาก

1. ผลตอบแทน +15% จากฐานเงินเดือนเดิม เมื่อดูในรายละเอียดกลับพบว่าเต็มไปด้วยกับดัก และการลดสวัสดิการต่างๆมากมาย ผลก็คือ พนักงานรหัส 1 ส่วนใหญ่ไม่สนใจเข้าร่วม บ.NBN เพราะเห็นว่าลดสิทธิประโยชน์

2. เมื่อ บ.NBN ไม่ได้รับการตอบรับจากพนักงาน ทีโอที สิ่งที่ บ.NBN ต้องทาต่อไปในสองข้อ คือ จ้างพนักงานจากบุคคลภายนอก หรือ จ้าง บริษัทฯ มารับงานต่อ หรือ ทาทั้งสองอย่าง ซึ่งก็จะเห็นว่า เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายอย่างมากมาย

3. เมื่อ คชจ. ด้านพนักงานและค่าจ้างที่สูง กอรปกับ ค่าเสื่อมสินทรัพย์มหาศาลที่รับไปจากการโอนสินทรัพย์จาก บมจ.ทีโอที ก็พอจะมองออกแล้วว่า ไม่ว่าจะกี่ปี บ.NBN ก็ไม่มีวันที่จะสร้างผลกาไรกลับมาให้บริษัทฯแม่อย่าง ทีโอทีได้อย่างแน่นอน แม้ตัว บ.NBN เองก็ไปไม่รอด

4. มาในฝั่ง บมจ.ทีโอที ที่จะต้องจ่ายค่าเช่าโครงข่ายให้กับ บ.NBN ( ซึ่งเดิมเป็นของ ทีโอที แต่กลับต้องมาเช่าสินทรัพย์และมาจ่ายค่าเช่าสมบัติของตัวเอง ) ซึ่งในท้ายที่สุด บมจ.ทีโอที โดยเฉพาะ BU4 ก็ไม่สามารถยืนอยู่ได้ เพราะมีเจ้าหนี้เต็มไปหมด ทั้ง บ.NBN ทั้ง BU1 ทั้ง BU2 ทั้ง BU3

5. สุดท้ายท้ายสุด (ไม่เกินสองปีนับจากนี้) ทุกท่านก็จะเห็นการล่มสลายสมบูรณ์แบบ ทั้ง บมจ.ทีโอที และ บ.NBN

6. มาดูขอบเขตความรับผิดชอบโครงข่าย ซึ่งผมเรียกว่า “โครงข่ายม้าลาย” จะเห็นว่า ในแต่ละช่วงของโครงข่ายนั้น สลับกันดูแล ก็จะเห็นได้ว่า การโอนสินทรัพย์เป็นช่วงๆแบบนี้ เท่ากับเป็นการฆ่าให้ตายทั้ง ทีโอที และ NBN ( แต่สงสัยว่า ผู้บริหารเรา มองไม่ออกหรืออย่างไร )
สำหรับการต่อสู้ในครั้งนี้เพื่อเป็นการปกป้องให้ทีโอทียังคงอยู่เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และเป็นทางเลือกของประชาชน เพราะหากปล่อยให้มีแต่ภาคเอกชนดำเนินการอาจจะเกิดการเอาเปรียบประชาชน โดยการกำหนดอัตราค่าบริการตามใจชอบ ซึ่งตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมาได้มีการเดินหน้าต่อสู้ โดยส่งหนังสือคัดค้านไปยังส่วนที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอดแต่ไม่มีการพิจารณาทบทวนของผู้ที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด ทั้งนี้ยังได้เดินทางไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง รวมถึงรัฐบาล เพื่อแสดงให้เห็นว่า ทางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจไม่เห็นด้วยกับกระบวนการดังกล่าว


สำหรับการต่อสู้ในครั้งนี้เพื่อเป็นการปกป้องให้ทีโอทียังคงอยู่เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และเป็นทางเลือกของประชาชน เพราะหากปล่อยให้มีแต่ภาคเอกชนดำเนินการอาจจะเกิดการเอาเปรียบประชาชน โดยการกำหนดอัตราค่าบริการตามใจชอบ ซึ่งตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมาได้มีการเดินหน้าต่อสู้ โดยส่งหนังสือคัดค้านไปยังส่วนที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอดแต่ไม่มีการพิจารณาทบทวนของผู้ที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด ทั้งนี้ยังได้เดินทางไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง รวมถึงรัฐบาล เพื่อแสดงให้เห็นว่า ทางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจไม่เห็นด้วยกับกระบวนการดังกล่าว
นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธานสหภาพฯ ได้เข้ายื่นคำฟ้อง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คณะรัฐมนตรี ต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอให้มีคำพิพากษาเพิกถอนการจัดตั้งบริษัทโครงข่ายบอรดแบนด์แห่งชาติ จำกัด ( NBN CO.) กับบริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศ และศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต จำกัด (NGCD CO.) และสั่งห้ามโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอันเป็นทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์ของแผ่นดินให้แก่บริษัททั้งสอง

