ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

สาดน้ำลายใส่หน้ากันอย่างถ้วนทั่วตอนรับวันสงกรานต์ ปีใหม่ไทยของเหล่าบรรดานักการเมือง หลังจากที่ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” หัวหน้าพรรคเก่าแก่อย่างประชาธิปัตย์  ได้กล่าวไว้เมื่อวันที่1 เม.ย.ว่า 72 ปี ประชาธิปัตย์ ยืนหยัด ปกป้องประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ ทุกรูปแบบ  เราได้มีการต่อสู้ กับเผด็จการทุกรูปแบบ เราปกป้องยึดมั่นประชาธิปไตย  เท่านั้นแหละ ทำเอาพรรคตรงกันข้ามไม่ว่าจะเป็น  “เสี่ยโอ๊ค” พานทองแท้ ชินวัตร ออกมากขำกลิ้ง ตามมาด้วยลูกหาบทั้ง2พรรค พ่นน้ำลายใส่กัน

 

ทางการเมืองก็ว่ากันไป แล้วแต่เทคนิคและฝีไม้ ลายมือชั้นเชิงในการสาดโคลนของแต่ละผู้ละนาม แต่ที่น่าสนใจและจะต้องพูดถึงให้ได้ นพ.เหวง โตจิราการ สมาชิกพรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดงที่ได้ออกมาตอบโต้นายอภิสิทธิ์ และจงใจที่จะเน้นย้ำยกเหตุชายชุดดำ “ไม่มีจริง”มาเองเป็นข้ออ้างในครั้งนี้ บางช่วง ระบุว่า

 

รัฐบาลอภิสทธิ์เวชชาชีวะ ใช้กำลังทหารทั้งสามเหล่าทัพในการ "ขอคืนพื้นที่" "กระชับพื้นที่" โดยใช้กำลังทหารประมาณ60,000นาย  ใช้กระสุนจริงประมาณ200,000นัด  ใช้กระสุนซุ่มยิง(สไนเปอร์)จำนวนประมาณ2,000นัด

ในการสังหารประชาชนสองมือเปล่า(ร่วมร้อยศพ)  โดยการกล่าวอ้างว่าการชุมนุมของประชาชนคนเสื้อแดง มีกองกำลังติดอาวุธชายชุดดำยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ทหาร นี่เป็นการยึดมั่นในระบบนิติรัฐ นิติธรรมเช่นนั้นหรือ มีกฏหมายฉบับใดในประเทศไทย หรือกระทั่งในประเทศต่างๆทั่วโลกที่เป็นอารยะทั้งปวง (ยกเว้นพวกอนารยะ พวกคอมมิวนิสต์ พวกฟัสซิสต์ พวกนาซี และพวกทรราชย์ทั้งปวง) ที่อนุญาตให้รัฐบาลใช้กองทัพสังหารประชาชนสองมือเปล่าของตนเองด้วยอาวุธสงครามกลางเมืองจนนำไปสู่การตายของประชาชนร่วมร้อยศพเช่นนี้

และหากจะมีกองกำลังติดอาวุธในการชุมนุมของคนเสื้อแดงจริง(จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีจริง)ก็ชอบที่ส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีของทัพบก ทัพเรือ ทัพอากาศ ตชด.แทรกซึมเข้าสู่เป้าหมายเพื่อยุติการกระทำและนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่ใช่ส่งกำลังทั้งกองทัพ พร้อมพลแม่นปืนซุ่มยิง อาวุธสงครามจำนวนมหึมาดังกล่าว มาเข่นฆ่าประชาชนกลางเมืองเช่นนี้คือการปกป้อง นิติรัฐ นิติธรรมของ ปชป.ใช่หรือไม่

 

อันที่จริงตั้งแต่สมัยที่รสช.ฆ่าประชาชนสองมือเปล่ากลางถนนด้วยทหารจากกองทัพไทยโดยอาวุธสงคราม อานันท์ปันยารชุน ในฐานะนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้มีคำสั่งไว้แล้วว่า "ห้ามใช้ทหารในการแก้ปัญหาการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน แต่ให้ใช้ตำรวจที่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษเพื่อดำเนินการเท่านั้น"

นายกรัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์ที่ชื่อ อภิสิทธิ์เวชชาชีวะ  นอนหลับไม่รู้นอนคู้ไม่เห็นหรืออย่างไร ประชาชนไทยทั้งประเทศโปรดช่วยกันพิจารณาหน่อยว่า สิ่งที่นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ พูดถึงพรรคประชาธิปัตย์ นั้น  เป็นเรื่องจริงหรือเรื่องเท็จกันแน่.

