ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ทำเอาคอการเมืองต้องตั้งวิเคราะห์กันเป็นแถวๆ หลังจาก พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงนามคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 1215/2561 เรื่อง ให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยให้ พล.ต.อ.ชินทัต พ้นตำแหน่งรองผู้ว่าฯกทม.และแต่งตั้ง นายสกลธี ภัททิยกุล เป็นรองผู้ว่าฯกทม.

มาวันนี้ปรากฏว่าได้มีการแต่งตั้งนายสนธิยา คุณปลื้ม นายอิทธิพล คุณปลื้มขึ้นมา เมื่อวันที่ 17 เม.ย. รายงานข่าวเปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.มีติเห็นชอบตามที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ให้นายสนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล อดีตรมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการเมือง และนายอิทธิพล คุณปลื้ม เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมสนตรี ลงนามเมื่อวันที่ 17 เม.ย.

   นายสนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล(พช.) เปิดเผยภายหลังได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ว่า การที่ตนรับตำแหน่งดังกล่าว เพราะคิดว่าตำแหน่งนี้จะทำประโยชน์ให้ประเทศชาติได้ สิ่งที่ตนตั้งใจเข้ามาทำงาน คือ เพื่อผลักดันโครงการเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) เพราะตนอยู่ตรงนี้ ทุกวันนี้ตนก็ทำงานประสานการพัฒนาพื้นที่อีอีซีอยู่แล้ว เมื่อรัฐบาลคิดว่าตนเป็นคนในพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน เข้ามาทำงานจะเป็นคนประสานภาคพื้นที่กับส่วนกลางในระดับนโยบาย ก็จะทำให้การพัฒนาสมบูรณ์มากขึ้น และคิดว่าสิ่งนี้จะเป็นโอกาสทำงานให้บ้านเมืองได้ ตนก็ตอบรับไป
   เมื่อถามว่าการรับตำแหน่งดังกล่าวเป็นการปูทางร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐในอนาคตหรือไม่ นายสนธยา กล่าวว่า ตนไม่ได้คิดเรื่องนี้ การรับตำแหน่งดังกล่าวเพื่อขับเคลื่อนอีอีซี ถึงอย่างไรก็เป็นบ้านเราเราก็ทำงาน พรรคพลังชลเป็นพรรคท้องถิ่นอยู่แล้ว เราก็ทำงานเพื่อท้องถิ่น และได้มีโอกาสทำงานโดยตรงกับรัฐบาลถือเป็นโอกาสที่ดี ที่เขาให้เราทำงานให้กับบ้านเมือง

   “เมื่อมีโอกาสทำงานให้บ้านเมือง ก็ต้องรับ และเวลานี้ผมเป็นหัวหน้าพรรคพลังชล และยืนยันสมาชิกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พรรคเราก็ดำเนินการตามปกติตามกฎหมาย ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง”

   แน่นอนว่าเรื่องนี้น่าจะเกี่ยวพันกับเส้นทางการเมืองของพรรคพลังประชารัฐที่จะเดินในวันข้างหน้าหรือไม่ ที่ต้องจับตาจุดสำคัญงานนี้น่าจะมาจากทางด้านรองนายกฯเศรษฐกิจอย่างดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เพราะทั้งนายสนที่ยาวกับดร.สมคิดก็มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาโดยตลอด การได้ตัวนายสนธิยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนแรก และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรีหลายสมัย นายอิทธิพล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 2 สมัย

   สองพี่น้องจากตะกูลคุณปลื้มมีฐานเสียงสำคัญในเขตเลือกตั้งจังหวัดชลบุรี และพื้นที่ภาคตะวันออก.  มานั่นก็หมายความว่าฐานเสียงของมวลชนชาวชลบุรีและภาคตะวันออกจะกลายเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญโดยทันที  ด้วยการเลือกตั้งระบบใหม่ หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม”จากการคำนวนสูตรแบบสัดส่วนผสม โดย ตัวเลขที่ดูนั้นเป็นฐานข้อมูลเดิมจากการ เลือกตั้งปี 54นำมาอธิบายเป็นตัวอย่าง เนื่องจากจะใกล้เคียงกับการเลือกตั้งในสัดส่วนผสม ตาม การเลือกตั้ง ในครั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญปี 60 นั้นก็คือ ในการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม จะนำเอาจำนวน ผู้ใช้สิทธิ์ทั้งหมดมาหารด้วยจำนวน สส. 500 ที่นั่ง ก็จะได้มาเป็นคะแนนเสียง สส.ต่อ หนึ่งคน โดยการนับคะแนนเสียงส.ส.เขต หรือส.ส.ของบ้านที่เราอยู่ ก็นับคะแนนไปเหมือนระบบเก่า ใครได้คะแนนสูงสุดของเขตนั้น ก็จะได้เป็น ส.ส.เข้าไปนั่งในสภา ส.ส.กลุ่มนี้มี 350 คน

          ส่วนอีก 150 คน วิธีการที่จะได้เป็น ส.ส.ค่อนข้างซับซ้อน เริ่มจากนำคะแนนจากผู้สมัครทุกคน ในทุกเขต คือ 350 เขตทั่วประเทศมารวมกัน คะแนนของคนแพ้ก็เอามานับด้วย (เรียกว่า “คะแนนตกน้ำ” ซึ่งปกติแล้วคะแนนคนแพ้จะทิ้งไปเลย) คะแนนทั้งหมดที่ประชาชนไปลงคะแนน (คะแนนดิบ) จะเป็นคะแนนเลือกตั้งของประเทศ พูดง่ายๆ คือใช้ “ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง” จากนั้นก็นำคะแนนมาหักลบจำนวน “บัตรเสีย” และบัตรที่กา “โหวตโน” คือไม่ลงคะแนนให้ใครเลย ออกไป ก็จะได้คะแนนดีที่เลือกผู้สมัครพรรคไหนก็ได้เป็น “คะแนนประเทศ”
          ตัวเลข “คะแนนประเทศ” จะนำมาหารกับจำนวน ส.ส.ทั้งหมด คือ 500 คน เพื่อหาอัตราส่วนคะแนนว่า ส.ส.1 คน ควรจะได้คะแนนเท่าไร แล้วจึงนำตัวเลขที่ได้ไปคำนวณจำนวน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ที่แต่ละพรรคจะได้รับอีกที
          ประมาณการตัวเลขอัตราส่วนที่นักวิชาการคาดการณ์กันในขณะนี้ อยู่ที่ 70,000 ถึง 100,000 คะแนน จึงจะได้ ส.ส. 1 คน คิดตัวเลขกลมๆ เป็น 1 : 70,000


   ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554  พรรคพลังชล ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 7 คน แบ่งเป็นระบบแบ่งเขต 6 คน (จังหวัดชลบุรีทั้งหมด) และแบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้รับคะแนนเสียงจากแบบบัญชีรายชื่อ 178,110 เสียง จากผู้มาใช้สิทธิ 35,203,107 คน


   ดังนั้นจะเท่ากับว่าพรรคพลังประชาชนจะมีฐานเสียงเพิ่มขึ้นมาและโอกาสที่จะได้สอสอก็จะเพิ่มขึ้นดังนั้นเป็นเรื่องที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งอีกครั้ง และจะต้องดูว่า การเข้ามาของสนธิยาจะ ถูกตั้งคำถามหรือไม่ว่าแนวทางการรวบรวมนักการเมืองเก่าดูจะขัดกับที่ตั้งใจที่จะแก้ปัญหาการเมืองได้หรือไม่ หรือจะเข้าสู่วงจรเดิม