ทั้งนี้ นายพงศ์ฐิติ ระบุว่า ตามที่ครม. และกระทรวงดิจิทัลฯ มีมติเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2560 เร่งดำเนินการให้ บมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม จัดตั้งบริษัทสองบริษัทดังกล่าว และให้โอนโครงข่ายโทรคมนาคมไปให้นั้น โดยกำหนดต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนมี.ค.นี้ ทางสหภาพฯและพนักงานบมจ.ทีโอที ผลดังกล่าวจะทำให้ทั้ง บมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม ไม่มีโครงข่ายสื่อสารหลักเป็นของตนเอง รวมถึงจะทำให้ บมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม ไม่มีศักยภาพเพียงพอต่อการแข่งขันทางธุรกิจในอนาคต เนื่องจากคู่แข่งขันซึ่งเป็นบริษัทเอกชนรายใหญ่ ล้วนมีอุปกรณ์และโครงข่ายสื่อสารหลักเป็นของตนเอง

“ที่ผ่านมาทางพนักงานทีโอทีได้มีการยื่นหนังสือคัดค้านการโอนทรัพย์สินดังกล่าวต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านศูนย์ดำรงธรรมต่าง ๆ และจุดบริการรับเรื่องร้องเรียนของประชาชน แต่ปรากฏว่าเรื่องทั้งหมดกลับเงียบหาย และจากการติดตามความคืบหน้า ทราบว่าเรื่องต่างๆ ถูกส่งต่อไปที่กระทรวงดิจิทัลฯแต่ก็ไม่มีคำตอบหรือคำชี้แจงใดจากผู้รับผิดชอบเลยแม้แต่น้อย”

ช่วงท้าย นายพงษ์ฐิติ พร้อมด้วยแถลงการณ์ของพนักงานบมจ.ทีโอที เน้นย้ำเหตุผลการคัดค้านการโอนย้ายทรัพย์สินไปไว้ในบริษัทลูกทั้งสอง อาทิเช่น
1.การแยกทรัพย์สินโครงข่ายบอร์ดแบนด์ของบมจ.ทีโอที แล้วโอนให้ NBN Co. ผิดหลักการของโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ ตามที่รัฐบาลเห็นชอบ เพราะ NBN Co. ไม่มีสถานะที่จะเป็นบริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ ตามที่กระทรวงดิจิทัลฯและคนร.ต่างปรารถนาจะให้เป็น ...

2.รัฐบาลประเทศออสเตรเลียได้จัดตั้งบริษัท NBN Co. ขึ้นเช่นเดียวกัน แต่ข้อแตกต่างระหว่าง NBN Co. ของไทยกับออสเตรเลีย คือ ของออสเตรเลียจะรวมเอาโครงข่ายทั้งหมดทุกเทคโนโลยีและที่อยู่ในการครอบครองของเอกชนด้วยมาไว้ที่เดียวกัน โดยบริษัทเอกชนจะทำหน้าที่เพียง Service providers และ NBN Co. ของออสเตรเลีย จำทำหน้าที่เป็น Network Provider

3.บมจ.ทีโอที มีทรัพยากรเชิงยุทธศาสตร์ อันได้แก่ โครงข่าย IP Broadband โครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสง ท่อ Duct ใต้ดิน เสาโทรคมนาคม รวมทั้งคลื่นความถี่ 2100 MHz และ 2300 MHz ที่จะสามารถนำมาผนวกให้บริการบรอดแบนด์ได้ทั้งแบบมีสายและไร้สาย ดังนั้นหากจะให้ บมจ.ทีโอที ทำบทบาท NBN Co. จะสมบูรณ์ภายในองค์กร


4.การสรหาผู้บริหารใน NBN Co. พบว่าส่วนใหญ่เคยเป็นผู้บริหารของบมจ.ทีโอที ที่ไม่ทำหน้าที่เกี่ยวกับโครงข่ายบรอดแบนด์ โดยเฉพาะโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสง แต่เป็นผู้บริหารที่ดูแลงานให้ลูกค้า ตรงข้ามคนที่องค์ความรู้ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลับไม่ถูกเลือก จึงถือเป็นความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง


5.บมจ.ทีโอที ดำเนินการโอนทรัพย์สินไปยัง NBN Co. ยังไม่ครบถ้วนตามที่มติครม.กำหนด แต่รัฐมนตรียังไม่ได้ให้ความเห็นชอบในทรัพย์สินที่จะโอนย้าย ดังนั้นการโอนย้ายสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน โดยไม่มีกฎหมายรองรับ จึงเป็นการดำเนินการที่มิชอบโดยกฎหมาย

"สองบริษัทที่ตั้งขึ้น เป็นนิติบุคคลในระบบกฎหมายเอกชน แต่โครงข่ายโทรคมนาคม และทรัพย์สินต่างๆ เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ยังไม่ได้ถูกถอน ให้เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา จึงไม่สามารถที่จะโอนไปเป็นของ 2 บริษัทดังกล่าวได้ และการโอนทรัพย์สินดังกล่าวก็ไม่เปิดให้ประชาชนทั่วไปและ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแสดงความคิดเห็นทั้งที่โครงข่ายคมนาคมก็เป็นทรัพย์สินที่ไม่ต่างจากท่อก๊าซของปตท. ที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งไม่สามารถโอนย้ายได้ "
ทั้งหมดจึงเป็นที่มาในข้อสรุปขอให้รัฐบาลยกเลิกแนวทางการฟื้นฟู บมจ.ทีโอที ด้วยการแยกทรัพย์สินของ บมจ.ทีโอที ไปไว้ที่ NBN Co. และ NGDC Co. และเริ่มต้นเสนอแนวคิดการปฏิรูปองค์กรอย่างแท้จริง

นอกจากจะมีความชัดเจนในระดับสำคัญของวัตถุประสงค์การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของทั้งสหภาพบมจ.ทีโอที แ ละ บมจ.กสท โทรคมนาคม รวมไปถึงสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ที่จะเข้าร่วมสนับสนุนคัดค้านการโอนย้ายทรัพย์สินดังกล่าวตามที่ได้นำเรียนมาขั้นต้นแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่ถือเป็นธงหลักของสหภาพฯบมจ.ทีโอที ก็คือ การเรียกร้องให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากที่ผ่านมาผลการทำงานไม่เป็นไปตามความคาดหวังของพนักงานทั้งในแง่ของการแก้ไขปัญหาการขาดทุน ซึ่งถือเป็นวิกฤตทางการเงินที่สำคัญขององค์กร โดยเฉพาะการปล่อยให้คลื่นความถี่ 900 MHz ซึ่งเป็นทรัพย์สินของบมจ.ทีโอที ถูกกสทช.นำไปใช้ประโยชน์ และ ยังมีจุดยืนในการสนับสนุนแผนการโยกย้ายอุปกรณ์โครงข่ายหลักไปส่งมอบให้กับ NBN Co.

ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจน พูดคุยกับคุณนนท์ ผู้ที่เคลื่อนไหวในการต่อสู้ครั้งนี้ มาโดยตลอด

 

สหภาพฯทีโอที- กสทฯลุกฮือ บุกทำเนียบร้องนายกฯค้านตั้งบริษัทลูกร่วมกัน (คลิป)

 

สหภาพฯทีโอที- กสทฯลุกฮือ บุกทำเนียบร้องนายกฯค้านตั้งบริษัทลูกร่วมกัน (คลิป)

 

สหภาพฯทีโอที- กสทฯลุกฮือ บุกทำเนียบร้องนายกฯค้านตั้งบริษัทลูกร่วมกัน (คลิป)

 

สหภาพฯทีโอที- กสทฯลุกฮือ บุกทำเนียบร้องนายกฯค้านตั้งบริษัทลูกร่วมกัน (คลิป)

 

สหภาพฯทีโอที- กสทฯลุกฮือ บุกทำเนียบร้องนายกฯค้านตั้งบริษัทลูกร่วมกัน (คลิป)

 

สหภาพฯทีโอที- กสทฯลุกฮือ บุกทำเนียบร้องนายกฯค้านตั้งบริษัทลูกร่วมกัน (คลิป)

 

สหภาพฯทีโอที- กสทฯลุกฮือ บุกทำเนียบร้องนายกฯค้านตั้งบริษัทลูกร่วมกัน (คลิป)

 

สหภาพฯทีโอที- กสทฯลุกฮือ บุกทำเนียบร้องนายกฯค้านตั้งบริษัทลูกร่วมกัน (คลิป)

 

สหภาพฯทีโอที- กสทฯลุกฮือ บุกทำเนียบร้องนายกฯค้านตั้งบริษัทลูกร่วมกัน (คลิป)

 

สหภาพฯทีโอที- กสทฯลุกฮือ บุกทำเนียบร้องนายกฯค้านตั้งบริษัทลูกร่วมกัน (คลิป)