เรื่องที่สำคัญที่สุดคือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 นับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนถึง 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 กองทัพและรัฐบาลในขณะนั้นถูกกล่าวหาว่าฆ่าประชาชนหรือทำให้ประชาชนตายไปร้อยศพ
 

เป็นสิ่งที่ถูกสร้างวาทกรรมขึ้นมา ทหารในขณะนั้นมีพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้บัญชาการทหารบก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะ คสช. และรัฐมนตรี ในขณะนั้นเป็นรองผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้ที่ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ รัฐบาลขณะนั้นมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรับผิดชอบในการดูแลเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นกระแสข่าวที่ถูกฝังถูกสร้างอยู่ว่าวันดีคืนดี ทหารเอาปืนไปยิงประชาชนที่ชุมนุมอยู่ด้วยความสงบชุมนุมอยู่ด้วยความสันติอย่างนั้นหรือ หรือข้อเท็จจริงเกิดอะไรขึ้นกันแน่เรื่องนี้คาราคาซังอยู่ตรงประเด็นชายชุดดำ สถานการณ์ทางการเมืองกับกระบวนการการปฏิบัติของกระบวนการยุติธรรมขั้นต้นคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาถึงอัยการกระบวนการของศาลไม่สามารถจะมีคำตอบเรื่องคนชุดดำได้เลย กฎหมายดำเนินการไปแต่ละล้าละลังถูกถ่วง ปรากฏว่าวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557 มีการจับชายชุดดำได้และมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา มีผู้ต้องหาทั้งสิ้น 5 คนถูกจำคุกในคดีพกพาครอบครองอาวุธสงครามไม่ได้เป็นยิงไปทำอะไรใครเลย แบบนี้จะมาเชื่อมโยงสถานการณ์อย่างไร 

 

เรียนว่าเหตุการณ์ที่พกพาอาวุธสงครามไปที่ชุมนุมไม่ได้พากันเข้าไปเลย จะมีการเตรียมการมีการวางแผน เข้าไปในที่ชุมนุมและที่สำคัญเมื่อตอนที่เกิดเหตุการณ์เกิดสถานการณ์มีอาวุธสงครามที่เอามายิงใส่ทหารและประชาชนจริงๆ รายละเอียดของคำพิพากษา

 

 

ศาลรัชดานั่งบัลลังก์พิพากษาในคดีที่ชายชุดดำถูกฟ้องก็จะประกอบไปด้วยนายกิตติศักดิ์ (อ้วน) สุ่มศรี อายุ 48 ปี นายปรีชา(ไก่เตี้ย) อยู่เย็น อายุ 27 ปี นายรณฤทธิ์ (นะ) สุริชา อายุ 36 ปีนายชำนาญ (เล็ก) ภาคีฉาย อายุ 48 ปี นางปุณิกา (อร) ชูศรี อายุ 42 ปี ซึ่งทั้งหมดเป็นการ์ด นปช. เป็นจำเลยที่ 1-5 ตามลำดับตามความผิด พ.ร.บ.พกพาอาวุธปืนและวัตถุระเบิด พ.ร.บ.อาวุธปืน พ. ศ. 2490 และข้อหาพกพาอาวุธปืนไปในเมืองที่ชุมชนหรือสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรณีวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 จำเลยทั้ง 5 กับพวกร่วมกันมีอาวุธปืนเอ็ม16 เอเค33 ปืนอาก้า และเครื่องระเบิดเอ็ม79 ยิงใส่เจ้าหน้าที่ทหารที่ อยู่พื้นที่การชุมนุมของกลุ่ม นปช. บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนตะนาว เขตพระนคร ในเขตใกล้เคียงมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายรายเหตุเกิดที่ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กทม. ซึ่งจำเลยทั้งหมดรายการปฏิเสธทั้งนี้ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานและข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อถือฟังได้ว่านายกิตติศักดิ์และนายปรีชาซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 และ 2 กระทำ ผิดมาตราตามที่ฟ้องจริงพิพากษาจำคุกคนละ 10 ปีส่วนจำเลยอีก 3 คนคือจำเลยที่ 3-5 พยานหลักฐานโจทก์ยังมีความคืบคลานน่าสงสัยน้ำหนักน้อยจึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้พิพากษายกฟ้องแต่ให้ขังจำเลยที่ 3-5 ไว้ระหว่างการอุทธรณ์

 

ที่สำคัญที่สุดของกระบวนการยุติธรรมก็คือ ศาลอาญาคดีอาญามีหลักสำคัญอยู่ในหลักก็คือปล่อยคนผิดไปร้อยคน ดีกว่าเอาคนบริสุทธิ์คนเดียวเข้าคุก เพราะฉะนั้นในการพิจารณาคดีศาลอาญาหากปรากฏว่ามีข้อเคลือบแคลงสงสัยในชัดเจนศาลจะยกฟ้องเสมอ ทำให้ 3 คนนั้นถูกยกฟ้อง แต่อีกสองคนทำไมหลักฐานปรากฏชัดอย่างไร พวกนี้ลุแก่อำนาจ ลุแก่อหังการ์ ความยิ่งใหญ่ของกองกำลังอาวุธของตัวเอง ในรูปคดีที่ทำให้ศาลพิพากษาจำคุกเพราะระหว่างที่ตัวเองพบอาวุธสงครามไปผ่านทหารผ่านตำรวจ เปิดหน้าไหมพรม ชะลอรถยนต์หน้าตำรวจแบบฮาๆ

 

ทั้งนี้และทั้งนั้นก่อนที่จะเกิดเหตุวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 แต่วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553 มีกลุ่มประชาชนมาชุมนุมกันเถอะ หน้ากองทัพบก มีนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง เป็นผู้นำ ขึ้นปราศรัยเลย “แต่วันนี้แก้วอีกประการหนึ่งที่เรารอคือกองกำลังไม่ทราบฝ่ายเขาพร้อมปกป้องคนเสื้อแดงและพร้อมเป็นปฏิปักษ์กับกองทัพถ้ากองทัพทำร้ายประชาชน”

 

 

คล้ายส่งสัญญาณบอกว่าขอให้รู้ไว้...ทหารอย่ายิงประชาชน เพราะในขณะนี้มีกองกำลังไม่ทราบฝ่ายจะช่วยเหลือประชาชนแล้ว แต่จะเป็นกองกำลังติดอาวุธ ที่ไม่ทราบว่าเป็นฝ่ายไหน ตามที่นายอริสมันต์ระบุหรือไม่ก็ไม่อาจจะสรุปได้  แต่ที่แน่ๆนี่คือเหตุการณ์ที่พูดขึ้นล่วงหน้า

จนกระทั่งวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลาประมาณ 12.30 น. นายขวัญชัย ไพรพณา ประธานชมรมคนรักอุดร หนึ่งในแกนนำนปช. ได้นำคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง บุกไปที่กองทัพภาคที่1 ซึ่งได้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างทหารกับกลุ่มคนเสื้อแดงอีกครั้ง จนสถานการณ์ได้มีความต่อเนื่องไปสู่การปะทะกันขึ้น ซึ่งต่อมา ศอฉ.ได้ประกาศขอคืนพื้นที่การชุมนุมบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ โดยยืนยันว่าจะปฏิบัติการตามมาตรการ 7 ขั้นตอน และเจ้าหน้าที่ทหารจะใช้อาวุธปืนจริงเพื่อป้องกันตัวเท่านั้น ตลอดช่วงกลางวันจนมาถึงช่วงเย็นก่อนพลบค่ำ ทหารใช้แก๊สน้ำตาและกระสุนยาง ผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมให้ออกจากพื้นที่ โดยการปะทะตลอดทั้งวันไม่ได้มีผู้เสียชีวิต หรือบาดเจ็บหนักแต่อย่างใด

สถานการณ์การปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารกับกลุ่มคนเสื้อแดง ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว จนกระทั่งในเวลาประมาณ 19.15 น.  ได้เกิดการปะทะกันอย่างหนักหน่วงบริเวณ 4 แยกคอกวัว เป็นครั้งแรกที่สังคมไทยและทั่วโลก ได้ประจักษ์ถึงภาพของไอ้โม่งชุดดำที่แฝงตัวอยู่ทางฝั่งคนเสื้อแดง กลุ่มของไอ้โม่งชุดดำออกปฏิบัติการใช้อาวุธสงครามอย่างชำนาญ ทั้งทางภาคพื้น และการซุ่มยิงจากระยะไกล หรือที่เรียกว่าสไนเปอร์ ซึ่งล้วนเป็นการยืนยันว่า กลุ่มของไอ้โม่งชุดดำเหล่านี้ ได้รับการฝึกฝนในระดับมืออาชีพ และก็เป็นทหารที่ประจำการอยู่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่ตกเป็นเป้าการโจมตีของกองกำลังติดอาวุธ


ขณะที่การยิงสังหารเข้าที่ศรีษะของนายวสันต์ ภู่ทอง คนเสื้อแดง แม้จะมีความพยายามกล่าวหาว่า เป็นฝีมือของทหาร แต่จากการชันสูตรพลิกศพอย่างละเอียด ก็พบว่าเป็นการยิงมาจากฝั่งตรงกันข้ามที่ทหารปักหลักประจำการอยู่ ซึ่งเรื่องนี้ผิดแผกไปจากคำของหมอเหวงอย่างชัดเจน


 เหตุการณ์ปะทะในคืนมิคสัญญี 10 เมษายน ส่งผลให้ทหารและกลุ่มคนเสื้อแดงเสียชีวิต ทั้งหมด 26 คนเป็นพลเรือน 21 คน เป็นทหาร 5 คน หนึ่งในนั้น คือ “พลเอก ร่มเกล้า ธุวธรรม ” ทั้งๆที่พลเอกร่มเกล้าไม่ได้อยู่ในที่ชุมนุมหรือไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์เฉพาะหน้า แต่อยู่ที่เต็นท์บัญชาการ มีการ ยิงเอ็ม 79 และอาวุธสงครามเข้าไปในเต็นท์บัญชาการเป็น เจตนาฆ่า อย่างเห็นได้ชัด

 

 

อีกทั้งยังมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 864 คน ในจำนวนนี้เป็นทหารกว่า 300 คน ทั้งเล็กน้อยและสาหัส ยานยนต์ทหาร รวมทั้ง รถสายพานลำเลียงหุ้มเกราะ และอาวุธยุทธภัณฑ์ ถูกผู้ชุมนุมทุบทำลายหรือใช้ไฟเผาเสียหายหลายรายการ อาวุธปืนสงคราม ปืนลูกซอง และเครื่องกระสุน ถูกผู้ชุมนุมและ นปช. ยึดไปจำนวนมากและทางราชการยังไม่ได้คืน

ทั้งนี้ความสูญเสียในคืนมิคสัญญี อาจมากมายมหาศาลกว่านี้หลายเท่าตัว หากระเบิดซีโฟร์น้ำหนัก 1.5 ปอนด์ ที่คนร้ายนำไปวางไว้ที่ ฐานของเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเสาส่งไฟฟ้ามายังกรุงเทพมหานคร ระเบิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และเสาไฟฟ้าโค่นล้มลง

ด้วยความต้องการของคนร้าย ที่จะให้กรุงเทพมหานครมืดดับสนิท ในเวลา 21.00น. หรือในระหว่างที่สถานการณ์บริเวณสี่แยกคอกวัวและอีกหลายจุดในกรุงเทพมหานคร กำลังโกลาหลอย่างถึงที่สุด

นับตั้งแต่ความสูญเสียเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 10เมษายน2553 ยุทธวิธีการโจมตีของกองกำลังติดอาวุธ ก็ถูกยกระดับให้มีความรุนแรงในระดับการก่อวินาศกรรมและหวังผลถึงชีวิต ตอกย้ำให้เห็นถึงปฏิบัติการในระดับมืออาชีพที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี

 

 

 ต้องเป็นการเตรียมการมาเป็นอย่างดี ยิ่งลืมจริงหรือไม่ ก็ขอให้ผู้อ่านได้พิจารณาใคร่ครวญ ที่ได้นำเสนอไป เรื่องนี้ไม่ใช่การฟื้นฝอยหาตะเข็บ แต่เป็นการหยิบหยกข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเปนด้านที่ทั้งหมอเหวง หรือไม่แต่ “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” ผู้หากินกับศพไม่เคยจะนำเสนอ ทำตีกินแบบเนียนๆไปวันๆ ไม่รู้จักจบสิ้น